ฉบับร่าง:จอร์จี ฮาจี

จอร์จี ฮาจี
Hagi in 2014
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม จอร์จี ฮาจี[1]
วันเกิด (1965-02-05) 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 (59 ปี)[1]
สถานที่เกิด Săcele, Romania
ส่วนสูง 1.74 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองกลางตัวรุก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ฟารุล คอนสแตนตา (ผู้จัดการทีม)
สโมสรเยาวชน
1975–1980 FC Constanța
1980–1981 Luceafărul București
1981–1982 FC Constanța
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1982–1983 FC Constanța 18 (7)
1983–1987 Sportul Studențesc 108 (58)
1987–1990 Steaua București 97 (76)
1990–1992 Real Madrid 64 (16)
1992–1994 Brescia 61 (14)
1994–1996 Barcelona 36 (7)
1996–2001 Galatasaray 132 (59)
รวม 516 (237)
ทีมชาติ
1983–2000 Romania 124[a] (35)
จัดการทีม
2001 Romania
2003 Bursaspor
2004–2005 Galatasaray
2005–2006 Politehnica Timișoara
2007 Steaua București
2010–2011 Galatasaray
2014–2020 Viitorul Constanța
2021– Farul Constanța
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

จอร์จี ฮาจี (โรมาเนีย: Gheorghe Hagi, เกิด 5 กุมภาพันธ์ 1965) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวโรมาเนีย ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของและผู้จัดการทีมฟารุล คอนสแตนตาสโมสรในลีกาอึนตึย ในฐานะกองกลางตัวรุก ฮาจีได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ในผู้เล่นที่ดีที่สุดของโลกในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990[3] และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักฟุตบอลชาวโรมาเนียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[4][5] แฟนบอลของกาลาทาซาไรเรียกฮาจีหลังเขาแขวนสตั๊ดว่า Comandante ในหมู่กองเชียร์ชาวโรมาเนีย เขาเป็นที่รู้จักในฉายา เรเกเล ซึ่งแปลว่า กษัตริย์ ฉายา มาราโดนาแห่งคาร์เพเทียน เขาคือเพลย์เมกเกอร์ที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ โด่งดังจากทักษะการเลี้ยงบอล เทคนิค การมองเกม การผ่านบอล และการยิงประตู[6][7][8]

หลังจากเริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลในโรมาเนียกับฟารุล คอนสแตนตา จากนั้นไปเล่นให้กับสปอร์ตูล สตูเดนเตสก์ และสเตอัวบูคาเรสต์ ต่อมาเขายังย้ายไปเล่นในสเปนกับเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา ในอิตาลีกับเบรชชา และในตุรกีกับกาลาทาซาไร ฮาจีเป็น 1 ในนักฟุตบอลไม่กี่คนที่มีโอกาสลงเล่นให้ 2 สโมสรคู่อริในสเปนทั้งเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา ตลอดอาชีพนักฟุตบอลของเขา เขาคว้าแชมป์มากมายขณะลงเล่นใน 4 ประเทศที่แตกต่างกัน เขาคว้าแชมป์ลีกาอึนตึย 3 สมัย, แชมป์ Cupa României 2 สมัยและแชมป์ยูโรเปียนซูเปอร์คัพกับสเตอัวบูคาเรสต์ – แชมป์ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญากับเรอัลมาดริด, แชมป์แองโกล–อิตาเลียนคัพกับเบรชชา, แชมป์ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญาอีก 1 สมัยกับบาร์เซโลนา, และแชมป์ซือเปร์ลีก 4 สมัย, แชมป์เตอร์กิชคัพ 2 สมัย, แชมป์เตอร์กิชซูเปอร์คัพ 2 สมัย, แชมป์ยูฟ่าคัพและยูฟ่าซูเปอร์คัพกับกาลาทาซาไร

ระดับทีมชาติ

แก้

จอร์จี ฮาจี ลงประเดิมสนามให้กับทีมชาติโรมาเนีย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1983 ด้วยวัย 18 ปีภายใต้การคุมทีมของเมอร์เซีย ลูเชสคู ซึ่งให้เขาลงเล่นครบ 90 นาทีในนัดกระชับมิตรที่พบกับทีมชาตินอร์เวย์ ที่สนามอุลเลวาลสเตเดียม กรุงออสโล ซึ่งผลการแข่งขันเสมอกัน 0–0[6][9][10] เขายิงประตูแรกในนามทีมชาติในนัดที่พบกับไอร์แลนด์เหนือเมื่อปี 1984[8] ปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกัปตันทีมเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกพบกับคู่แข่งเดิมคือไอร์แลนด์เหนือ

ถึงแม้โรมาเนียจะพลาดโอกาสผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 1986 ที่เม็กซิโก[8] แต่ในฟุตบอลโลก 1990 ที่อิตาลี ฮาจี เป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติโรมาเนีย ช่วยให้ทีมเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ถูกสาธารณรัฐไอร์แลนด์เขี่ยตกรอบหลังจากแพ้การดวลจุดโทษหลังเสมอกัน 0–0 โดยฮาจียิงจุดโทษลูกแรกให้โรมาเนีย[11] 4 ปีต่อมา เขาพาทีมชาติโรมาเนียทำผลงานได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ในฟุตบอลโลก 1994 ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อพวกเขาเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนพ่ายต่อสวีเดนด้วยการดวลจุดโทษอีกครั้งเหมือนเมื่อครั้งก่อน[6]

