คูลอมบ์
คูลอมบ์ (อังกฤษ: coulomb ย่อ: C)[ม 1] เป็นหน่วยวัดประจุไฟฟ้าในระบบหน่วยระหว่างประเทศ ตั้งชื่อตามชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง[ม 2] นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส[2] สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศให้คำนิยามไว้ว่า หนึ่งคูลอมบ์ คือ ปริมาณประจุไฟฟ้าที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าหนึ่งแอมแปร์คูณด้วยเวลาหนึ่งวินาที[3]
คูลอมบ์ | |
---|---|
ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ระบบการวัด | ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ |
เป็นหน่วยของ | ประจุไฟฟ้า |
สัญลักษณ์ | C |
ตั้งชื่อตาม | ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง |
การแปลงหน่วย | |
1 C ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยฐานเอสไอ | A⋅s |
มาตราซีจีเอส | 2997924580 statC |
หน่วยอะตอม | 6.241509074e×10 18[1] |
นอกจากนี้ หนึ่งคูลอมบ์ยังหมายถึงประจุไฟฟ้าที่สะสมในตัวเก็บประจุซึ่งมีความจุ 1 ฟารัด และวางต่อคร่อมความต่างศักย์ 1 โวลต์
ปริมาณประจุไฟฟ้า 1 C มีค่าเท่ากับจำนวนโปรตอน 6.242×1018 ตัว หรือ 1.036×10−5 mol ส่วน −1 C มีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน 6.242×1018 ตัว
นิยาม
แก้ระบบหน่วยระหว่างประเทศให้นิยามของหน่วยคูลอมบ์ไว้ว่าเป็นจำนวนประจุสะสมเนื่องจากกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ใน 1 วินาที หรือ 1 C = 1 A × 1 s.[4] โดยที่ 1 วินาที มีความสัมพันธ์กับความถี่ของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากอะตอมซีเซียม[5] และกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ นิยามตามแรงระหว่างแท่งลวดที่มีกระแสไหลผ่าน ตามกฎแรงของแอมแปร์ (Ampère's force law)[6]
การแปลงหน่วยและข้อควรรู้
แก้- หนึ่งคูลอมบ์เป็นขนาดของประจุไฟฟ้า คิดเป็นจำนวนโปรตอนหรืออิเล็กตรอนอย่างหนึ่งอย่างใด 6.24150934(14)×10 18 ตัว อนึ่งค่า 6.24150934(14)×10 18 คือส่วนกลับของประจุมูลฐานหรือประจุต่อโปรตอน/อิเล็กตรอนหนึ่งตัว ซึ่งมีค่า 1.602176565(35)×10 −19
- ปริมาณประจุไฟฟ้าต่อสสารหนึ่งโมล (ซึ่งมีปริมาณอนุภาคเท่ากับ 6.022×1023 ตัว หรือเท่ากับเลขอาโวกาโดร) คือค่าคงตัวของฟาราเดย์ มีค่าเท่ากับ 96485.3399 คูลอมบ์เทียบเท่ากับอนุภาค 1.036 × NA×10−5 ตัว โดย NA เป็นเลขอาโวกาโดร
- หนึ่งแอมแปร์-ชั่วโมง เท่ากับ 3600 C ∴ 1 mA⋅h = 3.6 C.
- หนึ่งสแตตคูลอมบ์ (statC) ซึ่งเป็นหน่วยประจุไฟฟ้าในระบบซีจีเอส มีค่าเท่ากับ 3.3356×10−10 C หรือประมาณหนึ่งในสามของนาโนคูลอมบ์
- ไฟฟ้าสถิตจากการถูวัตถุด้วยกันมีค่าเพียงระดับไมโครคูลอมบ์[7]
- ปริมาณประจุไฟฟ้าอันเนื่องมาจากสายฟ้ามีค่าประมาณ 15 C บางทีอาจสูงได้ถึง 350 C [8]
- ปริมาณประจุไฟฟ้าที่จ่ายจากแบตเตอรี่แอลคาไลน์ขนาด AA มีค่าประมาณ 5 kC = 5000 C ≈ 1400 mA⋅h[9]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ในวงการวิทยาศาสตร์ (และสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา) นิยมใช้ คูลอมบ์ แบบภาษาอังกฤษ ไม่นิยมอ่าน กูลง แบบภาษาฝรั่งเศส โปรดดู พจนานุกรมศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศฉบับราชบัณฑิตยสภา เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คลังคำศัพท์ไทย ของ สวทช.[ลิงก์เสีย] และเอกสารวิชาการอื่นประกอบ
- ↑ หลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสของราชบัณฑิตยสภา โดยสำนักศิลปศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2554 และ 2535 ถอดรูปตรงกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ 6.241509126(38)×1018 is the reciprocal of the 2014 CODATA recommended value 1.6021766208(98)×10−19 for the elementary charge in coulomb.
- ↑ "SI Brochure, Appendix 1," (PDF). BIPM. p. 144.
- ↑ BIPM. "A concise summary of the International System of Units" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "SI brochure, section 2.2.2". BIPM.
- ↑ "SI brochure, section 2.2.1.3". BIPM.
- ↑ "SI brochure, section 2.2.1.4". BIPM.
- ↑ Martin Karl W. Pohl. "Physics: Principles with Applications" (PDF). DESY. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2018-04-06.
- ↑ Hasbrouck, Richard. Mitigating Lightning Hazards, Science & Technology Review May 1996. Retrieved on 2009-04-26.
- ↑ How to do everything with digital photography – David Huss, p. 23, ที่กูเกิล หนังสือ, "The capacity range of an AA battery is typically from 1100–2200 mAh."