งูหลามต้นไม้สีเขียว

งูหลามต้นไม้สีเขียว (อังกฤษ: Green tree python) เป็นงูไม่มีพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morelia viridis อยู่ในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae)

งูหลามต้นไม้สีเขียว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูเหลือม
สกุล: Morelia
(Schlegel, 1872)
สปีชีส์: Morelia viridis
ชื่อทวินาม
Morelia viridis
(Schlegel, 1872)
ชื่อพ้อง[2]
  • Python viridis
    Schlegel, 1872
  • Chondropython azureus
    Meyer, 1874
  • Chondropython pulcher
    Sauvage, 1878
  • Chondropython azureus
    W. Peters & Doria, 1878
  • Chondropython viridis
    Boulenger, 1893
  • Chondropython viridis
    Kinghorn, 1928
  • Chondropython viridis
    McDowell, 1975
  • Morelia viridis
    Underwood & Stimson, 1990
  • Chondropython viridis
    Cogger, 1992
  • M [orelia]. viridis
    Kluge, 1993

งูเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีสีของช่วงหลังเป็นสีเขียวสดใสหรือสีฟ้าเป็นแต้ม และช่วงท้องเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวตลอดแนวกระดูกสันหลัง ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองสดใสตลอดลำตัว แต่ในบางพื้นที่อาจจะมีช่วงหลังเป็นสีแดง, ส้มหรือเขียว ร่างกายมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมีส่วนหัวและลำตัวสั้น ตามีขนาดใหญ่โดยที่มีม่านตาอยู่ในแนวตั้ง และมีแอ่งจับคลื่นความร้อนบริเวณริมฝีปากเช่นเดียวกับงูในวงศ์เดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ โดยใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับคลื่นความร้อนจากสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพื่อจับเป็นอาหาร

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 150-200 เซนติเมตร เป็นงูที่สามารถพบได้ในหลายพื้นที่ของเกาะนิวกินีตลอดจนหลายเกาะของอินโดนีเซียจนถึงรัฐควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย สามารถพบได้ทั้งในป่าพรุ, ป่าดิบแล้ง ตลอดจนถึงพื้นที่ทำการเกษตร โดยสามารถพบได้จนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร

โดยมากจะหาอาหารในเวลากลางคืน ได้แก่ กิ้งก่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยจะหากินหลักบนต้นไม้ แต่บางครั้งก็จะลงพื้นดินมาหาอาหารได้ด้วย

จัดเป็นงูชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง[3]

อ้างอิง แก้

  1. Tallowin O, Parker F, O'Shea M, Hoskin C, Couper P, Amey A (2018). "Morelia viridis". The IUCN Red List of Threatened Species 2018: e.T177524A21649845. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T177524A21649845.en.
  2. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T (1999). Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume)
  3. Green Tree Python (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้