ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็ง

ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็ง[c][d] เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทสำหรับระบบนีโอจีโอ ซีดี ของบริษัทเอสเอ็นเค ซึ่งเล่าเหตุการณ์ของซามูไรสปิริตส์ และชินซามูไรสปิริตส์: ฮาโอมารุจิโงกูเฮ็ง โดยละเอียดยิ่งขึ้น รวมถึงเกมนี้ได้รับการพอร์ตสู่ระบบเซกา แซตเทิร์น และเพลย์สเตชัน

ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็ง
ผู้พัฒนาเอสเอ็นเค[a][b]
ผู้จัดจำหน่ายเอสเอ็นเค
กำกับโชจิ โยชิกาวะ
อำนวยการผลิตจิฮิโระ อามาโนะ
ทากาชิ นิชิยามะ
โยชิฮิโระ ทากาโอกะ
ออกแบบชิโร โอโนะ
โปรแกรมเมอร์เอ็ม. คนโด
ที. นากามูระ
ที. ยามาซากิ
ศิลปินฮิโตชิ คาเนมารุ
เคซูเกะ โนซาวะ
คิมิฮิโระ ฮาซูโอะ
เขียนบทคัตสึฮิโกะ ชิบะ
ทัตสึจิ ยามาซากิ
แต่งเพลงอากิฮิโระ อูจิดะ
ฮิโรโตมิ อิโมโตะ
เคียวโกะ นากะ
ชุดซามูไรสปิริตส์
เครื่องเล่นนีโอจีโอ ซีดี
เพลย์สเตชัน
เซกา แซตเทิร์น
วางจำหน่าย
แนวเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

รูปแบบการเล่น

แก้
 
ฉากการต่อสู้ที่ฮาโอมารุเผชิญหน้ากับศัตรูสองคน ในช่วงเวลานี้ ผู้เล่นจะต้องเลือกคำสั่งให้ฮาโอมารุปฏิบัติการ

การตั้งค่าพื้นฐานของเกมนั้นคล้ายกับคอนโซลวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทส่วนใหญ่ ดังเช่นไฟนอลแฟนตาซี เหล่าตัวละครท่องไปในโลกปกติ, เข้าสู่เมืองและดันเจียน ตลอดจนเข้าสู่การต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นบนหน้าจอแยกต่างหาก ส่วนตัวเลือกเมนูช่วยให้สามารถสวมใส่เกราะและอุปกรณ์เสริม รวมถึงการใช้ไอเทมต่าง ๆ

ในตอนเริ่มต้น ผู้เล่นจะได้รับตัวเลือกให้เลือกจากหกตัวละครเพื่อเป็นตัวละคร "หลัก" ของเรื่อง[4] โครงร่างพื้นฐานของโครงเรื่องไม่ได้แตกต่างกันมากนักสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่แต่ละเรื่องมีบทสนทนาในเกมที่แตกต่างกัน และแต่ละฉากก็มีฉากพิเศษเฉพาะซึ่งจะลงข้อปลีกย่อยของตัวละครมากขึ้น[5] นอกจากนี้ เพื่อปรับความต่อเนื่องของตัวละครให้ดียิ่งขึ้น เรื่องราวบางส่วนจึงได้รับการแก้ไขเล็กน้อยตามบทที่เลือก ในระหว่างเกม ตัวละครอีกสองตัวสามารถเข้าร่วมคณะได้ (เว้นแต่ตัวละครเอกคือเก็นจูโร ซึ่งได้คู่หูในเรื่องที่สองของเขาเท่านั้น)[6] นอกจากนี้ บทที่สองยังแนะนำตัวละครใหม่ ชื่อชิปปูโนะเรอง (疾風の鈴音) ซึ่งชื่อแปลคร่าว ๆ ว่า "เสียงกังวานแห่งวายุ"[7] โดยตัวละครทั้งหมดจากเกมซามูไรโชดาวน์สองภาคแรกต่างได้ปรากฏตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยชั่วคราว, อุปกรณ์วางแผน หรือศัตรู[8]

ส่วนการต่อสู้มีตัวเลือกในการป้อนการเคลื่อนไหวจากจอยสติกสำหรับท่าพิเศษต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับในเกมอาร์เคด แทนที่จะเพียงแค่เลือกการเคลื่อนไหวจากรายการ[9]

ในขณะที่สามารถซื้อและติดตั้งเกราะรวมถึงอุปกรณ์เสริมได้ ตัวละครแต่ละตัวจะมีอาวุธเหมือนเดิมตลอดทั้งเกม บรรดาตัวละครสามารถแวะเยี่ยมช่างตีเหล็กเพื่อปรับสภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่อาวุธของพวกเขา ช่างตีเหล็กเหล่านี้ยังสามารถใส่อาวุธเข้ากับหนึ่งในธาตุต่าง ๆ ของเกม ซึ่งทำให้การโจมตีปกติของอาวุธและการเลือกท่าพิเศษมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการต่อสู้กับศัตรูบางตัว[10]

การพัฒนา

แก้

ประวัติการพัฒนาของเกมนี้มีเรื่องราวพอสมควร ภาคนี้ได้รับการประกาศให้พัฒนาใน ค.ศ. 1995[1] และเกิดความล่าช้าหลายครั้งของกระบวนการ แต่ในที่สุด ก็มีการเปิดตัวในอีกไม่กี่ปีต่อมา ซึ่งบางครั้ง ก็มีข่าวลือหนาหูว่าเกมภาคนี้จะไม่มีการออกวางตลาด[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการเปิดตัวในสหรัฐมีการวางแผนไว้สำหรับไตรมาสที่สามของ ค.ศ. 1997 (เพียงไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดตัวในญี่ปุ่น)[2] แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริง

เกมนี้จะแบ่งออกเป็นสามตอน:[1] ได้แก่หนึ่งตอนสำหรับแต่ละตอนจากสามเกมในซีรีส์ ในขณะที่เกมนี้ผูกขาดระบบนีโอจีโอ ซีดี ชั่วครู่ชั่วยาม แต่การพัฒนาและแรงกดดันทางการเงินทำให้บริษัทเอสเอ็นเคเปิดตัวสำหรับอีกสองระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยทางเอสเอ็นเคตัดสินใจว่าแต่ละเวอร์ชันจะมีเพียงสองในสามตอน ด้วยเหตุนี้ผู้เล่นจำเป็นต้องซื้อเกมสองชุดเพื่อได้เรื่องราวทั้งหมด แผนนี้ส่งผลให้เกิดการต่อต้านอย่างมากจากแฟน ๆ และถูกยกเลิกไป[ต้องการอ้างอิง]

ในที่สุด ด้วยเหตุแห่งการพัฒนา ฝ่ายบริหารจึงตัดสินใจทิ้งบทที่สามทั้งหมด และมุ่งเน้นไปที่สองบทแรกเท่านั้น เพื่อให้เกมวางจำหน่ายเร็วขึ้น

การตลาด

แก้

แม้ว่ารูปแบบการเล่นหลักจะคล้ายกันมากระหว่างเวอร์ชันต่าง ๆ แต่ก็มีความแตกต่างด้านความสวยงาม และรูปแบบการเล่นระหว่างเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี กับเพลย์สเตชัน/แซตเทิร์น

  • เวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี มีแอนิเมชันในสไปรต์การต่อสู้มากกว่าเพลย์สเตชันและแซตเทิร์นมาก รวมถึงท่าทางขณะอยู่เฉย ๆ ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับตัวละครแต่ละตัว ตลอดจนแอนิเมชันการตายแบบพิเศษสำหรับสัตว์ประหลาด
  • เวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี มีเมนูที่หรูหราและมีสีสันมากกว่า ในขณะที่เวอร์ชันเพลย์สเตชันกับแซตเทิร์นจะมีเมนูสีม่วง และสีเขียวที่ค่อนข้างว่างเปล่าแทน
  • การเคลื่อนไหวในเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี มีรูปลักษณ์และสัมผัสที่นุ่มนวลกว่ารุ่นอื่น ๆ
  • ในแผนที่โลกปกติ เวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี จะใช้สไปรต์ตัวละครในเวอร์ชันดันเจียน/กดลงที่ลดขนาดลง ส่วนเวอร์ชันเพลย์สเตชันใช้สไปรต์ใหม่ทั้งหมด
  • นีโอจีโอ ซีดี เดินเครื่องในความละเอียดปกติที่ 304x224 พิกเซล ในขณะที่เพลย์สเตชันและแซตเทิร์นเดินเครื่องใน 320x240 พิกเซล
  • เวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี มีการหยุดชั่วคราวระหว่างคลิปเสียงน้อยกว่าเวอร์ชันอื่น ๆ
  • เวอร์ชันเพลย์สเตชันและแซตเทิร์นมีการตัดแอนิเมชันที่สำคัญในแอนิเมชันเดิน/วิ่งของเหล่าตัวละคร
  • เวอร์ชันเพลย์สเตชันช่วยให้ผู้เล่นสามารถเลือกความแรงของการโจมตีปกติหลังจากเลือกเป้าหมายได้ ในขณะที่นีโอจีโอ ซีดี ไม่สามารถทำได้
  • เวอร์ชันเพลย์สเตชันแสดงแถบแอกทีฟไทม์แบตเทิล ซึ่งนีโอจีโอ ซีดี ไม่มี
  • เวอร์ชันเพลย์สเตชันมีเพลงที่มีคุณภาพสูงกว่าทั้งสองเวอร์ชันอื่น เนื่องจากตัวอย่างการกล้ำรหัสของพัลส์ที่มีคุณภาพสูงกว่า

ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างสามเวอร์ชันคือโหมดโบนัสซึ่งจะปลดล็อกหลังจากเอาชนะเกม[11]

  • นีโอจีโอ ซีดี: ให้สิทธิ์ "บทมินิ" ที่สาม ซึ่งผู้เล่นควบคุมฮิซาเมะ ชิซูมารุ ขณะที่เขาเดินไปรอบ ๆ โดยพบกับตัวละครประดับต่าง ๆ ของบริษัทเอสเอ็นเคจากเกมอื่น ๆ
  • เพลย์สเตชัน: มีการเปิดใช้งานโหมด "ไซด์สตอรี่" ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถดูลำดับเพตุการณ์ที่ไม่โต้ตอบเกี่ยวกับตัวละครอื่น ๆ ของซีรีส์ได้
  • แซตเทิร์น: เปิดใช้งานโหมดสัมภาษณ์ ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถดูลำดับเพตุการณ์ที่ยาวและไม่มีการโต้ตอบเกี่ยวกับตัวละครต่าง ๆ ซึ่งมักจะทำลายกำแพงที่สี่ เนื้อหาโบนัสนี้มีให้ในเวอร์ชันเพลย์สเตชันด้วยเช่นกัน ด้วยวิธีการของไฟล์บันทึกที่ถูกแฮก

การตอบรับ

แก้

จากข้อมูลของนิตยสารแฟมิซือ ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็งในระบบนีโอจีโอ ซีดี ขายได้มากกว่า 20,256 ชุดในสัปดาห์แรกที่วางตลาด[12] รวมถึงทางนิตยสารแฟมิซือยังรายงานว่าทั้งเวอร์ชันเพลย์สเตชัน กับเซกา แซตเทิร์น ขายได้มากกว่า 37,353 ชุดและ 28,122 ชุดตามลำดับในสัปดาห์แรกที่วางตลาดเช่นกัน[12]

หมายเหตุ

แก้
  1. ผลงานเพิ่มเติมโดยบริษัทอาซัตสึ และฟูจิเทเลวิชัน
  2. พอร์ตสู่ระบบเซกา แซตเทิร์น โดยมิวส์ซอฟต์
  3. 真説 サムライ スピリッツ 武士道烈伝 ชินเซ็ตสึซามูไรซูปิริตสึ: บูชิโดเร็ตสึเด็ง, "วิญญาณซามูไรขั้นสุดท้าย: นิทานบูชิโด"
  4. หรือที่เรียกว่าซามูไรโชว์ดาวน์ อาร์พีจี และ ซามูไรสปิริตส์: ทรูเลเจนส์ออฟฟิวเรียสบูชิโด อาร์พีจี[1][2][3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "Alphas - Samurai Spirits RPG (Neo•Geo CD)". Next Generation. No. 14. Imagine Media. February 1996. p. 96.
  2. 2.0 2.1 Hood, Robinson (August 1997). "Role-Player's Realm: Samurai Shodown RPG". GamePro. No. 107. IDG. p. 87.
  3. IGN Staff (June 10, 1997). "Samurai Bosses Revealed - New character information on SNK's new role-playing game, Samurai Spirits: True Legends of Furious Bushido RPG". IGN. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
  4. SNK, บ.ก. (1997). Samurai Spirits Bushido Rensetsuden Sega Saturn instruction manual (ภาษาญี่ปุ่น). SNK, FujiTV, Asatsu. pp. 26–31. T-3112G.
  5. Famitsu, บ.ก. (1997). Shinsetsu Samurai Spirits Bushidoretsuden Official Guide Book (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII. pp. 54, 58, 60–63, 68. ISBN 4-89366-789-0.
  6. SNK, บ.ก. (1997). Samurai Spirits Bushido Rensetsuden Sega Saturn instruction manual (ภาษาญี่ปุ่น). SNK, FujiTV, Asatsu. p. 13. T-3112G.
  7. SNK, บ.ก. (1997). Samurai Spirits Bushido Rensetsuden Sega Saturn instruction manual (ภาษาญี่ปุ่น). SNK, FujiTV, Asatsu. pp. 32, 33. T-3112G.
  8. Famitsu, บ.ก. (1997). Shinsetsu Samurai Spirits Bushidoretsuden Official Guide Book (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII. pp. 174–185. ISBN 4-89366-789-0.
  9. SNK, บ.ก. (1997). Samurai Spirits Bushido Rensetsuden Sega Saturn instruction manual (ภาษาญี่ปุ่น). SNK, FujiTV, Asatsu. pp. 18–21, 24. T-3112G.
  10. SNK, บ.ก. (1997). Samurai Spirits Bushido Rensetsuden Sega Saturn instruction manual (ภาษาญี่ปุ่น). SNK, FujiTV, Asatsu. pp. 15, 17, 23. T-3112G.
  11. Famitsu, บ.ก. (1997). Shinsetsu Samurai Spirits Bushidoretsuden Official Guide Book (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII. pp. 2–6. ISBN 4-89366-789-0.
  12. 12.0 12.1 "Game Search". Game Data Library. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-24. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้