พระเจ้าชีซงเตแจ็น

(เปลี่ยนทางจาก ชีซงเตแจ็น)

พระเจ้าชีซงเตแจ็น (ทิเบต: ཁྲི་སྲོང་ལྡེ་བཙན་, ไวลี: khri srong lde btsan, พินอินทิเบต: Chisong Dêzän) หรือ ชื่อซงเต๋อจ้าน (จีนตัวย่อ: 赤松德赞; จีนตัวเต็ม: 赤松德贊; พินอิน: chìsōng dézàn) เป็นพระโอรสของพระเจ้ามีอาธอมซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซงแจ็นกัมโป พระมารดาคือเจ้าหญิงจินเจินจากจีน ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1295 - 1340 ตรงกับสมัยจักรพรรดิหมิงฮวางแห่งราชวงศ์ถัง

พระเจ้าชีซงเตแจ็น
ทิเบต

ครองราชย์ พ.ศ. 1295 - 1340
งานสำคัญ สถาปนาพุทธศาสนาในทิเบตให้มั่นคง
หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ทิเบต

การขยายอำนาจ แก้

ในสมัยเดียวกันนี้ ประเทศจีนกำลังอ่อนแอเนื่องจากกบฏภายในประเทศ ส่วนทิเบตในสมัยพระเจ้าชีซงเตแจ็นได้ขยายอิทธิพลไปในเอเชียกลาง และสร้างความสัมพันธ์กับชาติอาหรับ กองทัพทิเบตเข้ายึดครองฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถังได้นานถึง 15 วัน เมื่อ พ.ศ. 1306 และเกิดข้อขัดแย้งกันนาน 40 ปี กว่าทิเบตจะยอมถอนทหารออกไป ทางทิศใต้ ทิเบตแผ่อำนาจลงมาถึงแคว้นเบงกอลและพิหารในอินเดีย

งานด้านพุทธศาสนา แก้

พระเจ้าชีซงเตแจ็นทรงนิมนต์พระศานตรักษิตจากอินเดียให้เข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนา แต่พระศานตรักษิตเห็นว่าชาวทิเบตเดิมนับถือศาสนาบอนที่นิยมการทรงเจ้าเข้าผี พระศานตรักษิตจึงเสนอให้เชิญพระปัทมสัมภวะซึ่งมีความชำนาญทางตันตระเข้ามา พระปัทมสัมภวะสามารถปราบภูตผีปีศาจและทำให้ปีศาจเหล่านั้นหันมาคุ้มครองพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ

นอกจากนี้ พระเจ้าชีซงเตแจ็น ได้นิมนต์พระสงฆ์นิกายสรวาสติวาทมา 12 องค์ และเลือกชาวทิเบตให้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุรวม 5 รูป ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานการบวชของทิเบต ต่อมามีชาวทิเบตบวชพระเพิ่มอีกถึง 300 รูป พระเจ้าติสองเดซันทรงอุปภัมภ์พระบวชใหม่เหล่านี้ ทำให้ศาสนาพุทธในทิเบตมั่นคงสืบมา

อ้างอิง แก้

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. : ศูนย์ไทยธิเบต, 2538.