ฉบับร่าง:ไอบีลีฟ (อัลบั้มทาทา ยัง)

ไอบีลีฟ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด25 กุมภาพันธ์ 2547 (2547-02-25)
บันทึกเสียงพ.ศ. 2546
สตูดิโอฮิตวิชัน (สต็อกโฮล์ม)
แนวเพลง
ความยาว42:01
ค่ายเพลง
โปรดิวเซอร์ฮิตวิชัน
ลำดับอัลบั้มของทาทา ยัง
เรียลทีที
(2546)
ไอบีลีฟ
(2547)
แดนเจอรัสทาทา
(2548)
ซิงเกิลจากไอบีลีฟ
  1. "เซ็กซีนอตีบิตชี"
  2. "ไอบีลีฟ"
  3. "ซินเดอเรลลา"
  4. "ไอทิงก์ออฟยู"
  5. "ดูมดูม"

ไอบีลีฟ (อังกฤษ: I Believe) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้า และสตูดิโออัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกของนักร้องชาวไทย ทาทา ยัง ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สิงคโปร์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[1] และวางจำหน่ายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ผ่านค่ายโคลัมเบียเรเคิดส์ และโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไอบีลีฟ ประกอบด้วยเพลงแนวแดนซ์ป็อปที่มีจังหวะเร็วเป็นส่วนใหญ่ เพื่อแสดงถึงความมั่นใจในตัวเอง[2] ทาทาทำอัลบั้มร่วมกับโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน มาร์ติน อังเก็ลลิอุส และแฮ็นริก อันเดร์ช็อน จากมูร์ลินมิวสิกกรุ๊ป โดยบันทึกเสียงที่สตูดิโอของพวกเขาในสต็อกโฮล์ม[3]

ไอบีลีฟ ได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อวางจำหน่าย และทำให้ทาทาเป็นที่รู้จักทั่วเอเชีย โดยได้รับการรับรองระดับทองคำในอินเดีย[4] และขึ้นสิบอันดับแรกบนชาร์ตอัลบั้มรายสัปดาห์ของออริคอน จากอัลบั้มชุดที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่น

รายชื่อเพลง

แก้

เพลงทั้งหมดผลิตโดยมาร์ติน อังเก็ลลิอุส และแฮ็นริก อันเดร์ช็อน ภายใต้ชื่อฮิตวิชัน ยกเว้นเพลง "ดูมดูม" ในอัลบั้มชุดแทนคำขอบคุณที่ผลิตโดยอาทิตยะ โจปรา

ไอบีลีฟ – ชุดมาตรฐาน
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."เอฟรีบอดีดัสเซินต์"
3:02
2."เซ็กซีนอตีบิตชี"
  • ดาวิด เคลียเว็ต
  • อีวาร์ ลิซินสกี
  • ซาวาน โคเทชา
3:28
3."ไอบีลีฟ"
  • มาร์ติน อังเก็ลลิอุส
  • แฮ็นริก อันเดร์ช็อน
  • อะลีนา กิบสัน
  • คาโรลา เฮ็กควิสต์
3:17
4."คอลฮิมไมน์"
  • ยูอาคิม บิเยิร์กลูนด์
  • โคเทชา
3:57
5."ซินเดอเรลลา"
  • ลินดี ร็อบบินส์
  • เควิน ซาวิการ์
3:34
6."โลนลีอินสเปซ"
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
  • วิกตอเรีย ฮอร์น
3:00
7."ไอทิงก์ออฟยู"
  • โรบิน สกอฟฟิลด์
  • รีด เวอร์เทลนีย์
3:43
8."แบดบอยส์แซดเกิลส์"
  • กิบสัน
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
3:03
9."ซอร์รีเอนีเวย์"
  • ดาวิด เอริกเซิน
  • กิบสัน
3:32
10."ครัชออนยู"
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
3:23
11."มายเวิลส์สปินนิง"
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
4:04
12."ไอวอนต์วอตไอวอนต์"
  • ลอเรน คริสตี
  • ชาร์ลี มิดไนต์
3:58
ความยาวทั้งหมด:42:01
ไอบีลีฟ – ชุดพิเศษจำกัดจำนวน (แทร็กโบนัส)
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."เซ็กซีนอตีบิตชี" (ดีเจราชีพบอลลีวูดรีมิกซ์)
  • เคลียเว็ต
  • ลิซินสกี
  • โคเทชา
3:10
14."ไอบีลีฟ" (ดีดีพีรีมิกซ์)
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
  • กิบสัน
  • เฮ็กควิสต์
4:48
15."เซ็กซีนอตีบิตชี" (ฟุตงรีมิกซ์)
  • เคลียเว็ต
  • ลิซินสกี
  • โคเทชา
5:08
ความยาวทั้งหมด:55:07
ไอบีลีฟ – ชุดแทนคำขอบคุณ (แทร็กโบนัส)[5]
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."ดูมดูม"
  • ปรีตัม จักรโบรตี
  • อาสิฟ อลี เบค[a]
4:21
14."เซ็กซีนอตีบิตชี" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
  • เคลียเว็ต
  • ลิซินสกี
  • โคเทชา
  • มิยาโกะ ฮาชิโมโตะ[b]
3:27
15."ไอบีลีฟ" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
  • กิบสัน
  • เฮ็กควิสต์
  • ฮาชิโมโตะ[b]
3:18
16."ไอทิงก์ออฟยู" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
  • สกอฟฟิลด์
  • เวอร์เทลนีย์
  • ฮาชิโมโตะ[b]
3:45
ความยาวทั้งหมด:56:52

