จันตรี ศิริบุญรอด

จันตรี ศิริบุญรอด (31 มีนาคม พ.ศ. 2460 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2511) เป็นนักเขียนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย[2]

จันตรี ศิริบุญรอด
จันตรี ศิริบุญรอด
เกิด31 มีนาคม พ.ศ. 2460
เสียชีวิต13 มีนาคม พ.ศ. 2511 (51 ปี)
อาชีพนักเขียน, ครู
แนวเรื่องสั้น, นิยายวิทยาศาสตร์
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2498–2511
คู่สมรสสอางค์[1]
บุตร10 คน[1]

ประวัติ

แก้

จันตรี ศิริบุญรอด เกิดที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2460 (สุชาติ สวัสดิ์ศรี ระบุว่าจันตรีเป็นคนจังหวัดสงขลา)[1] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 แผนกวิทยาศาสตร์ ทำงานครั้งแรกที่กรมเชื้อเพลิง หลังลาออกจากงานได้สมัครเป็นครูในโรงเรียนหลายแห่ง ช่วง พ.ศ. 2493–2496 จันตรีเริ่มเขียนนิยายและบทความทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในวงแคบ ๆ ขณะเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี จังหวัดลำปาง

ใน พ.ศ. 2498 จันตรีจัดทำนิตยสาร "วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์" ในนามของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยร่วมกับ ดร.ปรีชา อมาตยกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น โดยตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เช่น นิยายวิทยาศาสตร์ บทความวิทยาศาสตร์ ประวัตินักวิทยาศาสตร์ และจัดพิมพ์เรื่อยมาจนเลิกพิมพ์ใน พ.ศ. 2502

การหันมาทำหนังสือทำให้จันตรีจำเป็นต้องเลิกอาชีพครู และตั้งสำนักพิมพ์ของตนเพื่อจัดทำหนังสือและนิตยสาร "วิทยาศาสตร์-อัศจรรย์" จนเลิกไปใน พ.ศ. 2505 แต่ก็ยังคงเขียนหนังสือส่งไปพิมพ์ตามสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และออกหนังสือของตัวเองบ้างสลับกันไป จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคไตเมื่อ พ.ศ. 2511[2]

ผลงาน

แก้

ทายาทของจันตรี ประมาณว่าผลงานทั้งหมดของเขามีประมาณ 300 ชิ้น โดยแบ่งเป็นบทความ สารคดี และเรื่องสั้น อย่างละไม่ต่ำกว่า 100 ชิ้น[2] ตัวอย่างเช่น:

  1. โลกถล่ม
  2. ผู้ดับดวงอาทิตย์
  3. ผู้พบแผ่นดิน
  4. มนุษย์คู่
  5. วิทยาศาสตร์วิทยากล
  6. วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
  7. วิทยาศาสตร์อัศจรรย์
  8. จันทรมนุษย์
  9. ผู้สร้างอนาคต
  10. วิทยาศาสตร์บันทึก
  11. หุ่นล้างโลก
  12. ดาวเทียม
  13. สู่อวกาศ
  14. ภายใต้รังสีอินฟาเรด
  15. จานบิน! สิ่งที่มาจากโลกอื่น
  16. สงครามระหว่างโลก
  17. มนุษย์มหัศจรรย์
  18. ปัญหาวิทยาศาสตร์
  19. ชีวิตบนพื้นพิภพ
  20. ประวัติวิทยาศาสตร์ งานและชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์สำคัญ
  21. ภูมิศาสตร์บันทึก
  22. ประมวลความรอบรู้ฉบับนักเรียน
  23. ท่านทราบไหม?
  24. สิ่งที่ผิดธรรมชาติ
  25. สิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในโลก (ประมวลความรอบรู้ฉบับนักเรียน ฉบับที่ 2)
  26. นิทานอีสป
  27. นิทานนานาชาติ
  28. นิทานจากวรรณคดี
  29. 52 นิทานก่อนนอน
  30. ตำราเรียนภาษาอังกฤษด้วยนิทานนานาชาติ
  31. สัญญาณมรณะ (นวนิยายวิทยาศาสตร์-อาชญากรรมเรื่องยาว พ.ศ. 2501)
  32. มนุษย์ชาติ (หนังสือ​ 1 ใน 3 เล่ม​ : เรื่อง​ มนุษย์ชาติ ของ​ สนพ. บรรลือสาส์น พ.ศ.​ 2501)
  33. มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงโลกอย่างไร

เรื่องผู้ดับดวงอาทิตย์ และผู้พบแผ่นดิน เป็นผลงานที่ได้รับคัดเลือกโดยคณะวิจัยโครงการวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้เป็นหนึ่งใน 88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย[3]

รางวัลจันตรี ศิริบุญรอด

แก้

ใน พ.ศ. 2548 นานมีบุ๊คส์ ร่วมกับ ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นวจท.) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันจัดโครงการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ “รางวัลจันตรี ศิริบุญรอด” ขึ้นเป็นครั้งแรก[4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 พงศกร. "จันตรี ศิริบุญรอด". อ่านเอา [anowl.co].
  2. 2.0 2.1 2.2 "ย้อนระลึกบิดาไซ-ไฟไทยจากความทรงจำแฟนๆ "จันตรี ศิริบุญรอด"". MGR Online. 3 มีนาคม 2006.
  3. "รายชื่อ หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม". สยามบุ๊คดอทเน็ต. 28 พฤศจิกายน 2012.
  4. "นานมีบุ๊คส์ แถลงข่าว "การจัดประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ รางวัลครูจันตรี ศิริบุญรอด"". Positioningmag.com. 15 ธันวาคม 2004.

บรรณานุกรม

แก้
  • ผู้ดับดวงอาทิตย์ (2 ed.). กรุงเทพฯ: ช่างวรรณกรรม. 1990. ISBN 974-85617-1-2.
  • โลกถล่ม. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น. 2002. ISBN 974-230-825-X.
  • ผู้พบแผ่นดิน. นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2018. ISBN 978-616-437-043-2.
  • ไพรพิฆาต. นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2020. ISBN 978-616-437-104-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • บุญสม พลเมืองดี (1993). การศึกษาเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ของจันตรี ศิริบุญรอด (วิทยานิพนธ์ M.Ed.). ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.