จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

จุลจิตรกรรมสำหรับหนังสือวิจิตร (อังกฤษ: Miniature (illuminated manuscript)) คำว่า “Miniature” มาจากภาษาละตินว่า “Minium” ที่หมายถึงสารสีเลดเทโทรไซด์” หรือ “ตะกั่วแดง” (Lead tetroxide) คือหนังสือวิจิตรโบราณหรือจากยุคกลาง หรือ ลายตกแต่งอย่างง่ายๆ ของกฎบัตรที่ตกแต่งด้วยสารสีตะกั่วแดงดังกล่าว การที่ภาพโดยทั่วไปจากยุคกลางมักจะมีขนาดเล็กทำให้สับสนกับจิตรกรรมขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพเหมือนขนาดเล็ก (portrait miniature) ที่พัฒนามาจากลักษณะการวาดที่มีประวัติคล้ายคลึงกัน

จุลจิตรกรรมม้าโทรจันจากหนังสือ “เวอร์จิลเลียส โรมานัส” (Vergilius Romanus) ใน “เอเนอิด” (Aeneid) โดยเวอร์จิลของคริสต์ศตวรรษที่ 5

นอกไปจากธรรมเนียมการวาดจุลจิตรกรรมทางตะวันตกและไบแซนไทน์แล้ว ทางตะวันออกก็มีการเขียนจุลจิตรกรรมที่มักจะเป็นภาพที่มีเนื้อหามากกว่าทางตะวันตก และจากที่เป็นงานที่เขียนสำหรับหนังสือก็พัฒนาไปเป็นงานเขียนเป็นแผ่นๆ ที่ใช้เก็บในอัลบัมได้ ที่เรียกว่าจุลจิตรกรรมเช่นเดียวกับทางตะวันตก แต่มีลักษณะเดียวกับภาพเขียนสีน้ำ จุลจิตรกรรมทางตะวันออกก็รวมทั้งจุลจิตรกรรมเปอร์เซีย และ จุลจิตรกรรมโมกุล, จุลจิตรกรรมออตโตมัน และ จุลจิตรกรรมอินเดีย

อ้างอิง

แก้
  •   บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  • Otto Pächt, Book Illumination in the Middle Ages (trans fr German), 1986, Harvey Miller Publishers, London, ISBN 0199210608
  • Walther, Ingo F. and Wolf, Norbert, Masterpieces of Illumination (Codices Illustres); pp 350–3; 2005, Taschen, Köln; ISBN 382284750X</ref>
  • Jonathan Alexander; Medieval Illuminators and their Methods of Work; p.9, Yale UP, 1992, ISBN 0300056893</ref>
  • Calkins, Robert G. Illuminated Books of the Middle Ages. Ithaca, New York: Cornell University Press, 1983.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้