จตุรภุชมนเทียร (โอรฉะ)
จตุรภุชมนเทียร (ฮินดี: चतुर्भुज मंदिर; Chaturbhuj Temple) เป็นมนเทียรบูชาพระวิษณุในโอรฉะ รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย คำว่า จตุรภุช แปลว่าผู้มีสี่ (จตุร-) แขน (ภุช) อันหมายถึงพระราม อวตารหนึ่งของพระวิษณุ[1] โครงสร้างของหมู่อาคารในมนเทียรประกอบด้วยมนเทียรซึ่งมีความสูงหลายชั้น ป้อมปราการ และวัง[2][3] ปัจจุบันภายในมนเทียรประดิษฐานเทวรูปองค์ประธานเป็นพระราธากฤษณะ[1] นอกจากนี้มนเทียรยังเป็นที่รู้จักจากวิมานที่ถือว่าสูงที่สุดแห่งหนึ่ง ด้วยความสูง 344 ฟุต
จตุรภุชมนเทียร | |
---|---|
จตุรภุชมนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เทพ | พระวิษณุ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | โอรฉะ |
รัฐ | รัฐมัธยประเทศ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 25°21′0″N 78°8′24″E / 25.35000°N 78.14000°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้สร้าง | พุนเทละแห่งรัฐโอรฉะ |
เสร็จสมบูรณ์ | ศตวรรษที่ 16 |
วัด | 1 |
มนเทียรสร้างขึ้นโดยราชปุตพุณเฑลแห่งรัฐโอรฉะ ในรัชสมัยจักรพรรดิโมกุล อักบัร[4] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นโดยมธุกร ชาห์[5] สร้างเสร็จโดยวีระ สิงห์ เทว ผู้เป็นบุตร[6] ในศตวรรษที่ 16[3] อุทิศให้แก่ภรรยา รานี คเณศกุวารี (Rani Ganeshkuwari)[1]
ภายนอกของมนเทียรประดับตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ดอกบัว ผสมผสานรูปแบบของมนเทียรกับป้อมปราการ โดยมนเทียรหันหน้าไปทางตะวันออก และตั้งอยู่บนระนาบเดียวกับรามราชมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ติดกัน อย่างไรก็ตาม ภายในของมนเทียรนี้ไม่ปรากฏการตกแต่งมากนัก[1] มีการเล่าสืบทอดกันมาว่าเมื่อแรกสร้างเสร็จ ยอดของหอคอยหุ้มไปด้วยทองคำแต่ต่อมาก็ค่อย ๆ จางหายไปตามกาลเวลา[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Mitra 2009, p. 43.
- ↑ Singh & Singh 1991, p. 57.
- ↑ 3.0 3.1 Asher 2003, p. 57.
- ↑ "Chutr-bhuj Temple at Orcha". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-21. สืบค้นเมื่อ 2021-11-12.
- ↑ "Quick Breaks: Orchha". Rediff.
- ↑ "Interior of the Chaturbhuj Temple from the entrance archway, Orchha". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-11-12.
บรรณานุกรม
แก้- Asher, Frederick M. (2003). Art of India: Prehistory to the Present. Encyclopædia Britannica. ISBN 978-0-85229-813-8.
- Mitra, Swati (2009). Orchha, Travel Guide. Goodearth Publications. ISBN 978-81-87780-91-5.
- Singh, Ajai Pal; Singh, Shiv Pal (1991). Monuments of Orchha. Agam Kala Prakasha.