จตุรเทพ หรือ สี่ราชาสวรรค์ (อังกฤษ: Four Heavenly Kings) แห่งวงการเพลงจีนกวางตุ้ง หรือ สี่มหาเทวราช (จีน: 四大天王) เป็นฉายาที่ใช้เรียกกลุ่มศิลปินนักร้องชายชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคทศวรรษที่ 90s ประกอบด้วย จาง เสฺวโหย่ว (อังกฤษ: Jacky Cheung) หลิว เต๋อหัว (อังกฤษ: Andy Lau) กัว ฟู่เฉิง (อังกฤษ: Aaron Kwok) และ หลี่หมิง (อังกฤษ: Leon Lai)

จตุรเทพ
ที่เกิดฮ่องกง
แนวเพลง
ช่วงปี1992–ปัจจุบัน
สมาชิก

หนังสือพิมพ์โอเรียนทัล เดลีนิวส์ (Oriental Daily News) ตั้งฉายานี้ขึ้นในปี ค.ศ.1992 เพื่อยกย่องนักร้องชายฮ่องกง 4 คน ที่มียอดขายแผ่นเสียง ยอดจัดคอนเสิร์ต ยอดขอเพลงจากรายการวิทยุ (Entertainment / Artist - อุตสาหกรรมเพลงป็อปของเกาะฮ่องกง) สูงสุดในสมัยนั้น โดยฉายานี้ได้รับแนวคิดมาจากเทพผู้พิทักษ์ประตูสวรรค์ 4 ทิศ ในพุทธศาสนาเรียกนามว่า ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งถูกนำมาตั้งเป็นฉายาของนักร้องผู้โด่งดังทั้งสี่ในนาม จตุรเทพ

พวกเขาทั้งสี่คนได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในวงการเพลงจีนทั้งภาษากวางตุ้งและเพลงภาษาจีนกลาง และทรงอิทธิพลต่อวงการเพลงทั่วเอเชียในช่วงยุคทศวรรษที่ 1990 เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการเพลงโลกในนาม สี่ราชาแห่งวงการเพลงป็อปฮ่องกง (Four Kings of Hong Kong pop-music industry) และพวกเขาทั้งสี่ยังได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 10 นักร้องชายเพลงจีนภาษากวางตุ้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี (ทศวรรษที่ 70s 80s และ 90s) ของเกาะฮ่องกง

จากความสำเร็จของจตุรเทพของเกาะฮ่องกง ทำให้ทางเกาะไต้หวันนำความสำเร็จนี้ไปต่อยอดกับนักร้องวัยรุ่นป็อปไอดอลภาษาจีนกลาง 4 คน ที่โด่งดังมากในเกาะไต้หวัน ซึ่งประกอบไปด้วย หลิน จื้ออิ่ง ทะเกะชิ คะเนะชิโระ ซู โหย่วเผิง และอู๋ ฉีหลง

ประวัติ

แก้

ในวงการเพลงป็อปฮ่องกง (Canto-pop ; ภาษาจีน : 粵語流行音樂 : a contraction of "Cantonese pop music" or HK-pop ; Hong Kong pop music) ประชากรชาวฮ่องกงใช้ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาประจำถิ่น เริ่มต้นจากยุคทศวรรษที่ 20 (1920s to 1950s : Shanghai origins) ต่อเนื่องยาวนานมาถึงยุคทศวรรษที่ 60 (1960s : Cultural acceptance) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มประเทศแถบเอเชียแปซิฟิค มีประเทศที่เป็นตลาดใหญ่หลายประเทศ เช่น จีนแผ่นดินใหญ่, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เวียดนาม, มาเลเชีย, สิงคโปร์ และชาวจีนโพ้นทะเล ฯลฯ เป็นต้น

เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 70 เป็นยุคก่อกำเนิดเพลงจีนกวางตุ้งแนวเพลงสากล และเป็นยุคทองของเพลงจีนจากละครซีรีส์ (1970s : Beginning of the Golden Age : Rise of television and the modern industry) โดยเฉพาะเพลงประกอบละครซีรีส์จากค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี (TVB) ศิลปินนักร้องที่โด่งดังในยุคนี้ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น วัง หมิงเฉวียน (Liza Wang), Lydia Shum, Teresa Cheung, Felicia Wong วงการเพลงป็อปฮ่องกงให้ฉายานักร้องฝ่ายหญิงสี่คนนี้ว่า "สี่ดอกไม้งามแห่งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง" (The Four Golden Flowers), Paula Tsui, Sandra Lang, Jenny Tseng ฯลฯ นักร้องฝ่ายชาย เช่น หลอ เหวิน (Roman Tam) เจ้าของฉายา เจ้าพ่อแห่งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง (Grand Godfather of Cantopop), Joseph Koo, เจิ้ง เส้าชิว (Adam Cheng), แซม ฮุย (Samuel Hui) เจ้าของฉายา God of Song คนที่ 1 ของเกาะฮ่องกง, หลิน จื่อเสียง (George Lam) ฯลฯ ศิลปินกลุ่ม (Boy band, Girl group) เช่น วงสตริงวัยรุ่น The Wynners (เดอะ วินเนอร์) เป็นต้น

