ค่ายกักกันบูเคินวัลท์

(เปลี่ยนทางจาก ค่ายกักกันบูเคนวัลด์)

ค่ายกักกันบูเคินวัลท์ (เยอรมัน: Konzentrationslager Buchenwald) เป็นค่ายกักกันเชลยศึกของนาซีเยอรมนี จัดตั้งที่เอทเทอร์สแบร์ก (ภูเขาเอตเทอร์) ใกล้กับเมืองไวมาร์ รัฐทือริงเงิน ประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2480 มีการใช้แรงงานนักโทษส่วนใหญ่เยี่ยงทาสตามโรงงานผลิตอาวุธต่าง ๆ หลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียง

ค่ายกักกันบูเคินวัลท์
ค่ายกักกันนาซี
นักโทษชาวโปแลนด์ที่มาใหม่กำลังถอดเสื้อผ้าก่อนที่จะไปอาบน้ำและโกนผม ป. 1940
ข้างล่าง: การเรียกรวมแถวที่ค่ายบูเคินวัลท์
ที่ตั้งไวมาร์, เยอรมนี
ดำเนินการโดยชุทซ์ชตัฟเฟิล
ผู้บังคับบัญชา
เปิดใช้งาน15 กรกฎาคม 2480 – 11 เมษายน 2488
จำนวนผู้ถูกกักกัน280,000 คน
เสียชีวิต56,545 ศพ
ปลดปล่อยโดยกองพันที่ 6, ปืนใหญ่สนามที่ 14 (สหรัฐอเมริกา), กองทัพบกสหรัฐ
เว็บwww.buchenwald.de/en/69/
นักโทษทาสแรงงานในค่ายกักกันบูเคินวัลท์ (อีลี วีเซล นักประพันธ์รางวัลโนเบลอเมริกันเชื้อสายยิวอยู่ในแถวที่ 2 คนที่ 7 จากซ้าย)

ระหว่างปี พ.ศ. 2488-2493 ค่ายกักกันนี้ถูกใช้โดยชาวโซเวียตที่เป็นฝ่ายยึดครองส่วนหนึ่งของเยอรมนี

ประวัติ แก้

 
ร่างของนักโทษที่เสียชีวิตในค่ายกักกันบูเคินวัลท์ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2488

คำว่าบูเคินวัลท์ในภาษาเยอรมันแปลว่า "ป่าต้นบีช" ที่ใช้ชื่อนี้เนื่องจากทางการนาซีเกรงว่าการตั้งชื่อตามสถานที่ คือ เอทเทอร์สแบร์กนั้น มีความเกี่ยวพันกับเกอเทอ ผู้ได้รับการนับถือยกย่องของชาวเยอรมันทั้งปวง รวมทั้งยังไม่กล้าเรียกชื่อตามเมืองใกล้ ๆ คือเมืองฮอคเทลสเตดท์เนื่องจากอาจทำให้เกียรติภูมิของหน่วยทหารเอ็สเอ็สที่ตั้งอยู่เสื่อมเสียลง

ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2480 และเดือนเมษายน พ.ศ. 2488 มีจำนวนผู้ถูกกักกันในค่ายนี้ประมาณ 250,000 คนโดยระบอบนาซี รวมทั้งเชลยศึกชาวอเมริกัน อังกฤษ และแคนาดา จำนวน 168 คน จำนวนคนที่ตายในค่ายนี้มีจำนวนประมาณ 56,600 คน

 
สมาชิกวุฒิสภาอเมริกันคนหนึ่งที่เป็นกรรมาธิการอาชญากรรมนาซีกำลังตรวจเยี่ยมค่าย

นักโทษจำนวนมากตายจากการเป็น "มนุษย์ทดลอง" (แทนหนูทดลอง) และจากฝีมือยามของทหารเอ็สเอ็ส ณ ช่วงเวลาหนึ่งมีการยอมให้ส่งเถ้ากระดูกของเชลยที่ตายใส่กล่องส่งให้ญาติทางไปรษณีย์โดยที่ญาติผู้ตายต้องเป็นฝ่ายออกค่าแสตมป์ แต่ในระยะหลังยกเลิกเนื่องจากมีการตายมากขึ้น

