คุรุซิกข์
ศาสดาทั้ง 10 ท่านของศาสนาซิกข์
(เปลี่ยนทางจาก คุรุในศาสนาซิกข์)
คุรุซิกข์ (ปัญจาบ: ਸਿੱਖ ਗੁਰੂ; สันสกฤต: सिक्खगुरवः) คือศาสดาทั้ง 10 องค์ของศาสนาซิกข์ โดยเริ่มเผยแผ่ศาสนาในปี 1469 [1] โดยคุรุนานักผู้เป็นคุรุศาสดาท่านแรก ในคัมภีร์คุรุครันถสาหิพและในบทสวดบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า "นานัก" ซึ่งแปลว่า "แสงสว่าง" ในบทสวดยังมีการเปล่งนาม "นานัก" ในชื่อคุรุศาสดาท่านอื่น ๆ อีกด้วย
คุรุศาสดาประกอบด้วยคุรุมนุษย์ 10 ท่านและคุรุองค์ที่เป็น "อกาล" หรือเป็นนิรันดร์คือคุรุครันถสาหิพ หรือคือคัมภีร์ของศาสนาซิกข์ซึ่งแต่งตั้งโดยคุรุมนุษย์ท่านสุดท้ายคือคุรุโควินทสิงห์
รายชื่อ
แก้- คุรุนานัก (Guru Nanak)
- คุรุอังคัต (Guru Angat) หรือ คุรุอังกัต, คุรุอังคัท, คุรุอังขัต, คุรุอังฆัต
- คุรุอมรทาส (Guru Amar Das) หรือ คุรุอามัร ดาส
- คุรุรามทาส (Guru Ram Das) หรือ คุรุรามดาส
- คุรุอรชุน (Guru Arjan) หรือ คุรุอรยัน, คุรุอาร์จัน
- คุรุหรโคพินท์ (Guru Har Gobind) หรือ คุรุฮัรโควินท์
- คุรุหรราย (Guru Har Rai) หรือ คุรุฮัรราย, คุรุหาร์ไร
- คุรุหรกิศัน (Guru Har Krishan) หรือ คุรุฮัรกฤษณ
- คุรุเตฆ์บะฮาดุร (Guru Tegh Bahadur) หรือ คุรุเตค บฮาดัร
- คุรุโควินทสิงห์ (Guru Gobind Singh) หรือ คุรุโควินท์สิงห์
- คุรุครันถสาหิพ (Guru Granth Sahib) หรือ คุรุครันถ์ซาฮิบ
อ้างอิง
แก้- ↑ Sen, Sailendra (2013). A Textbook of Medieval Indian History. Primus Books. pp. 186–187. ISBN 978-9-38060-734-4.
- ↑ Shiromani Gurdwara Prabandhak Committee. "Ten Gurus" เก็บถาวร 2010-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน