คุรุอังคัท

คุรุซิกข์ท่านที่ 2
(เปลี่ยนทางจาก คุรุอังคัต)

คุรุอังคัท (Guru Angad) หรือบางเอกสารสะกดแตกต่างกันไป เช่น คุรุอังคัต, คุรุอังกัต, คุรุอังขัต และ คุรุอังฆัต เป็นคุรุศาสดาองค์ที่สองของศาสนาซิกข์ พระองค์ประสูติในครอบครัวของชาวฮินดูในหมู่บ้านหริเก (Harike) ในเมืองมุกตเสร์ (Muktser) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดียใกล้กับแคว้นปัญจาบในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1504 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1552[2][3] พระองค์มีพระนามแรกประสูติว่า "ภาอี เลห์นา" (Bhai Lehna) พระบิดาของของพระองค์เป็นพ่อค้า ส่วนพระองค์เองทรงบวชเป็นนักบวช "บูชารี" (Pujari; นักบวชที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์พราหมณ์) และเป็นศาสนจารย์ ที่นับถือพระแม่ทุรคาเป็นหลัก[3][4] ต่อมา ได้ทรงพบกับคุรุนานัก ศาสดาคุรุพระองค์แรกของซิกข์ จึงทรงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวซิกข์และทรงงานช่วยเหลือคุรุนานักเป็นเวลาหลายปี ท่านคุรุนานักประทานพระนามใหม่ให้กับท่านภัย เลห์นา ว่า "คุรุอังคัท" (Guru Angad) อันแปลว่า "แขนขาของเรา" (my own limb)[5] และได้แต่งตั้งให้เป็นคุรุศาสดาองค์ที่สองต่อจากตัวคุรุนานักเอง แทนที่จะแต่งตั้งพระบุตรของพระองค์ด้วยซ้ำ[3][4][6]

คุรุอังคัท
Guru Angad image from 1770
ภาพเฟรสโกของคุรุอังคัตที่เมืองโควินทาล
ส่วนบุคคล
เกิด
ภาอีเลหนา (Bhai Lehna)

31 มีนาคม ค.ศ.1504
มรณภาพ29 มีนาคม ค.ศ. 1552(1552-03-29) (47 ปี)
ศาสนาศาสนาซิกข์
คู่สมรสMata Khivi
บุตรBaba Dasu, Baba Dattu, Bibi Amro และ Bibi Anokhi
บุพการีMata Ramo กับ Baba Pheru Mal
รู้จักจากสร้างมาตรฐานของอักษรคุรมุขี
ตำแหน่งชั้นสูง
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าคุรุนานัก
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมาคุรุอมรทาส

หลังการสิ้นพระชนม์ของคุรุนานักใน ค.ศ. 1539 คุรุอังคัตจึงทรงสืบสานและดำรงตำแหน่งผู้นำของศาสนาซิกข์ต่อจากคุรุนานัก[7][8] ผลงานสำคัญของท่านที่ทรงช่วยพัฒนาศาสนาซิกข์ คือการพัฒนาและจัดระบบอักษรคุรมุขีโดยพัฒนาดัดแปลงจากอักษรทาครี ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในแถบเทือกเขาหิมาลัย[2][4] ท่านยังทรงรวบรวมเพลงสวดของคุรุนานักและนิพนธ์เพลงสวดขึ้นอีก 62-63 เพลง[4] ต่อมาพระองค์ได้ทรงเลือกคุรุศาสดาองค์ต่อไปด้วยแนวคิดเช่นเดียวกับคุรุนานัก คือไม่เลือกพระบุตรของตนแต่เลือกผู้ที่มีความสามารถมากกว่า ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาคุรุอมรทาส เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 3 ถัดจากพระองค์เอง[7][8]

อ้างอิง

แก้
  1. H. S. Singha (2000). The Encyclopedia of Sikhism (over 1000 Entries). Hemkunt Press. p. 20. ISBN 978-81-7010-301-1.
  2. 2.0 2.1 Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Academic. pp. 35–37. ISBN 978-1-4411-0231-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Louis E. Fenech; W. H. McLeod (2014). Historical Dictionary of Sikhism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 36. ISBN 978-1-4422-3601-1.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 18–20. ISBN 978-1-898723-13-4.
  5. Clarke, Peter B.; Beyer, Peter (2009). The World's Religions: Continuities and Transformations. Abingdon: Routledge. p. 565. ISBN 9781135210991.
  6. Shackle, Christopher; Mandair, Arvind-Pal Singh (2005). Teachings of the Sikh Gurus: Selections from the Sikh Scriptures. United Kingdom: Routledge. xiii–xiv. ISBN 0-415-26604-1.
  7. 7.0 7.1 Kushwant Singh. "Amar Das, Guru (1479–1574)". Encyclopaedia of Sikhism. Punjab University Patiala. สืบค้นเมื่อ 10 December 2016.
  8. 8.0 8.1 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 20–21. ISBN 978-1-898723-13-4.
ก่อนหน้า คุรุอังคัท ถัดไป
คุรุนานักเทพ   คุรุศาสดาของศาสนาซิกข์
  คุรุอมรทาส