ซูซูลวีน (พม่า: စုစုလွင်‌ [suː suː lwɪ̀ɴ]; เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองหญิงชาวพม่า และเคยเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของพม่า ด้วยเป็นภรรยาของทีนจอ อดีตประธานาธิบดีพม่า[1][2][3][4][5][6] เธอดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอำเภอโต้น-กวะตั้งแต่ พ.ศ. 2555

ซูซูลวีน
စုစုလွင်‌
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 พฤษภาคม 2555
ก่อนหน้ามยีนมอง
เขตเลือกตั้งอำเภอโต้น-กวะ
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งพม่า
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม 2559 – 21 มีนาคม 2561
ประธานาธิบดีทีนจอ
ก่อนหน้าคีนคีนวี่น
ถัดไปคีนเตะเท (รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)
ย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
พรรคการเมืองสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย
คู่สมรสทีนจอ (สมรส 2516)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (ศศ.ม.)
มหาวิทยาลัยซิดนีย์
สถาบันการศึกษาย่างกุ้ง

ประวัติ

แก้

ซูซูลวีนเป็นธิดาของอู้ลวีน อดีตทหารผ่านศึก และอดีตรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย[7][8][9] เธอสืบสันดานจากเจ้าชายมองมองทิน เจ้าชายจากราชวงศ์โก้นบอง และเจ้าชายพระองค์นี้มีพระมารดาสืบสันดานจากเจ้าหญิงเจาะปวาซอ (Kyauk Pwa Saw) เจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา[10]

ซูซูลวีนถูกส่งไปศึกษาที่สหรัฐตั้งแต่ยังเด็ก ก่อนกลับมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่สถาบันการศึกษาย่างกุ้ง (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการศึกษาย่างกุ้ง) ที่ประเทศพม่า จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งจนสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ซูซูลวีนสมรสกับทีนจอ ซึ่งเป็นชาวพม่าเชื้อสายมอญเมื่อ พ.ศ. 2516 ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน[11]

การทำงาน

แก้

วิชาชีพครู

แก้

ซูซูลวีนเริ่มเข้าทำงานสำนักงานวิจัยการศึกษาแห่งประเทศพม่าหลังสำเร็จการศึกษา เธอทำงานอยู่ที่นั่นราวสิบปี จึงย้ายไปทำงานกับยูนิเซฟตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2548 ต่อมาเธอทำงานเป็นที่ปรึกษาอิสระให้โครงการศึกษาต่อของพระภิกษุสงฆ์ จากนั้นได้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อว่า นักการศึกษาหงสา (Hantha Educators) เมื่อ พ.ศ. 2549 ด้วยความร่วมมือจากพระภิกษุผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น มุ่งพัฒนาและปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์แบบดั้งเดิม การดูแลเด็กช่วงปฐมวัย เธอยึดมั่นในการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลางและใช้การคิดเชิงวิพากษ์[5]

การเมือง

แก้

ซูซูลวีนถูกเลือกให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอำเภอโต้น-กวะ จากการเลือกตั้งซ่อมเมื่อ พ.ศ. 2555 และในช่วงการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2558 เธอมีส่วนในการร่างรัฐบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเกิดประเด็นโต้เถียงอย่างหนัก ตามมาด้วยการประท้วงจากนักเรียนและนักศึกษาทั่วประเทศใน พ.ศ. 2558 นอกจากนี้เธอยังเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร[5][12]

อ้างอิง

แก้
  1. "လွှတ်တော်အမတ်များ - ဒေါ်စုစုလွင်". Open Myanmar Initiative. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
  2. Aung Hla Tun (10 March 2016). "Presidency beckons for Suu Kyi confidant after two months in party". Reuters News. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  3. "ပြည်သူ့လွှတ်တော်". www.pyithuhluttaw.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
  4. "ဒေါ်စုစုလွင် ပြည်သူ့ လွှတ်တော်".
  5. 5.0 5.1 5.2 "Su Su Lwin: Not 'The' Lady, but Rather Burma's Next 'First' Lady". The Irrawaddy.
  6. Htoo Thant, Lun Min Mang (1 April 2016). "First Lady to remain an MP". The Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 4 April 2016.
  7. Ei Ei Toe Lwin. "Daw Suu eyes foreign minister role".
  8. "NLD Dropped a Name List to Lead Its New Government". The Burma Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24.
  9. "Myanmar Starts New Parliamentarye Era". The Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 6 March 2016.
  10. "ထိုင်းဘုရင်သွေး မကင်းတဲ့ မြန်မာတွေ". BBC News (ภาษาพม่า). 26 October 2017.
  11. Ei Ei Toe Lwin. "Who is President U Htin Kyaw?".
  12. "Su Su Lwin Concentrates on New Role as Burma's First Lady". The Irrawaddy.