จักรพรรดิโอจิง (ญี่ปุ่น: 応神天皇โรมาจิŌjin-tennō) เป็นจักรพรรดิในตำนานองค์ที่ 15 ของญี่ปุ่นตามแบบแผนสืบราชสันตติวงศ์[3][4]

จักรพรรดิโอจิง
応神天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 270–310 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าจิงงู (โดยพฤตินัย)[a]
ชูไอ (ตามธรรมเนียม)
ถัดไปนินโตกุ
พระราชสมภพค.ศ. 201[2]
อูมิ (ฟูกูโอกะ)
สวรรคต310 (อายุ 108–109)
คารูชิมะ โนะ โทโยกิระ (นาระ)
ฝังพระศพเอเองะ โนะ โมฟูชิ โนะ โอกะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 惠我藻伏崗陵โรมาจิEega no Mofushi no oka no misasagi; โอซากะ)
คู่อภิเษกนากัตสึฮิเมะ-โนะ-มิโกโตะ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดินินโตกุ
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิโอจิง (応神天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โฮมูตะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (誉田天皇)
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิชูไอ
พระราชมารดาจักรพรรดินีจิงงู
ศาสนาชินโต

ไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนให้กับพระราชประวัติหรือรัชสมัยของจักรพรรดิโอจิงได้ แต่นักประวัติศาสตร์ถือว่าพระองค์ครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ ค.ศ. 270 ถึง 310[5] ตามความเชื่อในศาสนาชินโตและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น จักรพรรดิโอจิงเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าฮาจิมัง

รายงานจากตำนาน

แก้

จักรพรรดิโอจิงประสูติเมื่อวันที่ 14 เดือน 12 ปีชูไอที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 201 (พ.ศ. 744) เป็นพระราชโอรสองค์เดียวใน จักรพรรดิชูไอ จักรพรรดิองค์ที่ 14 ที่ประสูติแต่ จักรพรรดินีจิงงุ

เมื่อจักรพรรดิชูไอผู้เป็นพระราชบิดาเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 201 (พ.ศ. 744) จักรพรรดินีจิงงุผู้เป็นพระราชมารดาจึงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเนื่องจากจักรพรรดิโอจิงยังไม่ประสูติ

จนกระทั่งจักรพรรดินีจิงงุสิ้นพระชนม์ในวันที่ 17 เดือน 4 ปีจิงงุที่ 69 ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 269 (พ.ศ. 812)

ข้อมูลที่มีอยู่

แก้
 
ศาลเจ้าอนุสรณ์และสุสานชินโตที่อุทิศแด่จักรพรรดิโอจิง

ในขณะที่นักประวัติศาสตร์โต้แย้งเรื่องการมีตัวตนทางประวัติศาสตร์ของจักรพรรดิโอจิง โดยมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าพระองค์ "น่าจะมีตัวตนจริง" แล้วยังมีข้อตกลงว่าระยะเวลาตั้งครรภ์ของโอจิง 3 ปีนั้นเป็นตำนานและมีความหมายเชิงสัญลักษณ์มากกว่าที่จะเป็นจริง วิลเลียม จอร์จ แอสตันเสนอแนะว่าการตั้งครรภ์สามารถตีความเป็นช่วงเวลาที่น้อยกว่า 9 เดือน ซึ่งมี 3 "ปี" (บางฤดูกาล) เช่น สามฤดูการเก็บเกี่ยว[6] ถ้าโอจิงเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง นักประวัติศาสตร์จึงได้เสนอว่าพระองค์ครองราชย์ช้ากว่าที่ระบุไว้[7][8][9] วันที่ครองราชย์ของพระองค์มีผู้เสนอว่าน่าจะเร็วสุดที่ ค.ศ. 370 ถึง 390 จนกระทั่งช้าสุดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5[7] อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นอย่างน้อยหนึ่งคนได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ โดยปรับแก้ข้อความสนับสนุนที่ระบุไว้ใน ค.ศ. 1972 หลุยส์ เปเรซ กล่าวในแบบใหม่ว่า: "มีเพียงกษัตริย์และจักรพรรดิหลังรัชสมัยโอจิงเท่านั้น... ...ที่มองว่าเป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์"[10][11] ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่เสนอแนะว่ามีการใช้ตำแหน่ง เท็นโน ในสมัยของโอจิง จึงมีความเป็นไปได้ว่าพระองค์อาจเป็นหัวหน้าชนเผ่าหรือผู้นำท้องถิ่น และการปกครองที่พระองค์ปกครองครอบคลุมเพียงส่วนเล็ก ๆ ของญี่ปุ่นสมัยใหม่ ชนรุ่นหลังน่าจะให้ตำแหน่งโอจิง-เท็นโน หลังพระองค์สวรรคต[12]

หมายเหตุ

แก้
  1. รัชสมัยของจิงงูในฐานะจักรพรรดินีในปัจจุบันถือเป็นตำนานมากกว่าข้อเท็จจริง นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จัดให้พระองค์เป็น "จักรพรรดินีนาถ" ผู้ครองราชย์โดยพฤตินัย จนกระทั่ง โฮมูตาวาเกะ (โอจิง) กลายเป็นจักรพรรดิ

อ้างอิง

แก้
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ December 30, 2019.
  2. Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  3. "応神天皇 (15)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 6, 2020.
  4. Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 19–22, 34–36.
  5. Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 36.
  6. Aston, William. (1998). Nihongi, Vol. 1, pp. 224–253.
  7. 7.0 7.1 Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  8. Jestice, Phyllis G. (2004). Holy People of the World: A Cross-cultural Encyclopedia, Volumes 1-3. ABC-CLIO. p. 653. ISBN 9781576073551.
  9. Wakabayashi, Tadashi (1995). Japanese loyalism reconstrued. University of Hawaii Press. p. 108. ISBN 9780824816674.
  10. Mikiso, Hane (1972). Japan; a Historical Survey. Scribner. p. 32. ISBN 9780684127071.
  11. Louis Perez (2018). Premodern Japan: A Historical Survey. Routledge. ISBN 9780429974441.
  12. Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 21. Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.

อ่านเพิ่ม

แก้