หมายเหตุ

  • ^[a] หมายถึงผู้แต่งเนื้อร้องภาษาอังกฤษ
  • ^[b] หมายถึงผู้แต่งเนื้อร้องภาษาญี่ปุ่น
  • "เซ็กซีนอตีบิตชี" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เซ็กซีนอตีชีกกี" ในอัลบั้มชุดที่วางจำหน่ายในมาเลเซีย[6]
  • "เอฟรีบอดีดัสเซินต์" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2544 ในชื่อเดียวกันของอาม็องดา ลาแมช (หรือชื่อในวงการคือ อะแมนดา)
  • "ไอบีลีฟ" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2544 "ไอบีลีฟอินเลิฟ" ของคาโรลา เฮ็กควิสต์
  • "ซินเดอเรลลา" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2543 ในชื่อเดียวกันของไอไฟฟ์
  • "ไอวอนต์วอตไอวอนต์" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2540 ในชื่อเดียวกันของลอเรน คริสตี

วีซีดีและดีวีดีโบนัส

แก้

ไอบีลีฟ แต่ละชุดต่างบรรจุด้วยวีซีดีหรือดีวีดีโบนัสที่แตกต่างกัน มิวสิกวิดีโอของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับชาวไต้หวัน เคน ฟู และบทสัมภาษณ์พิเศษกับทาทา บรรจุอยู่ในอัลบั้มชุดมาตรฐาน[2][7] มิวสิกวิดีโอของเพลง "ไอบีลีฟ" และ "ซินเดอเรลลา" ซึ่งกำกับโดยอลงกต เอื้อไพบูลย์ บรรจุในอัลบั้มชุดจำกัดจำนวนที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่น[8][9] มิวสิกวิดีโอของเพลง "ดูมดูม" ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับชาวอินเดีย อรชุน สัพโลก และมิวสิกวิดีโอชุดวางจำหน่ายในญี่ปุ่นของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" และ "ไอบีลีฟ" บรรจุในอัลบั้มชุดแทนคำขอบคุณ[5][10] และวิดีโอคาราโอเกะและบันทึกการแสดงสดของซิงเกิลสี่ซิงเกิลแรกกับเพลง "คอลฮิมไมน์" บรรจุในอัลบั้มชุดพิเศษจำกัดจำนวน

บุคลากร

แก้

รายชื่อบุคลากรปรับมาจากกิตติประกาศในบันทึกย่อของ ไอบีลีฟ[5]

