จันดี
จันดี (อินโดนีเซีย: candi) หรือ จัณฑิ เป็นศัพท์กว้าง ๆ ที่แปลว่าศาสนสถานซึ่งอาจหมายถึงโบสถ์พราหมณ์ หรือพุทธศาสนสถานในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสร้างขึ้นในยุค ฮินดู-พุทธ แบบซามัน (Zaman Hindu-Buddha) กล่าวคือยุคที่มีการนับถือร่วมกันของทั้งสองศาสนาในราวศตวรรษที่ 4 ถึง 15[1]
ในพจนานุกรมใหญ่ภาษาอินโดนีเซียของศูนย์ภาษา (The Great Dictionary of the Indonesian Language of the Language Center) ได้ระบุ จันดี ว่าหมายถึงศาสนสถานสร้างด้วยศิลา หรือบ้างใช้ในการบรรจุอัฐิของนักบวชและกษัตริย์ผู้ล่วงลับ[2][3] อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วคำว่า จันดี ก็ใช้เรียกโครงสร้างโบราณอื่น ๆ ทางฆารวาศ เช่น ประตู ซากอารยธรรทจำพวกบ้านเรือน โรงอาบน้ำ เช่นกัน ส่วนจันดีสำหรับใช้เป็นสุสานจะมีชื่อเรียกเฉพาะไปอีกว่า จุงกุป (cungkup)[1]
นอกจากนี้คำว่า "จันดี" เป็นศัพท์เฉพาะทางสำหรับสถาปัตยกรรมบาหลีแบบฮินดู หมายถึงโครงสร้างศิลาหรืออิฐที่เป็นลักษณะศาลเจ้าห้องเดียว มีระเบียงทางเข้า บันไดทางเข้า หลังคาทรงพีระมิด อยู่ภายในโบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี[4]
ในมุมมองของพุทธศาสนาแบบอินโดนีเซียแบบร่วมสมัย จันดี อาจะหมายถึงศาลเจ้า ทั้งเก่าและใหม่ รวมไปถึงวิหารที่สร้างจำลองพุทธศาสนสถานโบราณที่มีชื่อเสียง เช่น บุโรพุทโธ หรือปาวน[5]
ในภาษาอินโดนีเซียปัจจุบัน คำว่า "จันดี" แปลว่า "วัด" หรือ "โบสถ์" สำหรับพุทธและฮินดู ทั้งในและนอกประเทศ ทั้งเก่าและที่สร้างขึ้นใหม่ คล้ายกับการใช้งานคำว่า "วัด" ในภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเขมร
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Soekmono (1995), p. 1
- ↑ "Candi". KBBI (ภาษาอินโดนีเซีย).
- ↑ Sedyawati (2013), p. 1
- ↑ Tomi Sujatmiko (9 June 2013). "Peninggalan Majapahit Yang Tersembunyi di Alas Purwo". Kedaulatan Rakyat (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-02-13.
- ↑ "Replika Candi Pawon". Vihāra Jakarta Dhammacakka Jaya.
บรรณานุกรม
แก้- Soekmono, R. (1995). Jan Fontein (บ.ก.). The Javanese Candi: Function and Meaning, Volume 17 from Studies in Asian Art and Archaeology, Vol 17. Leiden: E.J. BRILL. ISBN 9789004102156.
- Degroot, Véronique (2009). Candi, Space and Landscape: A Study on the Distribution, Orientation and Spatial Organization of Central Javanese Temple Remains. Leiden: Sidestone Press, Issue 38 of Mededelingen van het Rijksmuseum voor Volkenkunde. ISBN 9789088900396.
- Sedyawati, Edi; Santiko, Hariani; Djafar, Hasan; Maulana, Ratnaesih; Ramelan, Wiwin Djuwita Sudjana; Ashari, Chaidir (2013). Candi Indonesia: Seri Jawa (ภาษาอินโดนีเซีย และ อังกฤษ). Jakarta: Direktorat Jenderal Kebudayaan. ISBN 9786021766934.