เจ้าแม่จีโกว (จีน: 紫姑; พินอิน: Zigu อังกฤษ: goddess Zigu) เป็นเทวนารีนักพรตตามความเชื่อของจีนและศาสนาเต๋า พระนางเป็นเทวนารีนักพรตผู้รักษาห้องสุขา ในคติของความเชื่อของจีนและศาสนาเต๋า คติการบูชาของเทวนารีองค์นี้มีต้นกำเนิดในภูมิภาคมณฑลชานซีและแพร่กระจายไปทั่วประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง[1]

เจ้าแม่จีโกว
เจ้าแม่ห้องสุขา
เทพผู้รักษาห้องสุขา
จิตรกรรมเทวรูปเจ้าแม่ห้องสุขา จิตรกรรมแบบประเพณีจีน
ภาษาจีน紫姑
ความหมายตามตัวอักษรเจ้าแม่ห้องสุขา
เทพผู้รักษาห้องสุขา

ตามความเชื่อของจีน กระแสหลัก นางคือคือพระสนมชีของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่และพระมารดาขององค์ชายหลิว หรูอี้ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งถูกพระนางหลี่ฮองเฮาทรมานและฆาตกรรมให้เป็นมนุษย์หมู หรือ หมูคนในห้องน้ำในวันเทศกาลโคมไฟ[2]

เรื่องราวบันทึกแรกสุดของเจ้าแม่จีโกว อยู่ในบันทึกบทเล่มห้าของ "หลี่หยวน" (อังกฤษ: Yiyuan) ซึ่งบันทึกโดย หลิวจิ้งซู่ (อังกฤษ: Liu Jingshu) หรือ หลิวซ่ง (อังกฤษ: Liu Song) แห่งยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้[3][2]

ในตำนานท้องถิ่นอื่น ๆ กล่าวว่าชื่อจริงของนางคือ เหอหมิงฮุ่ย (อังกฤษ: He Mingmei) ในรัชสมัยของบูเช็กเทียน และนางได้ถูกเอกภริยาของของสามีเธอฆาตกรรมในห้องน้ำด้วยความริษยาในวันเทศกาลโคมไฟ ด้วยคุณงามความดีและกุศลที่นางได้ประกอบไว้ทำให้เง็กเซียนฮ่องเต้ทรงเมตตาสถาปนาเป็นเทพีผู้รักษาห้องสุขา[2]

พิธีกรรม

แก้

ในความเชื่อของจีนนิยมบูชาเทพประจำบ้านหกองค์ โดยมีสองประเภทที่โดดเด่นที่สุดของคติเหล่านี้คือ "เทพเจ้าแห่งประตู" และ "เทพผู้รักษาห้องสุขา" โดยเทพผู้รักษาห้องสุขาได้รับการบูชาตั้งแต่สมัยยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ และเป็นที่นิยมสักการะบูชาคู่กับเทพเจ้าแห่งประตูเป็นอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง

ในฐานะเทพผู้รักษาห้องสุขา เจ้าแม่จีโกว และ เจ้าแม่หยุนเซียวมักเป็นที่นิยมสักการะบูชาพิเศษ บรรดาสตรีจีนนิยมบูชาเทพนารีทั้งสองในรูปของตุ๊กตาที่ประดิษฐ์เองในวันเทศกาลโคมไฟ (คือวันที่สิบห้าของเดือนแรกตามปฏิทินจีนของทุกปี)[4]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Lust, John (1996). Chinese popular prints. BRILL. pp. 322–324. ISBN 978-90-04-10472-3.
  2. 2.0 2.1 2.2 "不知道廁神沒關係 但你要知道管廁所的都很正!". NOWnews (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 16 May 2018.
  3. Zhang, M. (1970, January 1). Unpacking the latrine goddess : the evolution of Zigu invitations from the fifth century to the fifteenth century. Open Collections. https://open.library.ubc.ca/cIRcle/collections/ubctheses/24/items/1.0394964.
  4. Kang, Xiaofei (2006). The cult of the fox: power, gender, and popular religion in late imperial and modern China. p. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-13338-8.