จักรพรรดิยูเรียกุ

จักรพรรดิยูเรียกุ (ญี่ปุ่น: 雄略天皇โรมาจิYūryaku-tennō; ค.ศ. 417/18 – 479) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 21 ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม[8][9] โคจิกิรายงานว่า จักรพรรดิครองราชย์ในวันที่ 13 เดือน 11 ค.ศ. 456 (เฮชิง) จนกระทั่งสวรรคตในวันที่ 7 เดือน 8 ค.ศ. 479 (คิบิ) พระองค์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์แรกที่สามารถยืนยันผ่านทางโบราณคดี

จักรพรรดิยูเรียกุ
雄略天皇
ภาพพิมพ์บล็อกไม้ปรากฏยูเรียกุทรงล่าหมูป่า ภาพโดยอาดาจิ กินโก, ค.ศ. 1896
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 456 – 479 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าอังโก
ถัดไปเซเน
พระราชสมภพค.ศ. 417–418[a]
สวรรคตค.ศ. 479 (61–62 พรรษา)[b]
วังฮัตสึเซะ โนะ อาซากูระ
ฝังพระศพทาจิฮิ โนะ ทากาวาชิ-โนะ-ฮาระ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 丹比高鷲原陵โรมาจิTajihi no Takawashi-no-hara no misasagi; ฮาบิกิโนะ โอซากะ)
คู่อภิเษกคูซากะ-โนะ-ฮาตาบิฮิเมะ[6]
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดิเซเน
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิยูเรียกุ (雄略天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โอฮัตสึเซะ วากาตาเกรุ โนะ มิโกโตะ (大泊瀬幼武尊天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิอิงเงียว[2]
พระราชมารดาโอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ[7]

เรื่องเล่ากึ่งก่อนประวัติศาสตร์

แก้

ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ปรากฏในโคจิกิและนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกรวมกันเป็น คิกิ (ญี่ปุ่น: 記紀โรมาจิKiki) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น โดยในคิกิระบุว่า ยูเรียกุเสด็จพระราชสมภพจาก โอชิกะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 忍坂大中姫) ในช่วง ค.ศ. 417 หรือ 418 และได้รับพระราชทานนามว่า โอฮัตสึเซะ โนะ วากาตาเกรุ (ญี่ปุ่น: 大泊瀬稚武皇子โรมาจิŌhatsuse no Wakatakeru)[c][7][3][10]

ขึ้นครองราชย์

แก้

โอฮัตสึเซะทรงพิโรธอย่างมากเมื่อรู้ว่าจักรพรรดิอังโก พระเชษฐา ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 456[10] พระองค์จึงสงสัยต่อพระเชษฐาสองพระองค์ทันทีว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด สิ่งแรกที่โอฮัตสึเซะทรงทำคือถามเจ้าชายเจ้าชายชิราฮิโกะถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ชิราฮิโกะรู้เป็นนัยว่ารู้ว่าโอฮัตสึเซะกำลังทำเรื่องไม่ดี ดังนั้นพระองค์าจึงประทับเงียบ[d] ซึ่งทำให้โอฮัตสึเซะตัดสินพระทัยปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ทีละคนด้วยดาบ[10] จากนั้น พระองค์นำความพิโรธไปใส่แก่มาโยวะ โนะ โอกิมิ (เจ้าชายมาโยวะ) เด็กหนุ่มมือสังหาร และคูโรฮิโกะ พระเชษฐาอีกพระองค์ด้วยการเผาจนสิ้นพระชนม์[10] ทำให้เหลือเพียงเจ้าชายอิจิโนเบะ โนะ โอชิวะ พระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิริจูในการแย่งชิงบัลลังก์

