โสมปุระมหาวิหาร (เบงกอล: সোমপুর মহাবিহার, อักษรโรมัน: โสมปุร มหาวิหาร) หรือ ปาหาฑปุระพุทธวิหาร (เบงกอล: পাহাড়পুর বৌদ্ধ বিহার, อักษรโรมัน: ปาหาฑ়ปุร เวาทฺธ วิหาร) เป็นซากปรักหักพังของวิหารในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ที่ปาหาฑปุระ (Paharpur) ในพทัลคาฉี อำเภอนาโอคาว ประเทศบังกลาเทศ แหล่งโบราณคดีโสมปุระมหาวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี 1985 และถือเป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญที่สุดของบังกลาเทศสมัยก่อนอิสลาม คาดการณ์ว่าสร้างขึ้นในยุคไล่เลี่ยกันกับหาลูฑวิหารที่ตั้งอยู่ใกล้กัน และกับสีตาโกฏวิหารในนาวับกันจ์ อำเภอทีนัชปุระ[1]

โสมปุรมหาวิหาร
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
পাহাড়পুর বৌদ্ধ বিহার (เบงกอล)
View of the central shrine
ที่ตั้งนาโอคาว ประเทศบังกลาเทศ
พิกัด25°01′52″N 88°58′37″E / 25.03111°N 88.97694°E / 25.03111; 88.97694
ความสูงจากระดับน้ำทะเล24 m (80 ft)
สร้างเมื่อศตวรรษที่ 8
สร้างเพื่อกษัตริย์ธรรมปาล
สถาปัตยกรรมคุปตะ, ปาละ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนซากพุทธวิหารที่ปาหาฑปุระ
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, ii, iv
ขึ้นเมื่อ1985 (ชุดที่ 9)
เลขอ้างอิง322
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
โสมปุระมหาวิหารตั้งอยู่ในประเทศบังกลาเทศ
โสมปุระมหาวิหาร
ตำแหน่งที่ตั้งโสมปุรมหาวิหารในประเทศบังกลาเทศ

ประวัติศาสตร์

แก้

ในสมัยปาละ มีการสร้างอารามพุทธขึ้นมากมายในแถบตะวันออกของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งได้แก่แคว้นบังกลา และ มคธ แหล่งข้อมูลทิเบตระบุว่าในจำนวนอารามเหล่านี้ มี "มหาวิหาร" (มหาวิทยาลัย) อยู่ห้าแห่งที่สำคัญ ได้แก่ วิกรมศีล, นาลันทา, โสมปุระ โอทันตปุระ และ ชัคคทัล[2] มหาวิหารเหล่านี้รวมกันเป็นเครือข่าย "ทุกแห่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ" และยังมี "ระบบความร่วมมือระหว่างแต่ละมหาวิหาร" และมีนักปราชญ์วิชาการสามารถขยับตำแหน่งไปมาระหว่างแต่ละที่ได้[3]

การขุดค้นโบราณคดีในปาหาฑปุระกับหลักฐานจากตราประทับที่เขียนจารึก "ศรีโสมปุเร ศรีธรรมปาลเทวะ มหาวิหาริยรรยะ ภิกษุ สังฆัสยะ" ทำให้ระบุได้ว่าโสมปุระมหาวิหารสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ปาละ พระเจ้าธรรมปาละ (ค.ศ. 781–821)[4] ในแหล่งข้อมูลภาษาทิเบต รวมถึงฉบับแปลทิเบตของ ธรรมกายวิธี และ มัธยมกรัตนประทีป ประวัติศาสตร์โดยตารานาถใน Pag-Sam-Jon-Zang กล่าวถึงกษัตริย์ผู้สืบทอดราชบัลลังก์จากธรรมปาละ ซึ่งคือพระเจ้าเทวปาละ (810–850) สร้างมหาวิหารนี้ขึ้นหลังการยึดครองวเรนทรได้สำเร็จ[4] จารึกบนเสาปาหาฑปุระ (Paharpur pillar) มีกล่าวถึงปีที่ห้าในรัชสมัยของหษัตริย์ที่สืบราขสมบัติต่อจากเทวปาละ ซึ่งคือมเหนทรปาละ (850–854) และชื่อของภิกษุ อาชยครรภ (Ajayagarbha) ([4] ใน Pag Sam Jon Zang ยังบันทึกว่ามีการบูรณะมหาวิหารในรัชสมัยของพระเจ้ามหิปาละ (995–1043)[4]

ชาตวรรม (Jatvarma) แห่งจักรวรรดิวรรมัน เข้าโจมตีเวรนทรในศตวรรษที่ 11 และไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีนักกับกษัตริย์ทิพยะแห่งไกวรรตกับพระพุทธศาสนา แม้ราชวงศ์ไกวรรตจะไม่ถูกกระทบใด ๆ จากวรรมัน แต่บางส่วนของมหาวิหารที่โสมปุระถูกทำลายจากเพลิงที่กองทัพของชาตวรรมจุด[5]

ในสมัยจักรวรรดิเสน ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 12 วิหารเริ่มเสื่อมถอยลงเป็นคราสุดท้าย[4] นักวิชาการคนหนึ่งเคยเขียนถึงซากของโสมปุระมหาวิหารไว้ว่า "ไม่มีร่องรอยของการทุบทำลายขนานใหญ่[บนมหาวิหาร] การเสื่อถอยของมหาวิหาร จะด้วยการถูกทิ้งร้างก็ดี ด้วยการทำลายก็ดี จะต้องเกิดขึ้นในสมัยท่ามกลางความไม่สงบไปทั่ว และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร อันเป็นผลสืบเนื่องจากการรุกรานของมุสลิมที่นำโดยมุฮัมมัด บาฆตียาร์ ขาลจี"[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Rahman, SS Mostafizur (2012). "Sitakot Vihara". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  2. English, Elizabeth (2002). Vajrayogini: Her Visualization, Rituals, and Forms. Wisdom Publications. p. 15. ISBN 0-86171-329-X.
  3. Dutt, Sukumar (1988) [First published 1962]. Buddhist Monks and Monasteries of India: Their History and Their Contribution to Indian Culture. Delhi: Motilal Banarsidass. pp. 352–353. ISBN 978-81-208-0498-2.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Chowdhury, AM (2012). "Somapura Mahavihara". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  5. Ray, Niharranjan (1994). History of the Bengali People (Ancient Period) (ภาษาอังกฤษ). แปลโดย Hood, John W. Orient Longman. pp. 185, 331, 353. ISBN 978-0-86311-378-9.
  6. Dutt, Sukumar (1988) [First published 1962]. Buddhist Monks and Monasteries of India: Their History and Their Contribution to Indian Culture. Delhi: Motilal Banarsidass. p. 376. ISBN 978-81-208-0498-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้