4 ปีต่อมา เขาทำหน้าที่กัปตันทีมชาติโรมาเนียในฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส ก่อนเริ่มการแข่งขันฮาจีประกาศไว้ว่า ฟุตบอลโลก 1998 อาจจะเป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้ายของเขา โรมาเนียคว้าแชมป์กลุ่ม โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับอังกฤษ, โคลอมเบีย และตูนิเซีย และผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะถูกโครเอเชียซึ่งคว้าอันดับ 3 ของทัวร์นาเมนต์นี้เขี่ยตกรอบ[6][8][12] หลังจบการแข่งขัน ฮาจี ประกาศเลิกเล่นทีมชาติ แต่เขาก็เปลี่ยนใจกลับมาลงเล่นในศึกยูโร 2000 ที่ฮอลแลนด์และเบลเยี่ยม ฮาจี โดนใบแดงไล่ออกจากสนามในรอบก่อนรองชนะเลิศที่แพ้ อิตาลี รองแชมป์ของทัวร์นาเมนต์นั้น 0–2 ซึ่งนัดนี้ถือเป็นการลงเล่นทีมชาตินัดสุดท้ายของเขา[6][8][13][14]

ฮาจีแขวนสตั๊ดในปี 2001 ด้วยวัย 36 ปี ในปีนั้น เขาได้รับการจัดแมตช์อำลาที่เรียกว่า "กาลาฺฮาจี" เป็นการเจอกันของทีมรวมดาราโรมาเนียและทีมรวมดารานานาชาติ[15][16] ในเวลาที่เขาแขวนสตั๊ด เขามีสถิติลงเล่นให้ทีมชาติโรมาเนีย 124 นัด[a] เป็นสถิติมากที่สุดก่อนจะถูกทำลายโดย โดริเนล มุนเตียนู เขายังคงครองสถิติยิงประตูให้ทีมชาติโรมาเนียมากที่สุดร่วมกับเอเดรียน มูตู ด้วยจำนวน 35 ประตู[6][8][17]

รูปแบบการเล่น

แก้

ฮาจีเป็นกองกลางตัวรุกเท้าซ้ายที่มีพรสวรรค์ รูปแบบการเล่นของเขามักถูกนำไปเปรียบเทียบกับดิเอโก มาราโดนาเสมอ ด้วยความสามารถทางเทคนิคที่โดดเด่นและมีภาวะผู้นำแต่เขามีบุคลิกค่อนข้างขี้หงุดหงิด[8][18][19][20][21] ในวัยเด็ก เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนักฟุตบอลรุ่นพี่เพื่อนร่วมชาติอย่างอังเคล ยอร์ดาเนสคู และยอน ดูมิตรู[8]

สถิติในอาชีพ

แก้

ทีมชาติ

แก้
Appearances and goals by national team and year[2][22]
National team Year Apps Goals
Romania 1983 5 0
1984 9 1
1985 10 4
1986 8 3
1987 8 2
1988 4 2
1989 8 0
1990 11 2
1991 6 2
1992 5 4
1993 5 1
1994 11 5
1995 3 1
1996 8 1
1997 6 4
1998 7 1
1999 4 2
2000 6 0
Total 124[a] 35

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 125 appearances according to some sources, although, as of 2007, the FRF no longer recognises Romania's unofficial 3–1 friendly away win against the Ecuador U23 side on 22 January 1984[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Gheorghe Hagi". Turkish Football Federation. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
  2. 2.0 2.1 "Gheorghe Hagi – Century of International Appearances". RSSSF. Retrieved 17 July 2012.
  3. "Gheorghe Hagi". Planet World Cup.com.
  4. "Famous Romanians: Gheorghe Hagi" เก็บถาวร 24 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Romania Insider. 11 August 2010.
  5. "Gheorghe Hagi". FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "Romania and Gala's commander and king". FIFA. 17 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  7. "Gheorghe HAGI". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 "Gheorghe Hagi: The Maradona of the Carpathians". ESPN FC. 21 May 2010. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
  9. "Gheorghe Hagi". European Football. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
  10. "Norway 0-0 Romania". European Football. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
  11. Dunne, Noel (25 June 2015). "O'Leary and Bonner the heroes as Ireland make history and qualify for World Cup quarter-final". The Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  12. Lazăr, Mihnea (11 June 2018). "The Inside Story of Why the Entire Romania '98 Team Bleached Their Hair". Vice News. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  13. "Euro 2000: Italia-Romania (2–0) – Azzurri in semifinale" (ภาษาอิตาลี). Rai Sport. 24 June 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
  14. "Wall of Fame: Gheorghe Hagi". Infostrada Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2009. สืบค้นเมื่อ 13 October 2009.
  15. "Hagi takes an all-star bow". BBC Sport. 24 April 2001. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  16. Raynor, Dominic (24 April 2001). "Hagi takes final Romania bow". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 6 November 2019.
  17. "Soccer-Former goal hero Mutu returns to Dinamo as general manager". in.reuters.com. 12 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  18. Marino Bortoletti. "HAGI, Gheorghe" (ภาษาอิตาลี). Treccani: Enciclopedia dello Sport (2002). สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
  19. Alessandro Bezzi (24 January 2015). "GHEORGHE HAGI: STORIA IN TRE ATTI DEL MARADONA DEI CARPAZI" (ภาษาอิตาลี). ZonaCesarini.net. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
  20. "Hagi and Tugay take Galatasaray helm". UEFA.com. 21 October 2010. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
  21. "Mondiali, −10: Pelè, Maradona e i grandi Dieci della storia" (ภาษาอิตาลี). Sky.it. สืบค้นเมื่อ 27 March 2017.
  22. Gheorghe HAGI เก็บถาวร 20 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FRF. Retrieved 17 July 2012.