ซุนเซียง มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซุน อี้ (ป. ค.ศ. 184–204) ชื่อรอง ชูปี้ เป็นขุนพลและขุนนางที่เป็นน้องชายของซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2] เขาเป็นสามีของสฺวีชื่อ

ซุนเซียง
孫翊
เจ้าเมืองตานหยาง
(丹楊太守)
(ภายใต้ซุนกวน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 204
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ก่อนหน้างอเก๋ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดป. ค.ศ. 184
เสียชีวิตค.ศ. 204 (20 ปี)
คู่สมรสสฺวีชื่อ
บุตรซุน ซง
บุพการี
ความสัมพันธ์ดูพงศาวลีง่อก๊ก
อาชีพขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองชูปี้ (叔弼)
ชื่ออื่นซุน เหยี่ยน (孫儼)[1]

ชีวิต

แก้

ซุนเซียงเป็นบุตรชายคนที่สามของซุนเกี๋ยน ซึ่งเกิดจากนางงอฮูหยิน เป็นน้องชายของซุนกวน[3] เป็นสามีของนางชีฮูหยิน ซุนเซียงเป็นคนองอาจ ห้าวหาญ มีฝีมือการรบรุนแรง เด็ดขาดทัดเทียมกับซุนเซ็ก อีกทั้งยังมีสติปัญญาความรู้ความสามารถมาก ทำให้จูตีหนึ่งในที่ปรึกษาของซุนเซ็กยอมรับนับถือเป็นอย่างมาก และเสนอให้ซุนเซ็กแต่งตั้งเขาเป็น เซียวเหลียน (孝廉,ตำแหน่งข้าราชการระดับสูง) และดำรงตำแหน่งซือคง[4] หลังซุนเกี๋ยนถูกสังหารขณะสู้รบในยุทธการที่ซงหยงเมื่อ ค.ศ. 191 ซุนเซ็กดำรงตำแหน่งต่อจากเขา และเข้าคุมกองพล ในช่วง ค.ศ. 194 ถึง 199 ซุนเซ็กนำทัพไปพิชิตกังตั๋ง และสถานปนาฐานอำนาจของตนที่นั่น ใน ค.ศ. 200 เมื่อซุนเซ็กได้รับบาดเจ็บสาหัสระหว่างออกล่าสัตว์ ที่ปรึกษาของเขานำโดยเตียวเจียวกับคณะเชื่อว่าเขาจะแต่งตั้งซุนเซียงเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำของแผ่นดินกังตั๋ง แต่ซุนเซ็กเลือกที่จะแต่งตั้งซุนกวนน้องชายคนรองแทน[1]

ค.ศ.202 ซุนกวนปราบปรามหัวเมืองง่อได้สำเร็จ แต่ขุนนางแดนเมืองง่อหลายคนหนีเข้าป่าไป จึงมอบหมายให้ งอเก๋ง ผู้มีศักดิ์เป็นลุงขึ้นเป็นเจ้าเมืองตันเอี๋ยงปกครองชายแดนเมืองง่อ

เสียชีวิต

แก้

ปี ค.ศ.203 งอเก๋งเสียชีวิต ซุนเซียงจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแทน ซุนเซียงมีความตั้งใจจะให้กลุ่มขุนนางเก่า ๆ เข้ามารับราชการตามเดิม จึงเรียกอิหลำกับไต้อ้วน ที่หนีเข้าป่ากลับเข้ารับราชการ แต่อิหลำ ไต้อ้วนยังคงมีความแค้นฝังใจอยู่ จึงคิดก่อการกบฎ โดยคบคิดกับเปียนหอง คนสนิทของซุนเซียงให้ทรยศฆ่านาย

วันหนึ่งซุนเซียงแต่งโต๊ะเลี้ยงขุนนางที่ศาลากลาง นางชีฮูหยินผู้เป็นภรรยาได้ร้องทักว่า"อย่าได้ไปเลย จะมีเคราะห์หนักรออยู่"แต่ซุนเซียงไม่เชื่อ หลังงานเลี้ยง ซุนเซียงจะกลับเข้าในจวน เปียนหองซึ่งเดินตามมาจึงใช้กระบี่ฟันซุนเซียงตาย ด้วยวัยเพียง 19 ปี

การล้างแค้นของภรรยา

แก้

เมื่อซุนเซียงตายแล้ว อิหลำและไต้อ้วนจับตัวเปียนหองฆ่าเสียเพื่อปกปิดความผิด อิหลำคิดจะเอานางชีฮูหยิน ภรรยาของซุนเซียงเป็นภรรยา แต่ด้วยไหวพริบสติปัญญาของนางซีฮูหยิน จึงแสร้งตกลงแล้วขอเลื่อนไปอีกหนึ่งเดือนตามประเพณีที่ภรรยาม่ายยังไม่ควรรีบแต่งงานใหม่ จึงสามารถรวบรวมกำลังพลที่จงรักภักดีต่อตระกูลซุน จับอิหลำกับไต้อ้วน ตัดศีรษะไปเซ่นไหว้ที่หลุมศพซุนเซียงได้ในที่สุด

ครอบครัวและลูกหลาน

แก้

ซุน ซง (孫松) บุตรซุนเซียง ดำรงตำแหน่งนายกองพลเกาทัณฑ์ฝึกหัด (射聲校尉) และได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิเป็นตูเซียงโหว (都鄉侯)[5] ซุน ซงเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนเข้ากับคนง่ายและมีน้ำใจ และเป็นคนใกล้ชิดกับซุนกวนที่สุดในบรรดาญาติผู้ชายที่อายุน้อยกว่าของซุนกวน เมื่อซุน ซงประจจำการที่ปาชิว (巴丘) เขามักจะถูกตำหนิจากลกซุน เนื่องจากหน่วยของซุน ซงไม่รักษาระเบียบวินัยที่ดีและปล่อยให้ลูกน้องทำสิ่งที่ไม่สมควร ครั้งหนึ่ง ลกซุนลงโทษลูกน้องของซุน ซงด้วยการสั่งให้โกนหัว[6][7] ซุน ซงเสียชีวิตใน ค.ศ. 231[8]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 (典略曰:翊名儼,性似策。策臨卒,張昭等謂策當以兵屬儼,而策呼權,佩以印綬。) อรรถาธิบาย Dianlue ในสามก๊กจี่ เล่มที่ึ 51.
  2. de Crespigny (2007), p. 778.
  3. ไม่ทราบว่าซุนเซียงแก่กว่าหรือเด็กกว่าซุนฮูหยิน
  4. (孫翊字叔弼,權弟也,驍悍果烈,有兄策風。太守朱治舉孝廉,司空辟。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 51.
  5. (子松為射聲校尉、都鄉侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 51.
  6. (射聲校尉松於公子中最親,戲兵不整,遜對之髠其職吏。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 58.
  7. (吳錄曰:松善與人交,輕財好施。鎮巴丘,數咨陸遜以得失。嘗有小過,遜面責松,松意色不平,遜觀其少釋,謂曰:「君過聽不以其鄙,數見訪及,是以承來意進盡言,便變色,何也?」松笑曰:「屬亦自忿行事有此,豈有望邪!」) อรรถาธิบาย Wu Lu ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 51.
  8. (黃龍三年卒。蜀丞相諸葛亮與兄瑾書曰:「旣受東朝厚遇,依依於子弟。又子喬良器,為之惻愴。見其所與亮器物,感用流涕。」其悼松如此,由亮養子喬咨述故云。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 51.
  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • de Crespigny, Rafe (2004) [1990]. Generals of the South (internet ed.). Canberra: Faculty of Asian Studies, Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).