  • ทาทา ยัง – เสียงขับร้อง
  • ทิม ยัง – ผู้อำนวยการผลิต
  • ริชาร์ด เดเนกัมป์ – ผู้อำนวยการผลิต
  • ฮิตวิชัน – โปรดิวเซอร์, เรียบเรียงเสียงประสาน, บันทึกเสียง, โปรแกรมมิง, วิศวกรรมเสียง, คีย์บอร์ด
  • นิกลัส ฟลิกต์ – ผสมเสียง (ในเพลงที่ 1–5, 7, 10)
  • ออลาร์ ซูร์นา – ผสมเสียง (ในเพลงที่ 6, 8, 9, 11, 12)
  • บิเยิร์น เอ็งเกียล์มัน – มาสเตอร์ริง
  • ฌาเน็ต อูลส์ซ็อน – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 1, 3, 4, 7, 9, 10)
  • อันนา นูร์เด็ล – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 2, 5, 6, 11)
  • ซานดรา นูร์สเตริม – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 8)
  • ยูอาคิม เบรย์สเตริม – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 12)
  • เอียสบิเยิร์น เออร์วัล – กีตาร์
  • ทูมัส ลินด์เบรย์ – กีตาร์เบส (ในเพลงที่ 2, 3, 6, 7, 10–12)

ชาร์ต

แก้

รายสัปดาห์

แก้
ตารางแสดงอันดับชาร์ตของ ไอบีลีฟ
ชาร์ต (พ.ศ. 2547) ตำแหน่ง
สูงสุด
Japanese Albums (Oricon)[11] 9

ประวัติการจำหน่าย

แก้
วันที่วางจำหน่ายและรูปแบบของ ไอบีลีฟ
ภูมิภาค วันวางจำหน่าย รูปแบบ อัลบั้มชุด ค่ายเพลง อ้างอิง
เอเชีย 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 มาตรฐาน [7]
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 พิเศษจำกัดจำนวน [ต้องการอ้างอิง]
ญี่ปุ่น 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
จำกัดจำนวน พลาเทีย [8][12]
ไทย 5 เมษายน พ.ศ. 2548 แทนคำขอบคุณ [13]

อ้างอิง

แก้
  1. "การแถลงข่าวเปิดตัวอัลบั้ม I Believe ณ ประเทศสิงคโปร์". สังคมบันเทิง. 16 กุมภาพันธ์ 2547. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  2. 2.0 2.1 Young, Tata (2004). "Interview with Tata Young". I Believe (Bonus VCD) (Interview). สัมภาษณ์โดย Kaneearch Dandumrongsuk. Columbia Records.
  3. "Oxygen Special: Real TT in Sweden". Oxygen. 2 กุมภาพันธ์ 2546. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  4. Bhushan, Nyay (17 March 2007). "Robbie Goes to Bollywood: International Acts Target Indian Market". Billboard. Vol. 119 no. 11. United States: Nielsen. p. 12. ISSN 0006-2510. สืบค้นเมื่อ 5 June 2024.
  5. 5.0 5.1 5.2 I Believe (Thank You edition liner notes). Tata Young. Columbia Records. 2005. UM48-0890.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  6. Hadi, Eddino Abdul (19 May 2014). "Thai singer Tata Young bounces back after illness". The Straight Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2023. สืบค้นเมื่อ 21 July 2024.
  7. 7.0 7.1 "อัลบัม I Believe - ทาทา ยัง". สยามโซน.คอม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2567. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2024.
  8. 8.0 8.1 "タタ・ヤン / アイ・ビリーヴ [CD+DVD] [限定]" [Tata Young - I Believe (CD+DVD) (Limited Edition)]. CD Jounal (ภาษาญี่ปุ่น). 17 November 2004. สืบค้นเมื่อ 4 June 2024.
  9. "พิสูจน์มิวสิกฯ ซินเดอเรล่า ทาทา ยัง ฝีมือผู้กำกับคนไทย". สยามโซน.คอม. 18 กรกฎาคม 2547. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2024.
  10. Making the Video: Tata Young - Dhoom Dhoom. India: MTV Asia. 2004.
  11. "Tata Young's Ranking Information". Oricon. สืบค้นเมื่อ 22 June 2024.
  12. "タタ・ヤン / アイ・ビリーヴ [限定]" [Tata Young - I Believe (Limited Edition)]. CD Jounal (ภาษาญี่ปุ่น). 17 November 2004. สืบค้นเมื่อ 4 June 2024.
  13. "อัลบัม I Believe (Thank You Edition) - ทาทา ยัง". สยามโซน.คอม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้