คูเกี๋ยน[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ชิว เจี้ยน (จีน: 丘建; พินอิน: Qiū Jiàn) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นคนสนิทของจงโฮยขุนพลวุยก๊ก

คูเกี๋ยน (ชิว เจี้ยน)
丘建
ผู้ช่วยใต้กระโจม (帐下督 จ้างเซี่ยตู)
(ภายใต้จงโฮย)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 (263) – ค.ศ. 264 (264)
กษัตริย์โจฮวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนพล

ประวัติ

แก้

ในปี ค.ศ. 263 ในการรบที่วุยก๊กพิชิตรัฐจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริ คูเกี๋ยนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยใต้กระโจม (帐下督 จ้างเซี่ยตู) ของจงโฮย และร่วมติดตามจงโฮยในการศึก เดิมคูเกี๋ยนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนพลเฮาเหลก เฮาเหลกแนะนำคูเกี๋ยนให้กับสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก จงโฮยละนับถือคูเกี๋ยนอย่างสูงจึงขอสุมาเจียวให้คูเกี๋ยนมาติดตามตน[2]

ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 264 จงโฮยตัดสินใจที่จะก่อกบฏในเซงโต๋ (成都 เฉิงตู) อดีตนครหลวงของจ๊กก๊ก จงโฮยสั่งให้ผู้ช่วยคนสนิทเข้าบัญชาการหน่วยทหารต่าง ๆ แล้วจึงสั่งให้กักบริเวณข้าราชการทั้งหมดในสำนักต่าง ๆ และปิดประตูแต่ละสำนัก รวมถึงสั่งให้ปิดประตูเมืองและวางกำลังเวรยามอย่างแน่นหนา เฮาเหลกอดีตผู้บังคับบัญชาของคูเกี๋ยนเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกักบริเวณ คูเกี๋ยนเห็นใจเฮาเหลกที่ถูกกักบริเวณเพียงลำพังในห้อง จึงไปหาจงโฮยและกล่าวว่าข้าราชการที่ถูกกักบริเวณแต่ละคนควรมีทหารรับใช้ไว้ดูแลอำนวยความสะดวก จงโฮยเห็นด้วย[3]

เฮาเหลกใช้โอกาสนี้ลวงทหารรับใช้ที่มาดูแลตนให้นำจดหมายไปส่งถึงเฮาเกียนบุตรชาย ในจดหมายมีความว่า "คูเกี๋ยนลอบแจ้งข่าวว่าจงโฮยให้สร้างหลุมขนาดใหญ่พร้อมด้วยกระบองขาวหลายพันท่อน คิดจะเรียกกำลังทหารภายนอกทั้งหมดเข้ามา จะให้หมวกสีขาวแก่ทหารแต่ละนาย ตั้งให้เป็นขุนพลกระจัดกระจาย (散將 ซ่านเจี้ยง) จากนั้นจะให้ถูกทุบจนตายในหลุม"[4] ข่าวลือนี้ได้รั่วไหลและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว นำไปสู่เหตุการณ์ที่กำลังทหารภายนอกเมืองยกบุกเข้าเซงโต๋ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 เป็นผลทำให้จงโฮย, เกียงอุย, เตียวเอ๊กและคนอื่น ๆ ถูกสังหาร

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ("ขณะนั้นคูเกี๋ยนซึ่งเปนทหารของเฮาเหลกนั้นมาอยู่ด้วยจงโฮย ๆ ใช้สอยเปนคนสนิธ ได้ยินดังนั้นจึงเอาเนื้อความไปบอกแก่เฮาเหลกทุกประการ เฮาเหลกก็ร้องไห้จึงว่า ตัวข้ามิได้รู้ว่าจงโฮยคิดการขบถถึงเพียงนี้เลย สงสารแต่เฮาเกียนบุตรของเราอยู่ภายนอกมิได้รู้เหตุผลประการใด แม้ท่านคิดถึงคุณแต่หนหลังจงช่วยบอกแก่บุตรเราด้วยเถิด ถึงมาทว่าตัวเราจะตายก็ตามบุญ คูเกี๋ยนจึงว่าท่านอย่าปรารมภ์เลย ข้าพเจ้าจะคิดกำจัดศัตรูเสียให้ได้ แล้วคูเกี๋ยนก็กลับมาจึงว่าแก่จงโฮยว่า ซึ่งท่านให้เอาขุนนางทั้งปวงมาขังไว้ในวังนี้ผู้ใดจะส่งเข้าปลาอาหารก็หาไม่ ข้าพเจ้าเห็นจะอดเข้าตายเสียสิ้น ขอให้ท่านแต่งผู้ใดผู้หนึ่งไปกำกับอยู่ด้วย รับเข้าปลาอาหารให้แก่ขุนนางทั้งปวงจึงจะชอบ จงโฮยก็เห็นชอบด้วย จึงว่าถ้าดังนั้นท่านจงไปอยู่ตรวจตรากำกับขุนนางทั้งปวงเถิด คูเกี๋ยนได้ท่วงทีดังนั้นก็คำนับแล้วมาอยู่กำกับขุนนางทั้งปวงตามจงโฮยสั่ง ฝ่ายเฮาเหลกจึงตัดนิ้วมือสูบเอาโลหิตเขียนเปนหนังสือลับซ่อนให้แก่คูเกี๋ยน ๆ ก็ใช้ให้คนสนิธถือหนังสือออกไปแจ้งแก่เฮาเกียน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
  2. (會帳下督丘建本屬胡烈,烈薦之文王,會請以自隨,任愛之。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  3. (建愍烈獨坐,啟會,使聽內一親兵出取飲食,諸牙門隨例各內一人。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  4. (烈紿語親兵及疏與其子曰:「丘建密說消息,會已作大坑,白棓數千,欲悉呼外兵入,人賜白㡊,拜為散將,以次棓殺坑中。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.

บรรณานุกรม

แก้