ซาบ 340 AEW&C
ซาบ 340 เออีดับเบิลยู&ซี (อังกฤษ: 'Saab 340 AEW&C') คือเครื่องบินเตือนภัยและควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (AEW&C) ของประเทศสวีเดน เป็นรุ่นย่อยของ ซาบ 340 ได้รับการกำหนดนามเรียกขานโดยกองทัพอากาศสวีเดนว่า เอส 100บี อาร์กุส (S 100B Argus)
ซาบ 340 เออีดับเบิลยูซีเอส เอส 100 อาร์กุส | |
---|---|
![]() | |
เอส 100บี อาร์กุส ที่ฐานทัพอากาศมัลเมนส์ (ค.ศ. 2010) | |
หน้าที่ | เครื่องบินเตือนภัยและควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (AEWCS) |
ประเทศผู้ผลิต | สวีเดน |
ผู้ผลิต | ซาบ เอบี |
เที่ยวบินแรก | ค.ศ. 1994[1] |
เริ่มใช้ | ค.ศ. 1997 |
สถานะ | ประจำการ |
ผู้ใช้หลัก | กองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศไทย |
การผลิต | ค.ศ. 1994–1999 |
จำนวนที่ถูกผลิต | 12 |
พัฒนาจาก | ซาบ 340 |
เรดาร์
แก้เมื่อเปรียบเทียบกับเรดาร์ระบบเตือนภัยและควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (AWACS) ทรงกลมแบบดั้งเดิมบนเครื่องบิน เช่น อี-3 เซนทรี แล้ว ซาบ 340 มีเรดาร์แบบ PS-890 AESA (Active Electronically Scanned Array) ซึ่งใช้การกวาดคลื่นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Active Phased-Array Pulse-Doppler Radar) จึงทำให้ไม่ต้องมีชิ้นส่วนที่หมุนเคลื่อนไหว เรียกระบบนี้ว่า Erieye ซึ่งให้แรงต้านอากาศที่ต่ำกว่า แต่มีบริเวณอับสัญญาณทางด้านหน้าและด้านหลังของเครื่องบิน โดยมีพื้นที่การสแกนเป็นมุม 120 องศาที่ด้านข้างทั้งสองด้านของลำตัวเครื่อง[2] เรดาร์ที่ติดตั้งสามารถติดตามเรือ เครื่องบิน และขีปนาวุธได้ไกลถึง 300–400 กิโลเมตร ในขณะที่อยู่ที่ระดับความสูง 20,000 ฟุต[3]
ประวัติการปฏิบัติการ
แก้เครื่องเอส 100บี อาร์กุส จำนวน 6 ลำถูกผลิตขึ้นสำหรับกองทัพอากาศสวีเดน โดยสี่ลำได้รับการติดตั้งเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้า Erieye (AESA) แบบถาวร และอีกสองลำสามารถถอดประกอบได้สำหรับภารกิจขนส่งในช่วงเวลาสงบ
เครื่องสองลำที่ไม่ได้ติดตั้งเรดาร์ถาวรถูกยืมโดยประเทศกรีซก่อนการส่งมอบระบบเรดาร์ Erieye EMB-145 ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 2003
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 ซาบได้รับสัญญาในการปรับปรุงเครื่องบินเอส 100บี ของกองทัพอากาศสวีเดนจำนวน 2 ลำสำหรับภารกิจเฝ้าระวังและนำไปใช้ในปฏิบัติการระหว่างประเทศ เครื่องซาบ 340 เออีดับเบิลยู-300 ที่ปรับปรุงแล้วได้เข้าประจำการในปี ค.ศ. 2009
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ประเทศไทยได้ประกาศความจำนงที่จะซื้อเครื่องบินเอส 100บี เออีดับเบิลยู จำนวน 2 ลำจากกองทัพอากาศสวีเดน
รุ่นย่อย
แก้ประเทศผู้ใช้งาน
แก้- ปัจจุบัน
- สวีเดน
- กองทัพอากาศสวีเดน ประจำการ 2 ลำ (S100D / ASC890)[4]
- กองทัพอากาศไทย ประจำการ 2 ลำ การส่งมอบเสร็จสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012[5][6][7]
- อดีต
- กรีซ
- กองทัพอากาศกรีซ ยืมจากกองทัพอากาศสวีเดน 2 ลำ[8]
- กองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประจำการ 2 ลำ[9] ปลดประจำการในปี ค.ศ. 2020 หลังจากเปลี่ยนแทนโดยระบบเรดาร์ GlobalEye (ติดตั้งบนเครื่องบิน บอมบาร์ดิเอร์ 6000)[10]
ซาบ 2000 เออีดับเบิลยู&ซี
แก้ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1988 ซาบได้ริเริ่มการพัฒนารุ่นลำตัวยาวของ ซาบ 340 โดยให้ชื่อรุ่นว่า ซาบ 2000
- กองทัพอากาศปากีสถาน ประจำการ 7 ลำ[11][12]
- กองทัพอากาศซาอุดีอาระเบีย ประจำการ 2 ลำ
ข้อมูลจำเพาะ (ซาบ 340 เออีดับเบิลยู&ซี)
แก้ข้อมูลจาก [13]
ลักษณะทั่วไป
- ลูกเรือ: 6
- ความยาว: 20.57 m (67 ft 6 in)
- ระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง: 21.44 m (70 ft 4 in)
- ความสูง: 6.97 m (22 ft 10 in)
- น้ำหนักเปล่า: 10,300 กิโลกรัม (22,707 ปอนด์) [14]
- น้ำหนักรวม: 13,155 กิโลกรัม (29,000 ปอนด์)
- Powerplant: 2 × เจเนอรัลอิเล็กทริก ซีที7-9บี , 1,390 kW (1,870 hp) each
สมรรถนะ
- Endurance: 5+ ชั่วโมง[14]
- ความสูงที่เครื่องบินบินได้: 7,620 เมตร (25,000 ฟุต)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Flygplan S 100 B" (ภาษาสวีเดน). forsvarsmakten.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2011.
- ↑ Zorro, Mario H. (1 พฤษภาคม 2018). "Saab 340 AEWC". Plane-Encyclopedia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2022.
- ↑ Zorro, Mario H. (1 พฤษภาคม 2018). "Saab 340 AEWC". Plane-Encyclopedia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "S 100 D" (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ Gripen International. gripen.com. เก็บถาวร 4 กุมภาพันธ์ 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gripen agreement between Sweden and Thailand signed.
- ↑ "Thailand Buying JAS-39 Gripens, AWACS". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2011.
- ↑ "Gripeny operacyjne w Tajlandii - Altair Agencja Lotnicza". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011.
- ↑ "S100B Argus Airborne Early Warning and Control (AEW&C) Aircraft".
- ↑ "Saab signs contract with United Arab Emirates for airborne surveillance system" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2011.
- ↑ Allport, Dave (กุมภาพันธ์ 2021). "Saab AEW&C aircraft return to Sweden". Air International. Vol. 100 no. 2. p. 13. ISSN 0306-5634.
- ↑ "Aerial Eyes: Pakistans New AWACS Fleets". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2016.
- ↑ "Pakistan Air Force receives AEW&C radar equipment from Saab". Air Force Technology. 16 เมษายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2019.
- ↑ Fredriksson, Urban (7 มิถุนายน 2004). "Saab 340 AEW". Sweden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2011.
- ↑ 14.0 14.1 Försvarsmakten. "S 100 D". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2015.
บรรณานุกรม
แก้- Wilfried Kopenhagen (2000). Das große Flugzeugtypenbuch (ภาษาเยอรมัน). Stuttgart: Motorbuch Verlag. ISBN 3-613-01686-9.