แม้ว่าไม่อาจนับค่ายนี้ทางเทคนิคได้ว่าเป็นค่ายกำจัดเชลยมนุษย์ได้เต็มปากนั้นเนื่องมาจากการประหารชีวิตเชลยศึกชาวโซเวียตที่นาซีจับได้แบบไม่มีการไต่สวนได้เกิดขึ้นที่นี่ อย่างน้อยเชลยศึกชาวโซเวียตประมาณ 1,000 คน ที่เลือกมาโดยหน่วยเฉพาะกิจสืบราชการลับของเกสตาโปที่เมืองเดรสเดิน ระหว่าง พ.ศ. 2484-2485 และส่งมาที่ค่ายนี้ถูกสังหารโดยการถูกจ่อยิงที่ศีรษะทันทีที่เดินทางมาถึง

ค่ายกักกันบูเคินวัลท์ถูกใช้เป็นที่ทดลองวัคซีนขนาดใหญ่สำหรับป้องกันโรคระบาดไทฟอยด์ในปี พ.ศ. 2485-2486 มีการใช้นักโทษทดลองไป 725 คน ในจำนวนนี้ตายไป 280 คนเนื่องความอ่อนแอจากการอยู่อย่างแออัดในค่ายบล็อก 46 ทำให้เชื้อแบคทีเรียระบาดได้นาน ทำให้คนตายและบาดเจ็บมากว่าปกติจากคนทั่วไปที่มีสุขภาพสมบูรณ์

ผู้บัญชาค่ายคนแรกคือคาร์ล ออทโท คอค ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการค่ายระหว่าง พ.ศ. 2480-2484 ภรรยาคนที่สองชื่ออิลเซอ คอค ได้สร้างพฤติกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น "แม่มดแห่งบูเคินวัลท์" เนื่องจากพฤติกรรมที่ชอบกระทำการทารุณโหดร้ายกับนักโทษ เธอเคยใช้นักโทษสร้างสวนสัตว์ในค่ายไว้ให้ลูก ๆ ดู ออทโทถูกทางการนาซีจับลงโทษฐานคอร์รัปชันและเอาเปรียบนักโทษคนงานและค้าตลาดมืดและถูกตัดสินประหารชีวิตที่ค่ายนี้เมื่อ พ.ศ. 2488 ส่วนภรรยาถูกตัดสินจำคุก 4 ปี และได้ลดโทษเหลือ 2 ปีหลังสงคราม แต่ต่อมาเมื่อพบความผิดเพิ่ม รัฐบาลเยอรมันหลังสงครามดำเนินคดีใหม่ คราวนี้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ต่อมาเธอได้ฆ่าตัวตายในคุกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2510

นอกจากนี้ค่ายกักกันบูเคินวัลท์แห่งนี้ยังถูกใช้สำหรับขังนักศึกษาชาวนอร์เวย์จำนวนหลายคน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2486 จนสิ้นสงคราม พวกนาซีปฏิบัติต่อนักศึกษาเหล่านี้ดีกว่านักโทษอื่น ๆ โดยได้อยู่ในอาคารที่มีเครื่องทำความอบอุ่นและมีเสื้อผ้าเป็นของตนเองได้โดยหวังจะใช้เป็นตัวแลกเปลี่ยนเชลยกับฝ่ายสัมพันธมิตร

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487 มีระเบิดลูกหลงจากการทิ้งระเบิดโรงงานผลิตอาวุธหลายแห่งข้างเคียงของเครื่องบินอเมริกันตกมาถูกค่ายทำให้มีนักโทษเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2487 มีตำรวจเดนมาร์กจำนวน 1,900 นายที่ถูกจับและเนรเทศจากประเทศของตนเองไปเยอรมนีก็ถูกนำมากักขังไว้ที่นี่เมื่อวันที่ 19 กันยายน จากการเจรจาของรัฐบาลเดนมาร์กกับฝ่ายนาซีผู้ยึดครอง ทำให้ตำรวจนักโทษเหล่านี้รับกล่องเสบียงจากสภากาชาดเดนมาร์กได้และได้รับฐานะเป็นเชลยสงคราม นักโทษเดนมาร์กเหล่านี้ถูกย้ายไปกักในค่ายอื่นที่มีสภาพดีกว่าสำหรับเชลยศึก แต่ระหว่างถูกกักขังที่ค่ายกักกันบูเคินวัลท์นี้ นักศึกษาได้ตายไป 62 คน

ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2488 นาซีเยอรมันได้อพยพนักโทษและข้าวของออกไปบางส่วน เนื่องการการรุกคืบหน้าของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งในโอกาสนี้เองที่พวกนักโทษคอมมิวนิสต์โซเวียตได้ลุกฮือฆ่าผู้คุมที่เหลือและยึดค่ายกักกันบูเคินวัลท์แห่งนี้ไว้ได้ และสองวันต่อมากองทัพอเมริกันได้เข้ามาควบคุมค่ายเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2488 หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรถอนตัว กองทัพโซเวียตได้เข้ามาใช้ค่ายนี้ต่อตั้งแต่ พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2493

อ้างอิง แก้

  • Bruno Apitz: Nackt unter Wölfen (“การเปลือยกายท่ามกลางฝูงหมาป่า”) บันเทิงคดีอิงเหตุการณ์จริงในวันสุดท้ายของค่ายกักกันบูเคินวัลท์ก่อนการปลดปล่อยของกองทัพอเมริกัน มีทั้งการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและในภาพยนตร์ ที่เป็นหนังสือมีชื่อว่า: Aufbau Taschenbuchverlag, พ.ศ. 2541, ISBN 3-7466-1420-1. แปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ปัจจุบันขาดตลาด
  • Bartel, Walter: Buchenwald—Mahnung und Verpflichtung: Dokumente und Berichte (บูเคินวัลท์: การเตือนและความผูกพันที่มีต่อลูกหลานในอนาคต - เอกสารบันทึกและรายงาน Kongress-Verlag, พ.ศ. 2503 -ภาษาเยอรมัน)
  • von Flocken, Jan and Klonovsky, Michael: เบียร์สดของสตาลินในเยอรมนี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2492 Dokumentation, Zeugenberichte, Berlin: Ullstein, พ.ศ. 2534. ISBN 3-550-07488-3
  • James, Brian: “ความฝันที่ไม่ตาย”, บันทึกตามประสบการณ์ของจอห์น โนเบิล ในค่ายกักกันภายใต้การปกครองและระบบค่ายของโซเวียต ในช่วงปี 1950s, ในวารสาร ยู แมกกาซีน รายสัปดาห์ ประดำเดือนสิงหาคม 1992. ตัวบทความรวมถึงการอ้างที่ได้จากชาวตะวันตก 3,000 คนที่ตกเป็นนักโทษของโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2497
  • Knigge, Volkhard und Ritscher, Bodo: Totenbuch. Speziallager Buchenwald 1945-1950, Weimar: Stiftung Gedenkstätten Buchenwald und Mittelbau Dora, 2003 -ภาษาเยอรมัน
  • Kogon, Eugen: ทฤษฎีและภาคปฏิบัติว่าด้วยนรก: ค่ายกักกันเยอรมันและเบื้องหลังของระบบ นิวยอร์ก ฟาร์ราร์ สเตราส์ พ.ศ. 2493. ตีพิมพ์ซ้ำ พ.ศ. 2549
  • Noble, John H.: เมื่อข้าพเจ้าเป็นทาษในรัสเซีย: การบอกเล่าของชาวอเมริกันคนหนึ่ง เดวิน-อแดร์ มิถุนายน 2501, ISBN 0815958005, ISBN 978-0815958000
  • Ritscher, Bodo: Das sowjetische Speziallager Nr. 2 1945-1950. Katalog zur ständigen historischen Ausstellung, Göttingen: Wallstein, 1999 -ภาษาเยอรมัน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้