ซะบูร (อาหรับ: زَبُورُ) ตามรายงานจากศาสนาอิสลาม เป็นคำภีร์ของดาวูด (ดาวิด) ซึ่งเป็นหนึ่งในคำภีร์ที่อัลลอฮ์ประทานลงมาก่อนอัลกุรอาน เทียบเท่ากับ เตารอฮ์ (โทราห์) ของมูซา (โมเสส) กับ อินญีล (กอสเปล) ชาวคริสต์อารามวาสีในอาระเบียก่อนการมาของศาสนาอิสลามเป็นที่รู้จักจากการขนหนังสือเพลงสดุดีที่เรียกว่า ซะบูร[1]

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ซะบูร ในภาษาอาหรับ แปลว่า "หนังสือ" "จารึก" หรือ "งานเขียน" [2]

ในอัลกุรอาน

แก้

ในอัลกุรอาน ซะบูรถูกกล่าวแค่สามครั้ง โดยไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะ เว้นแต่ว่ามันถูกประทานแก่ดาวูด และในซะบูรถูกเขียนไว้ว่า "แผ่นดินนั้นปวงบ่าวของเราที่ดีมีคุณธรรมจะเป็นผู้สืบมรดกมัน"[3][4]

แท้จริงเราได้มีโองการแก่เจ้า เช่นเดียวกับที่เราได้มีโองการแก่นูฮ์ และบรรดานะบีหลังจากเขา และเราได้มีโองการแก่อิบรอฮีมและอิสมาอีล และอิสฮาก และยะอ์กูบ และอัล-อัสบาฏ และอีซา และอัยยูบ และยูนุส และฮารูน และ สุลัยมาน และเราได้ให้ซะบูร แก่ดาวูด

— กุรอาน ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ อายะฮ์ 163[5], Sahih International Translation

และพระเจ้าของเจ้าทรงรู้ดียิ่งถึงสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และโดยแน่นอนเราได้เลือกนะบีบางคนให้ดีเด่นกว่าอีกบางคน และเราได้ให้ซะบูรแก่ดาวูด

— กุรอาน ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ อายะฮ์ 55[6], Sahih International Translation

และแท้จริงนั้นเราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์อัซซะบูร หลังจากที่เราได้บันทึกไว้ในลูห์มะห์ฟูซว่า แผ่นดินนั้นปวงบ่าวของเราที่ดีมีคุณธรรมจะเป็นผู้สืบมรดกมัน

— กุรอาน ซูเราะฮ์อัลอันบิยาอ์ อายะฮ์ 105[4], Sahih International Translation

ดเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Shahîd, Irfan (1 January 1989). Byzantium and the Arabs in the Fifth Century. Dumbarton Oaks. p. 520. ISBN 9780884021520.
  2. Lane, Edward William (1868). An Arabic-English lexicon. Beirut, Lebanon: Librarie du Liban. pp. 1210–1211. OCLC 9603613.
  3. Psalms 37:29
  4. 4.0 4.1 อัลกุรอาน 21:105 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
  5. อัลกุรอาน 4:163 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
  6. อัลกุรอาน 17:55 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)