จักรพรรดิฮันเซ (ญี่ปุ่น: 反正天皇โรมาจิHanzei-tennō) มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิฮันโชะ เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 18 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบบดั้งเดิม[7][8] ทั้งโคจิกิและนิฮงโชกิ (เรียกรวมกันเป็น คิกิ) บันทึกเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของฮันเซ แม้ว่าไม่สามารถระบุวันที่แน่นอนเกี่ยวกับพระชนมชีพหรือรัชสมัยของจักรพรรดิพระองค์นี้ได้ แต่โดยทั่วไปถือว่าพระองค์ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 406 ถึง 410[9] บรรดานักประวัติศาสตร์ระบุว่า แม้ไม่มีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นในรัชสมัยอันสั้นของฮันเซ แต่พระองค์มีพระสนมตามยศศักดิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่นำเข้าจากจีน

จักรพรรดิฮันเซ
反正天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 406 – 410 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าริจู
ถัดไปอิงเงียว
ประสูติค.ศ. 352[2][3]
สวรรคต410 (อายุ 59–60)[a]
ฝังพระศพโมซุ โนะ มิมิฮาระ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 百舌鳥耳原北陵โรมาจิMozu no Mimihara no Kita no misasagi; โอซากะ)
พระราชบุตร
  • เจ้าหญิงไค-ฮิเมะ
  • เจ้าหญิงทูบูระ-ฮิเมะ
  • เจ้าหญิงทาการะ-ฮิเมะ
  • เจ้าชายทากาเบะ
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิฮันเซ (反正天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
มิซูฮาวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (瑞歯別天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดินินโตกุ
พระราชมารดาอิวาโนะ-ฮิเมะ[6]
ศาสนาชินโต

ฮันเซสวรรคตในช่วง ค.ศ. 410 โดยไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาท ทำให้บรรดาเสนาบดีต้องแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ให้ข้อสรุปว่าตำแหน่ง "จักรพรรดิ" กับพระนาม "ฮันเซ" เป็นพระนามที่คนรุ่นหลังตั้งให้เพื่ออธิบายถึงพระองค์ และยังมีความเห็นพ้องกันทั่วไปเกี่ยวกับการมีตัวตนตามข้อเท็จจริงของฮันเซ[b]

เรื่องราวยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์

แก้

ในคิกิบันทึกไว้ว่าฮันเซเสด็จพระราชสมภพจากเจ้าหญิงอิวะ (ญี่ปุ่น: 磐之媛命โรมาจิIwa no hime no Mikoto) ในช่วง ค.ศ. 352 และได้รับพระราชทานนามว่า มิซูฮาวาเกะ (ญี่ปุ่น: 瑞歯別โรมาจิMizuhawake)[4][6] โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดินินโตกุ และพระอนุชาในจักรพรรดิริจู วลี มิซุ ฮะ ในพระนาม มิซูฮาวาเกะ แปลว่า พระทนต์งาม เนื่องจากกล่าวกันว่าพระองค์มี "พระทนต์ใหญ่พิเศษ" ที่สวยงาม "ดั่งกระดูกชิ้นเดียว" และมีขนาดเท่ากันหมด[4] ข้อมูลจากโคจิกิแห่งเดียวอ้างความสูงเต็มที่ของจักรพรรดิฮันเซที่ 9 ft 2.5 in (2.81 m)[5][9] หลังนินโตกุสวรรคตไม่นาน เจ้าชายซูมิโนเอะ โนะ นากัตสึ (ญี่ปุ่น: 住吉仲皇子) พระเชษฐา พยายามลอบปลงพระชนม์ เจ้าชายโอเอโนอิซาโฮวาเกะ (ญี่ปุ่น: 大兄去来穂別尊; ริจู) พระเชษฐาองค์โต มิซูฮาวาเกะสามารถติดสินบนบริวารคนหนึ่งของนากัตสึให้สังหารตัวนากัตสึเพื่อพิสูจน์ความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิในอนาคต

นิฮงโชกิรายงานว่า ริจูข้ามพระราชโอรสธิดาของตัวพระองค์เองเพื่อให้มิซูฮาวาเกะ พระอนุชาของพระองค์ เป็นมกุฎราชกุมารใน ค.ศ. 401[4][9] โดยให้เหตุผลว่าดอกทาจิฮิร่วงลงในบ่อที่ให้พระนามมิซูฮาวาเกะเป็นรัชทายาทองค์ถัดไป[4] มิซูฮาวาเกะประกาศตนเป็น "จักรพรรดิฮันเซ" หลังริจูสวรรคตใน ค.ศ. 405 และขึ้นครองราชบัลลังก์ในช่วงปีถัดมา[4] หลังขึ้นครองราชย์ไม่นาน ฮันเซให้สึโนะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 津野媛โรมาจิTsuno-hime) เป็น "พระสนมเอก" และ โอโตะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 弟媛โรมาจิOto-hime) พระกนิษฐภคินี เป็นพระมเหสี[4] จักรพรรดินีสองพระนางให้กำเนิดพระราชโอรสธิดารวม 4 พระองค์ แบ่งเป็นพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์[10] ในรัชสมัยจักรพรรดิฮันเซ พระองคฺปกครองจากพระราชวังชิบางากิ โนะ มิยะที่ทาจิฮิในแคว้นคาวาจิ (ปัจจุบันอยู่ที่มัตสึบาระ จังหวัดโอซากะ)[10] ในช่วง 5 ปีพบเจอแต่ความสงบ[4] จนกระทั่งจักรพรรดิฮันเซสวรรคตอย่างสงบในพระราชวังช่วง ค.ศ. 410 โดยไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาท (มกุฎราชกุมาร)[4] บรรดาเสนาบดีแก้ปัญหานี้ในภายหลังด้วยการเลือกอิงเงียว พระราชโอรสองค์เล็กสุดของจักรพรรดินินโตกุ ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป[9][11]

การประเมินทางประวัติศาสตร์

แก้
 
อนุสรณ์สถานศาลเจ้าชินโตและสุสานที่อุทิศแด่จักรพรรดิฮันเซ

นักประวัติศาสตร์จัดให้ฮันเซเป็นผู้ปกครองในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่โดยทั่วไปยอมรับถึงการมีตัวตนว่าเป็นข้อเท็จจริง[12] ฟรานซิส บริงก์ลีย์ นักวิชาการ จัดให้จักรพรรดิฮันเซอยู่ในกลุ่ม "กษัตริย์ในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์" แต่สังเกตว่ารัชสมัยอันสั้นของพระองค์ "ไม่มีความโดดเด่นในเรื่องใดเลย" ยกเว้นหลักฐานทางอ้อมที่แสดงว่าราชสำนักญี่ปุ่นเริ่มรับเอาธรรมเนียมจีนมาใช้[11]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

แก้

พระราชพงศาวลี

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. โคจิกิระบุว่าฮันเซทรงมีพระชนมชีพถึง 60 พรรษา[4][5]
  2. แม้ว่าฮันเซไม่ใช่บุคคลในตำนาน แต่แทบไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับชีวิตของพระองค์เลย

อ้างอิง

แก้
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ February 12, 2023.
  2. Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723.
  3. Joseph Henry Longford (1923). List of Emperors: II. The Dawn of History and The great Reformers. Japan. Houghton Mifflin. p. 304.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 William George Aston (1896). "Boox XII - The Emperor Midzuhawake: (Hanzei Tenno or Hansho tenno)". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 310–311.
  5. 5.0 5.1 Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXXXV — Emperor Han–zei". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
  6. 6.0 6.1 Ponsonby-Fane, Richard (1915). Table of Emperors Mothers. The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
  7. "反正天皇 (18)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ February 12, 2023.
  8. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. p. 25.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Ponsonby-Fane, Richard (1915). Hansho (406–410). The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 11.
  10. 10.0 10.1 Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). (19) Emperor Hansho. A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. p. 257. ISBN 9780520034600.
  11. 11.0 11.1 Francis Brinkley (1915). Chapter XII: The Protohistoric Sovereigns. A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopædia Britannica. p. 110.
  12. Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ January 24, 2023.
  13. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 9 January 2021.

อ่านเพิ่ม

แก้