จักรพรรดิอังโก
จักรพรรดิอังโก (ญี่ปุ่น: 安康天皇; โรมาจิ: Ankō-tennō; ค.ศ. 401 – 456) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 20 ตามลำดับการสืบทอด[2][9] ครองสิริราชสมบัติระหว่าง 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 453 – 24 กันยายน ค.ศ. 456
จักรพรรดิอังโก 安康天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 453–456 (ตามธรรมเนียม)[1] | ||||
ก่อนหน้า | อิงเงียว | ||||
ถัดไป | ยูเรียกุ | ||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 400[a] อานาโฮะ (穴穂) | ||||
สวรรคต | ค.ศ. 456 (56 พรรษา)[2][4] | ||||
ฝังพระศพ | ซูงาวาระ โนะ ฟูชิมิ โนะ นิชิ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 菅原伏見西陵; โรมาจิ: Sugawara no Fushimi no nishi misasagi; นาระ) | ||||
คู่อภิเษก | นากาชิ[3] | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิอิงเงียว[6] | ||||
พระราชมารดา | โอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ[8] | ||||
ศาสนา | ชินโต |
เรื่องเล่ากึ่งก่อนประวัติศาสตร์
แก้ในโคจิกิและนิฮงโชกิ ที่เรียกรวมกันเป็น คิกิ (ญี่ปุ่น: 記紀; โรมาจิ: Kiki) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น ระบุว่า พระองค์เสด็จพระราชสมภพในอิงเงียวกับโอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 忍坂大中姫; โรมาจิ: Oshisaka no Ōnakatsuhime) เมื่อช่วง ค.ศ. 400 และได้รับพระนามว่า อานาโฮะ (ญี่ปุ่น: 穴穂; โรมาจิ: Anaho)[3][10]
สงครามระหว่างอานาโฮะกับคินาชิ
แก้หลังจักรพรรดิอิงเงียวสวรรคตใน ค.ศ. 453 มกุฎราชกุมารคินาชิ โนะ คารุเผชิญกับปัญหาอันหนักอึ้ง ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องกับเจ้าหญิงคารุ โนะ โออิรัตสึเมะทำให้สาธารณชนประณามพระองค์และบริวารไม่ยอมติดตามพระองค์[3][10] คารุจึงทำการสู้รบกับอานาโฮะ พระอนุชา เนื่องจากบริวารของคารุทำการจงรักภักดีต่อพระองค์แทน[10][11] เจ้าชายอานาโฮะจึงตอบโต้ด้วยกำลังของตนเองซึ่งทำให้คารุหลบหนีไปหลบภัยที่บ้านพักของตระกูลขุนนาง[10][11] ณ จุดนี้ เรื่องราวในคิกิจึงแยกจากกัน แต่มีผลลัพธ์เลวร้ายเดียวกัน โดยในนิฮงโชกิระบุว่า คินาชิ โนะ คารุ ยืนหยัดครั้งสุดท้ายในบ้านพัก ซึ่งพระองค์ทำการอัตวินิบาตกรรมเพื่อเกียรติยศ[10] แต่ไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเจ้าหญิงคารุ โนะ โออิรัตสึเมะ นอกจากว่าพระนางถูกจักรพรรดิอิงเงียวเทรเทศไปที่อิโยะฐานสมสู่ร่วมสายโลหิต ส่วนโคจิกิระบุว่า คินาชิ โนะ คารุยอมจำนนต่อพระอนุชาและถูกเนรเทศไปอิโยะ หลังจากนั้นคารุ โนะ โออิรัตสึเมะจึงเสด็จตามไปและทั้งสองทำการอัตวินิบาตกรรมด้วยกัน[3][12]
รัชสมัย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การประเมินทางประวัติศาสตร์
แก้นักประวัติศาสตร์ถือว่าอังโกเป็นผู้ปกครองในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งการมีตัวตนอยู่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นข้อเท็จจริง[13] ฟรานซิล บริงก์ลีย์ นักวิชาการ จัดให้จักรพรรดิอังโกเป็น "กษัตริย์กึ่งก่อนประวัติศาสตร์" ที่รัชสมัยของพระองค์เป็น "หน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง"[14] นักวิชาการคนอื่นระบุอังโกเข้ากับพระเจ้าโคใน ซ่งชู[15]
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ August 15, 2023.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 26–27.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Ankō (454–456)". The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. pp. 12–13.
- ↑ 4.0 4.1 Brown, Delmer M. (1979). "(21) Emperor Ankō". A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. Gukanshō. p. 258. ISBN 978-0-520-03460-0.
- ↑ Joseph Henry Longford (1923). "List of Emperors: II. The Dawn of History and The great Reformers". Japan. Houghton Mifflin. p. 304.
- ↑ 6.0 6.1 "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ August 15, 2023.
- ↑ Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Table of Emperors Mothers". The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
- ↑ "安康天皇 (20)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ August 15, 2023.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 William George Aston (1896). "The Emperor Anaho: Ankō Tenno". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 328–332.
- ↑ 11.0 11.1 Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXLII - Emperor Ingyō (Part VI - War Between Prince Karu and Prince Anaho)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
- ↑ Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXLIII - Emperor Ingyō (Part VII - Death of Prince Karu and Princess So-Tohoshi)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
- ↑ Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ November 14, 2023.
- ↑ Francis Brinkley (1915). "Chapter XII: The Protohistoric Sovereigns". A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopædia Britannica. pp. 111–112.
- ↑ 日本人名大辞典+Plus, 朝日日本歴史人物事典,デジタル版. "倭王興(わおうこう)とは? 意味や使い方". コトバンク (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-01-21.
อ่านเพิ่ม
แก้- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842