จันทรกีรติ
จันทรกีรติ (Candrakīrti; ป. 600 – 650) เป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนามหายานของนิกายมัธยมกะ และเป็นอรรถกถาจารย์ผู้อธิบายงานเขียนของพระนาคารชุน และศิษย์คนสำคัญของท่านนาคารชุน เช่น พระอารยเทวะ พระจันทรกีรติเป็นผู้เขียนปกรณ์ชื่อประสันนปทา และมาธยมกาวตาร [1]
จันทรกีรติ | |
---|---|
จีน: 月稱; พินอิน: Yuèchēng; ญี่ปุ่น: Gesshō; ทิเบต: ཟླ་བ་གྲགས་པ་, ไวลี: zla ba grags pa, ภาษาถิ่นลาซ่า: แม่แบบ:IPA-bo | |
เกิด | ค.ศ. 600 อินเดียใต้ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 650 |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยนาลันทะ |
ยุค | อินเดียยุคกลางตอนต้น |
แนวทาง | พุทธปรัชญา |
สำนัก | มัธยมกะ |
ไม่มีข้อมูลเรื่องชีวิตของจันทรกีรติมากนัก แหล่งข้อมูลจากทิเบตระบุว่าท่านเกิดที่เมืองสามันตะ ทางภาคใต้ของอินเดียเป็นศิษย์ของพระกมลพุทธิ และขนบทางพุทธศาสนามหายานมักระบุว่าท่านเกี่ยวข้องกับนาลันทามหาวิหาร ซึ่งท่านอาจเป็นพระภิกษุที่นั่น [1]
คำสอนและผลงาน
แก้จันทรกีรติเป็นเน้นตีความคำสอนของนิกายมาธยมกะ ด้วยวิธีการทางตรรกศาสตร์ที่เรียกว่า ปราสังคิกะ หรือการวิพากษ์ทางตรรกะแบบอนุมาน หรือสำนักวิพาษวิธี ในภาษาทิเบตเรียกว่า อูมะ เทลจูร์ (Wylie: dbu ma thal 'gyur) [2] งานเขียนของท่านปกป้องแนวคิดของพระพุทธปาลิตต่อข้อโต้แย้งของพระภาวะวิเวก โดยวิจารณ์ฝ่ายหลังว่า ใช้ตรรกวิธีที่อนุมานโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ท่านยังวิพากษ์แนวคิดของพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ เช่น นิกายวิชญานวาท หรือนิกายโยคาจาร [3] ท่านยังโจมตีทัศนะของสำนักของท่านทิคนาคะ นักตรรศาสตร์ชาวพุทธที่มีชื่อเสียง โดยชี้ว่าท่านทิคนาคะ พยายามจะยึดหลักญานวิทยาโดยตั้งประพจน์พื้นฐาน [4]
ผลงานการรจนาของท่านจันทรกีรติ เช่น ประสันนปทา เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า บทคำที่ชัดแจ้ง เป็นอรรถาธิบายตำรามูลมาธยมกการิกา ของพระนาคารชุน และมัธยมกาวตารเป็นตำราเสริมต่อผลงานของพระนาคารชุน ในทิเบตใช้มาธยมกาวตารของท่านเป็นตำราการเรียนการสอนวิทยาลัยสงฆ์ ในวิชาว่าด้วยหลักศูนยตาและปรัชญาของนิกายมัธยมกะ
ผลงานสำคัญ
แก้- ประสันนปทา (Prasannapadā) หรือ บทคำที่ชัดแจ้ง อรรถกถามูลมาธยมกการิกา ของพระนาคารชุน
- มาธยมกาวตาร (Madhyamakāvatāra) หรือ การเข้าถึงทางสายกลาง
- จตุห์ศตกฎีกา (Catuḥśatakaṭīkā) หรือ อรรถกถาสี่ร้อย อธิบายคาถาสี่ร้อยของพระอารยเทวะ
- ยุกติษอัษฏิกาวฤตติ (Yuktiṣaṣṭikāvṛtti) หรือ อรรถาธิบายโศลกหกสิบบทว่าด้วยตรรกะ
- ศูนยตาสัปตวฤตติ (Shūnyatāsaptativṛtti) อรรถาธิบายโศลกเจ็ดสิบบทว่าด้วยศูนยตา
- ตริศรณสัปติ (Triśaraṇasaptati) หรือ คาถาเจ็ดสิบว่าด้วยการรับพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Buswell Jr. & Lopez Jr. 2013, Entry for Candrakīrti.
