จูเลีย มุลล็อก (อังกฤษ: Julia Mullock, เกาหลี: 줄리아 멀록; 18 มีนาคม พ.ศ. 2471[1] – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) หรือชื่อภาษาเกาหลีว่า อี จู-อา (เกาหลี이주아; ฮันจา李珠亞) เป็นหญิงชาวอเมริกันผู้เคยเป็นพระชายาของเจ้าชายกูแห่งเกาหลี ภายหลังได้หย่าร้างกัน[2]

จูเลีย มุลล็อก
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2471
รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ
เสียชีวิต26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (89 ปี)
รัฐฮาวาย สหรัฐ
คู่สมรสอี กู (2502–2525)

ประวัติ

แก้
 
จูเลียและพระสวามี ณ พระราชวังชังด็อก พ.ศ. 2503

ชีวิตตอนต้น

แก้

จูเลียเกิดที่รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายยูเครน บางแห่งว่าเธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน[3] เธอพบกับเจ้าชายกูครั้งแรกขณะทำงานสถาปนิกในสำนักงานของไอ. เอ็ม. เพ เธอออกจากงานและตัดสินใจจะย้ายไปอยู่ประเทศสเปน จึงปิดประกาศขายห้องชุด เมื่อเจ้าชายกูเห็นใบปิดดังกล่าวจึงเข้าไปดูห้องชุดนั้น แทนที่พระองค์จะซื้อแต่กลับกลายเป็นว่าพระองค์ชวนให้จูเลียอยู่ต่อ[1] ทั้งนี้บิดามารดาของจูเลียซึ่งมาจากยูเครนสนใจในตัวเจ้าชายกูที่สามารถตรัสคำรัสเซียได้ไม่กี่คำจากที่ทรงทราบมาจากสหายร่วมชั้นเรียนชาวยูเครน[1]

เสกสมรส

แก้

จูเลียเข้าพบกับมกุฎราชกุมารอึนและมกุฎราชกุมารีพังจาในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาเจ้าชายกูและจูเลียได้หมั้นหมายกันในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ก่อนเสกสมรสกัน ณ โบสถ์ยูเครนคาทอลิกนักบุญจอร์จในนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2502 แต่ไม่เคยประกอบพิธีเสกสมรสตามประเพณีเกาหลีเลย[2]

จูเลียได้ตามเสด็จเจ้าชายกูกลับประเทศเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โดยประทับอยู่ในพระตำหนักนักซ็อนภายในพระราชวังชังด็อกในโซล ร่วมกับพระสวามีและเจ้าหญิงพังจา ระหว่างนี้เธอได้ทำงานกับองค์กรการกุศลหลายแห่ง ทั้งรับยูจีเนีย อึนซุก (Eugenia Unsuk) หรือ อี อึน-ซุก (이은숙, 李恩淑) และอี ว็อน (이원, 李源) เป็นบุตรบุญธรรม เธอปฏิบัติตนในฐานะเจ้าหญิงในการช่วยเหลือคนพิการและผู้ยากไร้[3] กระนั้นเธอกลับมีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นกับอี พัง-จา พระชนนีของอี กูสักเท่าไร[3]

ภายหลังเจ้าชายกูได้ขอหย่ากับจูเลียเมื่อปี พ.ศ. 2525 หลังได้รับแรงกดดันจากพระราชวงศ์เรื่องการประสูติกาลพระทายาท เธอได้เดินทางกลับไปฮาวายเมื่อปี พ.ศ. 2538[1]

ปัจฉิมวัย

แก้

ในปี พ.ศ. 2541 เธอมีภาวะสมองขาดเลือด ส่งผลให้เป็นอัมพาตซีกซีกขวา กระนั้นเธอยังคงใช้ชีวิตไปมาระหว่างฮาวายกับเกาหลีใต้อยู่เป็นนิจ[1] หลังการหย่ากับภัสดา เธอยังคงเปิดร้านขายเสื้อโดยนำรายได้ไปช่วยเหลือด้านการกุศล[3] ต่อมาจูเลียได้ประกอบพิธีกรรมคติขงจื๊อตามพระราชประเพณี ณ ศาลเจ้าชงมโย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ร่วมกับคว็อน ฮี-ซุน นางสนองพระโอษฐ์ และเจ้าหญิงแฮว็อน พระธิดาในเจ้าชายอีฮวา

จูเลีย มุลล็อกเสียชีวิตอย่างเดียวดายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ สถานพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐฮาวาย สหรัฐ[3] ศาสตราจารย์อี นัม-จู สหายคนสนิทของจูเลียกล่าวว่า "เธอ [จูเลีย] มีความประสงค์ที่จะถูกฝังศพในเกาหลีใต้ แต่ฉันได้ยินมาว่าศพถูกฌาปนกิจไปแล้ว ส่วนเถ้ากระดูก บุตรสาวบุญธรรมของเธอจะนำไปลอยอังคารในมหาสมุทรแปซิฟิก"[4]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ (Universal Studios) ได้สนใจที่จะทำภาพยนตร์ชีวประวัติของจูเลีย มุลล็อกในชื่อ The Julia Project ด้วยความร่วมมือกับ แอลเจ. ภาพยนตร์[5] ของประเทศเกาหลีใต้ โดยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ประกาศว่าดีปา เมห์ตา (Deepa Mehta) ได้คัดเลือกเป็นผู้กำกับ[6]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Teresa Santoski (18 มีนาคม 2554). "Daily TWiP – American Julia Mullock, former princess of Korea, born today in 1928". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 Digital Chosunilbo Korea’s Last Princess Breaks Silence เก็บถาวร 2006-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Julia Mullock, Ex-Wife of Korea's Late Last Prince Yi Gu, Dies Alone in Hawaii". The Seoul Times (ภาษาอังกฤษ). 18 มีนาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Kim So-hyun (7 ธันวาคม 2560). "Korea's last princess dies". Korea Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 'Julia' biopic in Focus - Entertainment News, Los Angeles, Media - Variety
  6. Focus has big designs - Entertainment News, Exclusives, Media - Variety

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จูเลีย มุลล็อก ถัดไป
อี พัง-จา   อ้างสิทธิจักรพรรดินีเกาหลี
(พ.ศ. 2513–2525)
  สิ้นสุด