โอฮัตสึเซะรู้สึกไม่พอพระทัยที่อังโกต้องการยกอาณาจักรให้แก่อิจิโนเบะอย่างเป็นทางการ ทั้งนิฮงโชกิและโคจิกิบรรยายว่าโอฮัตสึเซะพาเจ้าชายอิจิโนเบะและเจ้าชายมิมะ พระอนุชาของพระองค์ ไปล่าสัตว์และสังหารทั้งสองอย่าง "อกตัญญู"[10][12] เหล่าพระราชโอรสของเจ้าชายอิจิโนเบะ (ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเค็นโซและจักรพรรดินิงเก็ง) หลบหนีไปซ่อนตัวที่แคว้นฮาริมะ หลังจากนั้นโอฮัตสึเซะ (ภายหลังรู้จักในฐานะ จักรพรรดิยูเรียกุ) ขึ้นครองราชย์ในช่วงพฤศจิกายน ค.ศ. 456[10] จักรพรรดิองค์ใหม่แต่งตั้งให้ อาซากูระ โนะ มิยะ ที่ซากูราอิเป็นที่ตั้งพระราชวัง[5][13] คูซากะ โนะ ฮาตาบิ โนะ ฮิเมะ พระมเหสีหม้ายของจักรพรรดิริจู ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดินีร่วมกับนางสนมสามพระองค์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 457[10]

รัชสมัย

แก้

คิกิบันทึกไว้ว่า รัชสมัยจักรพรรดิยูเรียกุเต็มไปด้วยความอยุติธรรมและความโหดร้าย องค์จักรพรรดิทรงสังหารชายและหญิงอย่างไม่เลือกหน้าจำนวนมากจนราษฎรกล่าวถึงพระองค์เป็น จักรพรรดิแห่งความชั่วร้ายอันใหญ่หลวง[14] อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่ายูเรียกุทรงปรับปรุงพฤติกรรมหลังจากได้รับคำตักเตือนจากจักรพรรดินี[15] ในด้านบวก ยูเรียกุทรงสนับสนุนศิลปะและหัตถกรรมเป็นอย่างมาก ทรงเริ่มประเพณีให้จักรพรรดินีเป็นผู้เพาะพันธุ์หนอนไหม และได้ทรงขอพระราชทานช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญมาจากแพ็กเจ (เกาหลี)[14] แม้ว่าจักรพรรดินีไม่ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสธิดา จักรพรรดิยูเรียกุทรงมีพระราชโอรส 3 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์จากนางสนม[6][10]

ในปีรัชสมัยที่ 22 (ค.ศ. 477) ยูเรียกุทรงย้ายวัดโทโยเกโอโฮกามิ (ปัจจุบัน: วัดไกกุ) จากทัมบะไปยังยามาดะในอิเซะ[6]

การประเมินทางประวัติศาสตร์

แก้

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

แก้

พระมเหสี/นางสนม

แก้
บรรดาศักดิ์ พระนาม พระราชบิดา พระราชโอรสธิดา[2]
จักรพรรดินี
(โคโง)
คูซากะ โนะ ฮาตาบิ โนะ ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 草香幡梭姫皇女โรมาจิKusaka no Hatabi no hime)[e] จักรพรรดินินโตกุ ไม่มี
พระมเหสี
(ฮิ)
คัตสึรางิ โนะ คาราฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 葛城韓媛โรมาจิKatsuragi no Karahime)[16] คัตสึรางิ โนะ สึบูระ โนะ โอมิ  • เจ้าชายชิรากะ (ญี่ปุ่น: 白髪皇子)
 • เจ้าหญิงทากุ-ฮาตะ โนะ อิรัตสึเมะ (ญี่ปุ่น: 栲幡姫皇女)
พระมเหสี
(ฮิ)
คิบิ โนะ วากาฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 吉備稚媛โรมาจิKibi no Wakahime; สิ้นพระชนม์ ค.ศ.479)[16] คิบิ โนะ คามิตสึมิจิ โนะ โอมิ[16]  • เจ้าชายอิวากิ (ญี่ปุ่น: 磐城皇子)
 • เจ้าชายโฮชิกาวะ โนะ วากายามะ (ญี่ปุ่น: 星川稚宮皇子)
พระมเหสี
(ฮิ)
วานิ โนะ โอมินางิมิ (ญี่ปุ่น: 和珥童女君โรมาจิWani no Ōminagimi)[16] คาซูงะ โนะ วานิ โนะ โอมิ ฟูกาเมะ  • เจ้าหญิงคาซูงะ โนะ โออิรัตสึเมะ (ญี่ปุ่น: 春日大娘皇女)