ยุคทศวรรษที่ 80 ถือเป็นยุคทองของวงการเพลงป็อปฮ่องกง (1980s : The Golden Age of Cantopop) เป็นยุคที่วงการเพลงป็อปฮ่องกง โด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงกว้างระดับเอเชีย มีศิลปินนักร้องโด่งดังไปทั่วเอเชียอย่างมาก อย่างเช่น วงสตริงวัยรุ่น The Wynners (เดอะ วินเนอร์), วง Beyond (บียอนด์) ฯลฯ นักร้องฝ่ายชาย เช่น อลัน ทัม (Alan Tam), เลสลี่ จาง (Leslie Cheung), เฉิน ไปเฉียง (Danny Chan) ฯลฯ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น เหมย เยี่ยนฟาง (Anita Mui) เจ้าของฉายา มาดอนน่าแห่งเอเชีย, Sally Yeh, Priscilla Chan, Sandy Lam ฯลฯ และมีศิลปินนักร้องที่โด่งดังข้ามยุคอีกหลายคน เช่น Paula Tsui, แซม ฮุย (Samuel Hui), หลิน จื่อเสียง(George Lam), Jenny Tseng เป็นต้น อลัน ทัม และ เลสลี่ จาง โดดเด่นที่สุดในยุคนี้ จึงเรียกขานกันว่า ยุคสองราชาเพลงจีน : Two kings of Canto - pop

การก่อตั้งกลุ่ม

แก้

เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 90 ศิลปินนักร้องชื่อดังจากยุค 80s ความนิยมจางหายจากวงการเพลงป็อปฮ่องกง มีศิลปินนักร้องคนใหม่เริ่มได้รับความนิยมขึ้นมาแทนศิลปินจากยุค 80s หลายต่อหลายคน นักร้องฝ่ายชาย เช่น หลิว เต๋อหัว (Andy Lau), จาง เซียะโหย่ว (Jacky Cheung) เจ้าของฉายา God of Song คนที่ 2 แห่งเกาะฮ่องกง, หลี่หมิง (Leon Lai), กัว ฟู่เฉิง (Aaron Kwok), โจว หวาเจี้ยน (Wakin Chau), หวัง เจี๋ย (Dave Wang), หลี เคอะฉิน (Hacken Lee), สวี่ จื้ออัน (Andy Hui) ฯลฯ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น โจว ฮุ่ยหมิ่น (Vivian Chow), Cass Phang, หวัง เฟย (Faye Wong) เจ้าของฉายา ราชินีเพลงจีนกวางตุ้ง ยุค 90s, เฉิน ฮุ่ยหลิน (Kelly Chen), เจิ้ง ซิ่วเหวิน (Sammi Cheng) เป็นต้น

ในปี ค.ศ.1990 หลิว เต๋อหัว (Andy Lau) นักแสดงยอดนิยมแห่งวงการภาพยนตร์ เริ่มประสบความสำเร็จในผลงานเพลงคว้ารางวัลนักร้องยอดนิยมประจำปี 1990 มาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1991 จาง เซียะโหย่ว (Jacky Cheung) นักร้องดาวรุ่งจากยุคทศวรรษที่ 80s ประสบความสำเร็จในผลงานเพลงเป็นอย่างมาก คว้ารางวัลเพลงสองรางวัลใหญ่มาครองเพียงคนเดียว ได้แก่ นักร้องยอดเยี่ยมแห่งปี 1991, รางวัลเพลงยอดนิยมประจำปี 1991 และในปีเดียวกันนี้ หลี่หมิง (Leon Lai) อดีตนักร้องประกวดจากยุคทศวรรษที่ 80s แต่โด่งดังในฐานะนักแสดงค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี (TVB) ออกอัลบั้มเพลงจีนภาษากวางตุ้ง "Its Love. Its Destiny" ฮิตถล่มทลายติดอันดับอัลบั้มขายดีประจำปี 1991 และคว้ารางวัลนักร้องยอดนิยม (เหรียญเงิน) ประจำปี 1991 และกัว ฟู่เฉิง (Aaron Kwok) อดีตแดนเซอร์ (นักเต้น) และนักแสดงค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี (TVB) ในยุคทศวรรษที่ 80s ออกซิงเกิลเพลง และอัลบั้มแนวป็อปแดนซ์ภาษาจีนกวางตุ้ง ประสบความสำเร็จโด่งดังมาก มีท่าเต้นที่โดดเด่นจนเป็นกระแสไปทั่วเกาะฮ่องกง ได้รับรางวัลเพลงแด๊นซ์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1991