- ↑ Candrakirti - Budda World. Accessed January 29, 2012.
- ↑ Fenner, Peter G. (1983). "Chandrakīrti's refutation of Buddhist idealism." Philosophy East and West Volume 33, no.3 (July 1983) University of Hawaii Press. P.251. Source: [1] (accessed: January 21, 2008)
- ↑ Hayes, Richard, "Madhyamaka", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Spring 2017 Edition), Edward N. Zalta (ed.), forthcoming URL = <https://plato.stanford.edu/archives/spr2017/entries/madhyamaka/>.
บรรณานุกรม
แก้- Arnold, Dan (2005), Buddhists, Brahmins and Belief: Epistemology in South Asian Philosophy of Religion. Columbia University Press.
- Buswell Jr., Robert E.; Lopez Jr., Donald S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton: Princeton University Press. p. 165. ISBN 9781400848058.
- Dreyfus, Georges B.J.; McClintock, L. Sara (2015). Svatantrika-Prasangika Distinction: What Difference Does a Difference Make? Simon and Schuster.
- Dunne, John. "Madhyamaka in India and Tibet" in Garfield, Jay; Edelglass, William (2010). The Oxford Handbook of World philosophy. Oxford University Press. ISBN 9780195328998.
- Edelglass, William (2013). "Candrakirti", in A. Sharma (ed.), Encyclopedia of Indian Religions, DOI 10.1007/978-94-007-1989-7
- Gyatso, Kelsang. Ocean of Nectar: The True Nature of All Things, a verse by verse commentary to Chandrakirti's Guide to the Middle Way, Tharpa Publications (1995) ISBN 978-0-948006-23-4
- Hayes, Richard (2019), "Madhyamaka", The Stanford Encyclopedia of Philosophy, Edward N. Zalta (ed.).
- Huntington, C. W. (2007), The Emptiness of Emptiness: An Introduction to Early Indian Madhyamaka. Motilal Banarsidass.
- Jinpa, Thupten (translator); Tsongkhapa (2021) Illuminating the Intent: An Exposition of Candrakirti's Entering the Middle Way. Simon and Schuster.
- Newland, Guy (2009). Introduction to Emptiness: As Taught in Tsong-kha-pa's Great Treatise on the Stages of the Path. Snow Lion. ISBN 9781559393324.
- Padmakara Translation Group (2005) Introduction to the Middle Way: Chandrakirti's Madhyamakavatara with Commentary by Ju Mipham. Shambhala Publications.
- Ruegg, David Seyfort (1981). The Literature of the Madhyamaka School of Philosophy in India. Otto Harrassowitz Verlag.
- Thakchoe, Sonam (2017), "The Theory of Two Truths in India", The Stanford Encyclopedia of Philosophy, Edward N. Zalta (ed.).
- Vose, Kevin A. (2015) Resurrecting Candrakirti: Disputes in the Tibetan Creation of Prasangika. Simon and Schuster.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Geshe Jampa Gyatso - Masters Program Middle Way
- Joe Wilson. Chandrakirti's Sevenfold Reasoning Meditation on the Selflessness of Persons
- Candrakiirti's critique of Vijñaanavaada, Robert F. Olson, Philosophy East and West, Volume 24 No. 4, 1977, pp. 405–411
- Candrakiirti's denial of the self, James Duerlinger, Philosophy East and West, Volume 34 No. 3, July 1984, pp. 261–272
- Chandrakiirti's refutation of Buddhist idealism, Peter G. Fenner, Philosophy East and West, Volume 33 No. 3, July 1983, pp. 251–261
- "Philosophical Nonegocentrism in Wittgenstein and Chandrakirti", Robert A. F. Thurman, Philosophy East and West, Volume 30 No. 3, July 1980, pp. 321–337