พระราชโอรสธิดา

แก้
บรรดาศักดิ์ พระนาม[2] ความเห็น
เจ้าชาย เจ้าชายชิรากะ ชิรากะภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป (เซเน)
เจ้าหญิง เจ้าหญิงทากุ-ฮาตะ โนะ อิรัตสึเมะ มีอีกพระนามว่า "วากะ-ทาราชิ-ฮิเมะ" พระนาง "เข้าร่วมพิธีบูชาเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งอิเซะ" (อามาเตราซุ)[16] ทากุก็เป็นเจ้าหญิงไซโอและสวรรคตในช่วง ค.ศ. 459
เจ้าชาย เจ้าชายอิวากิ อิวากิสวรรคตในช่วงระหว่าง ค.ศ. 479 ถึง 481
เจ้าชาย เจ้าชายโฮชิกาวะ โนะ วากายามะ วากายามะสวรรคตในช่วง ค.ศ. 479
เจ้าหญิง เจ้าหญิงคาซูงะ โนะ โออิรัตสึเมะ โออิรัตสึเมะภายหลังสมรสกับจักรพรรดินินเก็ง

หมายเหตุ

แก้
  1. ปีพระราชสมภพของยูเรียกุได้รับการระบุไว้ที่ ค.ศ. 417 หรือ 418[2][3][4]
  2. เดลเมอร์ บราวน์รายงานว่า นิฮงโชกิระบุว่ายูเรียกุทรงมีพระชนมพรรษาถึง 104 พรรษา[5] ต่างจากโคจิกิที่ระบุ "วัยสูงอายุ" ที่ 124 พรรษา Edmond Papinot ระบุพระชนมพรรษาของยูเรียกุที่ 62 พรรษา ซึ่งตรงกับปีพระราชสมภพ ค.ศ. "417" ที่ระบุในข้อมูลอื่น[6]
  3. พระนามนี้แปลตรงตัวเป็น "วากาตาเกะ (นักรบหนุ่ม) แห่งฮัตสึเซะใหญ่" โดยที่ "ฮัตสึเซะ" เป็นชื่อเก่าของซากูราอิ (จังหวัดนาระ)
  4. วิลเลียม จอร์จ แอสตันระบุว่าโคจิกิ “เล่าเหตุการณ์เหล่านี้ต่างกันมาก” พระเชษฐาทั้งสองได้แสดงจุดยืนปกป้องตัวเองอย่างเต็มที่[11]
  5. นิฮงโชกิระบุถึงพระนางเป็น "คูซากะ โนะ ฮาตาฮิ ฮิเมะ" และเล่าถึง "ทาจิ-บานะ-ฮิเมะ" เป็นอีกพระนามหนึ่ง[16]

อ้างอิง

แก้
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ March 27, 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ March 27, 2024.
  3. 3.0 3.1 Joseph Henry Longford (1923). "List of Emperors: II. The Dawn of History and The great Reformers". Japan. Houghton Mifflin. p. 304.
  4. Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723.
  5. 5.0 5.1 Brown, Delmer M. (1979). "(22) Emperor Yūryaku". A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. Gukanshō. p. 258. ISBN 978-0-520-03460-0.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Yuryaku (457–479)". The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. pp. 13–16.
  7. 7.0 7.1 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Table of Emperors Mothers". The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
  8. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 27–28.
  9. "雄略天皇 (21)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ March 27, 2024.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 William George Aston (1896). "The Emperor Oho-Hatsuse Wakatake". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 333–372.
  11. Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXLVL - Emperor Anko (Part III - Prince Oho Hatsuse Slays Princes Kuro-Biko and Shiro-Biro)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
  12. Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXLVIII - Emperor Anko (Part V - Prince Oho-Hatsuse Slays Prince Oshiha)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
  13. W. Koch (1904). Japan; Geschichte nach japanischen Quellen und ethnographische Skizzen (ภาษาเยอรมัน). W. Baensch. p. 13.
  14. 14.0 14.1 Francis Brinkley (1915). "Chapter XII: The Protohistoric Sovereigns". A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopædia Britannica. pp. 112–116.
  15. Tojima Sayaka, Yamada Shigehito (2024). "Congenital Anomalies in Ancient Japan as Deciphered in the Nihon shoki (Chronicles of Japan)" (PDF). National Institute of Japanese Literature. p. 34 & 40–41.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 William George Aston (1896). "The Emperor Oho-Hatsuse Wakatake". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. p. 337.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้