ต่อมาหนังสือพิมพ์โอเรียนทัล เดลินิวส์ รายงานข่าววงการเพลงฮ่องกงประจำปี 1992 พบว่านักร้องฝ่ายชายทั้ง 4 คนดังกล่าวมียอดขายแผ่นเสียง, ยอดจัดคอนเสิร์ต, ยอดขอเพลงจากรายการวิทยุ (Entertainment / Artist) สูงที่สุด หรือ มีการตลาดของอุตสาหกรรมเพลงป็อป ของเกาะฮ่องกงสูงที่สุดในรอบหลายปี จึงตั้งฉายาให้พวกเขาว่า "สี่ราชาสวรรค์แห่งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง" หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Four Heavenly Kings of Canto - pop" เปรียบเปรยพวกเขาทั้ง 4 คน เป็นนักร้องมือถือไมค์ ไฟส่องหน้า อยู่บนเวทีคอนเสิร์ต ประดุจเทพเจ้าเจิดจรัสบนฟากฟ้า จึงนำมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม (Brand) "นักร้องจตุรเทพ" ที่โด่งดังและทรงอิทธิพลต่อวงการเพลงทั่วเอเชีย และเริ่มใช้เป็นแบรนด์นักร้องชายเพลงจีนของเกาะฮ่องกงออกสู่ตลาดเพลงเอเชีย และตลาดเพลงโลกตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จาง เสฺวโหย่ว (Jacky Cheung) และ หลิว เต๋อหัว (Andy Lau) เป็นนักร้องจากเอเชียที่ได้รับความนิยมติดอันดับ 1 ใน 25 Billboard (บิลบอร์ดชาร์ต) ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย วงการเพลงป๊อปฮ่องกง เรียกยุคทศวรรษที่ 90 นี้ว่า ยุค 4 ราชาเพลงจีน 1990s : Four Heavenly Kings era

ยุคปี 2000 มีศิลปินนักร้องหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย นักร้องฝ่ายชาย เช่น เซียะ ถิงฟง (Nicholas Tse), Stephy Tang, Kary Ng, Kenny Kwan, เฉิน อี้ซวิ่น (Eason Chan) เจ้าของฉายา God of Song คนที่ 3 แห่งเกาะฮ่องกง และ "King of Asian pop" ฯลฯ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น Renee Li, โคโค่ ลี (Coco Lee), หลง จู่เอ๋อ (Joey Yung) ฯลฯ ศิลปินกลุ่ม เช่น อาซา - อาเจียว สองสาววงทวินส์ (Twins) เป็นต้น ในปี 2004 มีการยกย่องศิลปินนักร้องฝ่ายชาย ในนาม "New Four Heavenly Kings" หรือ "จตุรเทพ รุ่นใหม่" ประกอบด้วย หลี เคอะฉิน (Hacken Lee), สวี่ จื้ออัน (Andy Hui), กู่ จี้จี้ (Leo Ku), เอ็ดมอนด์ เหลียง (Edmond Leung) วงการเพลงป๊อปฮ่องกง เรียกสั้น ๆ ว่า กลุ่ม "Big Four" หรือกลุ่ม "ชายสี่" เรียกยุคนี้ว่า วงการเพลงยุคใหม่ 2000s : New era

ยุคปี 2010 หลังจากเกาะฮ่องกงกลับคืนสู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 1997 เป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่โดยสมบูรณ์ในปี 2005 วงการเพลงป็อปฮ่องกงที่นิยมใช้ภาษาจีนกวางตุ้งซบเซาลงเป็นลำดับ เพลงจีนส่วนใหญ่หันมาใช้ภาษาจีนกลาง หรือ แมนดาริน (Mando-pop) ตามภาษาที่ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ และเรียกเพลงจีนโดยรวมว่า "Chinese pop music" (จีนตัวย่อ: 中文流行音乐 ; จีนตัวเต็ม : 中文流行音樂 ; พินอิน: zhōngwén liúxíng yīnyuè) หรือ ใช้คำย่อว่า C - pop

วงการเพลงป็อปฮ่องกง โด่งดังทั่วเอเชียและโดดเด่นในวงการเพลงโลกในยุคทศวรรษที่ 90 เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักร้องจตุรเทพ (Four Heavenly Kings of Canto-pop) ซึ่งเป็นกลุ่มนักร้องชายที่ขับร้องทั้งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง (Canto-pop) และเพลงภาษาจีนกลางหรือแมนดาริน (Mando-pop) จนพวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "กระบอกเสียงของคนจีน" (Chinese Speaking) แห่งทศวรรษที่ 90s เป็นที่รู้จักกว้างขวางในวงการเพลงโลกในนาม สี่ราชาแห่งวงการเพลงป็อปฮ่องกง (Four Kings of Hong Kong pop-music industry) และพวกเขายังได้รับยกย่องให้เป็น หนึ่งใน 10 นักร้องชายเพลงจีนภาษากวางตุ้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี ของเกาะฮ่องกง ร่วมกับ แซม ฮุย (Samuel Hui), หลอ เหวิน (Roman Tam), อลัน ทัม (Alan Tam), เลสลี่ จาง (Leslie Cheung), เฉิน อี้ซวิ่น (Eason Chan) และ หวัง กาคุย (Wong Ka Kui) นักร้องนำวง Beyond อีกด้วย

สมาชิก

แก้
 
จางเซียะโหย่ว ในปีพ.ศ. 2561
 
หลิวเต๋อหัว ในปีพ.ศ. 2554
 
กัวฟู่เฉิง ในปีพ.ศ. 2545
 
หลี่หมิง ในปีพ.ศ. 2564

อ้างอิง

แก้