คุรุรามทาส

คุรุซิกข์ท่านที่ 4

คุรุรามทาส (Guru Ram Das) หรือบางเอกสารสะกดว่า คุรุรามดาม เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 4 ของศาสนาซิกข์[2][3] ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1534 ในครอบครัวชาวฮินดูที่มีฐานะยากจนในเมืองละฮอร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน[3][1] ท่านมีชื่อกำเนิดว่า "เชฐา" (Jetha) และถูกทิ้งกำพร้าตั้งแต่อายุเพียง 7 ปี ท่านจึงถูกเลี้ยงดูโดยยายตั้งแต่นั้น[3]

คุรุรามทาส
Guru Ram Das
ภาพสีน้ำบนกระดาษ ประมาณ ค.ศ. 1800
พิพิธภัณฑ์รัฐบาล จันทีครห์
เกิดBhai Jetha Mal Sodhi
24 กันยายน ค.ศ. 1534[1]
Chuna Mandi, ลาฮอร์, รัฐปัญจาบ, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน)
เสียชีวิต1 กันยายน ค.ศ. 1581
Goindval, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย)
ชื่ออื่นคุรุองค์ที่สี่
อาชีพคุรุ
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งเมืองอมฤตสระ[2]
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนคุรุอมรทาส
ผู้สืบตำแหน่งคุรุอรชุน
คู่สมรสBhani Rani
บุตรPrithi Chand, Mahan Dev, and Guru Arjan
บิดามารดาHari Das กับ Mata Daya

เมื่อท่านอายุได้ 12 ปี ภัย เชธา และยายของท่านได้ย้ายไปอาศัยเมืองโคอินทวัล (Goindval) ซึ่งทำให้ทั้งสองได้พบกับคุรุอมรทาส คุรุศาสดาองค์ที่ 3 ของซิกข์[3] ซึ่งภาอี เชฐา ได้ขอรับตัวเข้าเป็นศิษย์ของท่านคุรุและช่วยปรนิบัติอย่างดี ต่อมาท่านได้สมรสกับลูกสาวของท่านคุรุและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลท่านคุรุอมรทาสอย่างเป็นทางการ ท่านคุรุได้แต่งตั้งให้ภัย เชธา เป็นคุรุศาสดาผู้สืบทอดองค์ต่อไป (องค์ที่ 4) และมอบชื่อใหม่ว่า "คุรุรามทาส" (Guru Ram Das) อันแปลว่า "ทาสหรือผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้า"[3][1][4]

คุรุรามดาสได้เข้าสู่การเป็นผู้นำจิตวิญญาณศาสนาซิกข์ในปี ค.ศ. 1574 และเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1581 ที่บ้านเกิดของท่านในเมืองโคอินทวัล[5] ระหว่างที่ท่านดำเนินการเผยแผ่ศาสนา ท่านได้รับการปรณิบัติและเคารพอย่างดีจากบุตร-ธิดาของท่านคุรุอมรทาสผู้ล่วงลับ และได้ย้ายหลักแหล่งและตั้งศูนย์กลางของชาวซิกข์ขึ้นใหม่ที่ดินแดนที่ท่านคุรุอมรทาสเรียกว่า "คุรุกาจัก" (Guru-ka-Chak)[3] เมืองแห่งนี้ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "รามทาสปุระ" (เมืองของท่านราทาส) (Ramdaspur) และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองอมฤตสาร์ จวบจนปัจจุบัน ซึ่งเมืองอมฤตสาร์แห่งนี้ในปัจจุบันได้เป็นเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ สถานที่แสวงบุญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ อันเป็นที่ตั้งของหริมันทิรสาหิบ หรือ สุวรรณวิหาร ซึ่งท่านได้เริ่มขุดสระน้ำ "สระน้ำอมฤต" ไว้[6][7] ผลงานที่ท่านสร้างไว้นอกจากการตั้งเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ "อมฤตสาร์" แล้ว ท่านยังขยาย "มันจิ" องค์กรเพื่อสนับสนุนและรับบริจาคเพื่อพัฒนาการเผยแผ่ศาสนาซิกข์ ให้กว้างใหญ่และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น[3] ท่านได้แต่งตั้งบุตรของท่านเองเป็นคุรุศาสดาองค์ต่อไป คือคุรุอาร์จัน ซึ่งเป็นคุรุองค์แรกที่ถูกแต่งตั้งโดยสืบเชื้อสายจากบิดาของตน[7][8]

ชื่อของท่านถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของท่าอากาศยานนานาชาติศรีคุรุรามทาสจี (Sri Guru Ram Dass Jee International Airport) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติประจำเมืองอมฤตสาร์ และชื่อของวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลบีคุรุรามทาส (Guru Ram Das Institute of Management and Technology; GRDIMT) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเดห์ราดุน รัฐอุตตราขัณฑ์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 G.S. Mansukhani. "Ram Das, Guru (1534-1581)". Encyclopaedia of Sikhism. Punjab University Patiala. สืบค้นเมื่อ 19 January 2017.
  2. 2.0 2.1 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 22–24. ISBN 978-1-898723-13-4.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Publishing. pp. 38–40. ISBN 978-1-4411-5366-1.
  4. Shakti Pawha Kaur Khalsa (1998). Kundalini Yoga: The Flow of Eternal Power. Penguin. p. 76. ISBN 978-0-399-52420-2.
  5. Arvind-pal Singh Mandair (2013). Religion and the Specter of the West: Sikhism, India, Postcoloniality, and the Politics of Translation. Columbia University Press. pp. 251–252. ISBN 978-0-231-51980-9.
  6. W.H. McLeod (1990). Textual Sources for the Study of Sikhism. University of Chicago Press. pp. 28–29. ISBN 978-0-226-56085-4.
  7. 7.0 7.1 Christopher Shackle; Arvind Mandair (2013). Teachings of the Sikh Gurus: Selections from the Sikh Scriptures. Routledge. pp. xv–xvi. ISBN 978-1-136-45101-0.
  8. W. H. McLeod (2009). The A to Z of Sikhism. Scarecrow Press. p. 86. ISBN 978-0-8108-6344-6.
ก่อนหน้า คุรุรามทาส ถัดไป
คุรุอมรทาส   คุรุศาสดาของศาสนาซิกข์
  คุรุอาร์จัน