รอยัลดัตช์เชลล์
รอยัลดัตช์เชลล์ (Royal Dutch Shell) หรือ เชลล์ เป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติ สัญชาติดัตช์และอังกฤษ ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียม รวมไปถึงธุรกิจพลังงานทดแทน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1907 จากการควบรวมกิจการของบริษัท รอยัลดัตช์ปิโตรเลียม สัญชาติเนเธอร์แลนด์ และบริษัท "เชลล์" ทรานสปอร์ตแอนด์เทรดดิง สัญชาติอังกฤษ [1] รอยัลดัตช์เชลล์ เป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลกเมื่อวัดจากขนาดรายได้ในปี ค.ศ. 2018 และนับว่าใหญ่ที่สุดในยุโรป[2]

รอยัลดัตช์เชลล์ทำธุรกิจในอุตสาหกรรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจ การผลิต การกลั่น การขนส่ง การตลาด ปิโตรเคมี การสร้างพลังงาน และการค้า และยังมีธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ[3] พลังงานลม[4] และพลังงานไฮโดรเจน[5]อีกด้วย บริษัทเชลล์มีเครือข่ายธุรกิจในกว่า 70 ประเทศ ผลิตน้ำมันราว 3.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน มีสถานีน้ำมันกว่า 44,000 แห่งทั่วโลก โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2014 เชลล์มีปริมาณน้ำมันสำรองราว 13.7 พันล้านบาร์เรล[6][7] บริษัทน้ำมันเชลล์ (Shell Oil Company) เป็นบริษัทลูกของรอยัลดัตช์เชลล์ที่ทำตลาดเฉพาะในสหรัฐอเมริกา [8] เป็นธุรกิจที่สำคัญของบริษัท
ประวัติแก้ไข
จุดเริ่มต้นแก้ไข
บริษัทรอยัลดัตช์ปิโตรเลียม (ดัตช์: Koninklijke Nederlandse Petroleum Maatschappij) เป็นบริษัทของเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1890 เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำมันในจังหวัดสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน[9] ส่วนบริษัท "เชลล์" ทรานสปอร์ตแอนด์เทรดดิง (อังกฤษ: Shell Transport and Trading Company) เป็นบริษัทของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1897 โดยมาร์คัส ซามูเอล และซามูเอล ซามูเอล ผู้ต่อยอดกิจการของครอบครัวในลอนดอน[10]มาสู่ธุรกิจนำเข้าและขายหอยทะเล จึงได้ใช้ชื่อ "เชลล์" นับตั้งแต่นั้นมา[11]
จากนั้น บริษัททั้งสองได้รวมตัวกันเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1907 เพื่อแข่งขันในตลาดน้ำมันของโลก[12] โดยบริษัทฝั่งเนเธอร์แลนด์มีกรรมสิทธิ์ร้อยละ 60 ดูแลในส่วนของการขุดเจาะและการกลั่น[13] ส่วนฝั่งอังกฤษมีกรรมสิทธิ์ร้อยละ 40 ดูแลในส่วนของการจัดเก็บและขนส่ง[14]
ศตวรรษที่ 20แก้ไข
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เชลล์เป็นผู้ป้อนน้ำมันให้กับกองทัพนอกประเทศ กองทัพอากาศ และกองเรือของอังกฤษ[15]
เชลล์เข้าควบรวมกิจการขอบริษัทเม็กซิกันอีเกิลปิโตรเลียม ในปี ค.ศ. 1919 และก่อตั้งเป็นบริษัทเชลล์-เม็กซ์จำกัด ดำเนินธุรกิจในสหราชอาณาจักรในชื่อ "เชลล์" และ "อีเกิล" ในปี ค.ศ. 1921 จากนั้นได้ก่อตั้งบริษัทเชลล์เคมิคอลในปี ค.ศ. 1929 และเติบโตขึ้นมาเป็นบริษัทน้ำมันผู้นำของโลกในช่วงปลายทศวรรษ ผลิตน้ำมันดิบราวร้อยละ 11 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก และมีเรือบรรทุกน้ำมันราวร้อยละ 10 ของจำนวนเรือทั่วโลก[15]
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ทั่วโลก เชลล์-เม็กซ์ได้รวมแผนงานการตลาดในอังกฤษเข้ากับบริติชปิโตรเลียมและตั้งเป็นบริษัทเชลล์-เม็กซ์และบีพีเมื่อปี ค.ศ. 1932 ดำเนินการค้าน้ำมันด้วยกันจนถึงปี ค.ศ. 1975
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ บริษัทได้ย้ายอาคารสำนักงานในเนเธอร์แลนด์ไปอยู่ที่กือราเซา ส่วนสำนักงานใหญ่ในกรุงโคเปนเฮเกนถูกยึดโดยตำรวจลับเกสตาโพของนาซีเยอรมนี จึงถูกโจมตีอย่างหนักจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพอังกฤษ[16]
เชลล์เป็นบริษัทแรกในเนเธอร์แลนด์ที่ซื้อและใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กรเมื่อปี ค.ศ. 1952 คอมพิวเตอร์มีชื่อว่า แฟร์รันตี มาร์ก 1 ใช้ในหน่วยงานวิจัยที่อัมสเตอร์ดัม ต่อมาเชลล์เข้าซื้อกิจการของบิลลิตัน บริษัทเหมืองในปี ค.ศ. 1970 แต่ได้ขายออกไปในปี ค.ศ. 1994[17]
ศตวรรษที่ 21แก้ไข
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 บริษัทเชลล์ประกาศว่าจะสร้างระบบทุนเดียวจึงได้ตั้งบริษัทแม่ในนาม บริษัทรอยัลดัตช์เชลล์จำกัด(มหาชน)ขึ้นเพื่อถือหุ้นของบริษัท โดยเข้าตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนและอัมสเตอร์ดัม ส่วนอาคารสำนักงานใหญ่แผนกภาษียังอยู่ที่เดอะเฮก สำนักธุรการอยู่ที่ลอนดอน การรวมบริษัทแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 โดยเจ้าของเดิมได้ถือครองหุ้นตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิม
วิวัฒนาการของโลโกบริษัทแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Royal Dutch Shell: History Archived 11 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "2018 Shell Financial Statements" (PDF). Shell plc. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2019.
- ↑ Webb, Tim (17 March 2009). "Shell dumps wind, solar and hydro power in favour of biofuels". The Guardian. London. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013.
- ↑ "Wind". shell.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 24 March 2015. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
- ↑ "hydrogen". LinkedIN. 7 August 2017. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 15 June 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ "Shell at a glance". Royal Dutch Shell plc. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 29 August 2010. สืบค้นเมื่อ 30 August 2010.
- ↑ "8 Apr 2015 – Recommended Cash and Share Offer Announcement" (PDF). Royal Dutch Shell plc. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 30 October 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
- ↑ "Exploration & Production in the United States". Royal Dutch Shell plc. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 30 August 2010.
- ↑ Merrillees 2015, p. 60.
- ↑ Mark Forsyth (2011). The Etymologicon: A Circular Stroll through the Hidden Connections of the English Language. Icon Books. p. 140. ISBN 978-1-84831-319-4. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 28 January 2016. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
- ↑ "The beginnings". shell.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 31 March 2015. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
- ↑ Fred Aftalion (2001). A History of the International Chemical Industry. Chemical Heritage Foundation. p. 142. ISBN 978-0-941901-29-1. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 28 January 2016. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
- ↑ F. C. Gerretson (1953). History of the Royal Dutch. Brill Archive. p. 346. GGKEY:NNJNHTLUZKG.
- ↑ F. C. Gerretson (1953). History of the Royal Dutch. Brill Archive. p. 346. GGKEY:NNJNHTLUZKG. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 28 January 2016. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
- ↑ 15.0 15.1 "The early 20th century". shell.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 31 March 2015. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
- ↑ Velschow, Klaus. "The Bombing of the Shellhus on March 21, 1945". milhist.dk. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 10 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2015.
- ↑ "Analysis: Cash bounty lures miners into risky empire-building". Reuters. 27 September 2010. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 19 June 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2011.
บรรณานุกรมแก้ไข
- "A Century in Oil" by Stephen Howarth (1997) ISBN 0-297-82247-0. A History of The "Shell" Transport and Trading Company.
- "A History of Royal Dutch Shell" by Stephen Howarth and others (2007). ISBN 978-0-19-929877-8
- "Seven Sisters" by Anthony Sampson (1981) ISBN 978-0-553-23469-5
- "Shell Shock: The secrets and spin of an Oil Giant" by Ian Cummins and John Beasant (2005). ISBN 1-84018-941-X
- Merrillees, Scott (2015). Jakarta: Portraits of a Capital 1950-1980. Jakarta: Equinox Publishing. ISBN 9786028397308.CS1 maint: ref=harv (link)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รอยัลดัตช์เชลล์
บทความเกี่ยวกับบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |