ชาวม่าน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชาวม่าน (คำว่า "ม่าน" มีความหมายว่า "บ้าน") เป็นชนกลุ่มแรกที่อพยพมาทางหุบเขาตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ตั้งบ้านเรือนระยะห่างๆกัน ประมาณ 600-1,000 เมตร และแยกออกจากกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งจะสังเกตได้โดยเครื่องแต่งกายสตรี
- ม่านหัวแดง
- ม่านตะพาน (ม่านไม้กระดานใหญ่)
- ม่านเตียนู (ม่านไม้กระดานเล็ก
- ม่านลังแตน
อุปนิสัยของชาวม่าน
แก้โดยทั่วไปชาวม่าน เป็นพลเมืองที่รักการอุตสาหกรรม ใช้ภาษายูนนานได้ รู้จักนิสัยของชาวจีนได้เป็นอย่างดี เป็นพ่อค้า และรู้จักการเลี้ยงสัตว์พอดีพอใช้ จึงนับว่าเป็นพวกที่สำคัญพวกหนึ่งในบรรดาชาวม้ง และชาวไททั้งหลาย (ไทดำ, ไทแดง และไทขาว)
จำนวนประชากร
แก้พลเมืองเหล่านี้ในปัจจุบันอาจจะมีจำนวนมากกว่า 12,000 คน อาศัยตามหมู่บ้านต่างๆที่ติดกันเป็นหย่อมๆ ไม่ค่อยขยับขยายให้กว้างใหญ่เท่าใดนัก มีชาวม่านอยู่ที่ซินโห 8,000 คน มูสัง โลลาว 2,000 คน ลาดเขาฟันสีพาน 3,000 คน ภูเขาสามคาบ 1,000 คน แอ่งตานอูเย็น 2,000 คน ตามเทืองเขาใกล้กับแม่น้ำแดงฝั่งขวาจนถึงเงียโล 14,000 คน และทางก๊กลื้อ มีชาวม่านไปทำกินอยู่ในที่ต่ำๆมาก ขนาดสูงกว่าระดับน้ำทะเล 200 เมตร