คุยเรื่องวิกิพีเดีย:แกลม

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 1 ปีที่แล้ว โดย B20180 ในหัวข้อ แผนกิจกรรม GLAM in Thailand 2023 (ต่อ)

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย แกลม

แผนกิจกรรม GLAM in Thailand 2023 แก้

เนื่องด้วยเดิม ทางผมได้รับมอบหมายให้จัดกิจกรรม 1Lib1Ref ควบคู่ไปกับ GLAM ในวิกิพีเดียภาษาไทยและโครงการพี่น้อง แต่จากการปรึกษากับคุณ Azoma แล้ว พบว่ากิจกรรม 1Lib1Ref มีแนวโน้มก่อให้เกิดผลลัพธ์ได้น้อยมาก เนื่องด้วยผู้คนในปัจจุบันไม่ค่อยใช้อ้างอิงจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่มเหมือนแต่ก่อน (นิยมเข้าถึงจากสื่อออนไลน์มากกว่า) มีการเข้าห้องสมุดน้อยลง อีกทั้งบรรณารักษ์เองก็มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้น้อยมาก จึงตัดสินใจที่จะตัดโครงการ 1Lib1Ref ออก แล้วเหลือในส่วนของ GLAM แทน ซึ่งน่าจะมีสีสัน และครอบคลุมหลากหลายสาขามากกว่า

นอกจากนี้ ผมและคุณ Azoma พิจารณาว่าน่าจะให้มีการจัดแบบไตรมาส โดยแบ่งตามธีมของแต่ละตัวอักษร (GLAM) ดังนี้:

  • เดือนมกราคม–มีนาคม เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ Galleries ในธีมหอศิลป์
  • เดือนเมษายน–มิถุนายน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ Libraries ในธีมหอสมุด
  • เดือนกรกฎาคม–กันยายน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ Archives ในธีมหอจดหมายเหตุ
  • เดือนตุลาคม–ธันวาคม เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ Museums ในธีมพิพิธภัณฑ์

เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมยิ่งขึ้น จึงมีแผนเลื่อนจากเดิมคือเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ไปเริ่มเป็นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 แทน (เท่ากับว่ากิจกรรมแรกจะเป็นเหลือ 2 เดือนไปก่อนในการดำเนินกิจกรรม) เพราะจะได้มีเวลาในการตระเตรียมมากขึ้น และเพิ่มผู้สนับสนุน รวมถึงของรางวัลที่หลากหลายมากขึ้น (โดยเน้นให้เข้ากับธีมของหัวข้อต่าง ๆ หากเป็นไปได้) เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจ

อนึ่ง ข้อดีในการแบ่งเป็นไตรมาสแบบนี้คือช่วยให้มีกิจกรรมตลอดทั้งปี ส่วนข้อเสียคือหัวข้อที่สมาชิกบางท่านสนใจบางหัวข้ออาจอยู่ช่วงท้าย ๆ ของปี อาจรอหลายเดือน

แต่หากจัดพร้อมกัน 4 หัวข้อเลย (เผื่อสรุปแล้วอยากให้เป็นแบบนี้) ก็คือผู้เข้าร่วมสามารถเลือกได้เลยว่าจะลงแข่งในหัวข้อไหน แต่จะเกิดความอลหม่านสำหรับผู้เข้าร่วมที่อยากแข่งมากกว่า 1 หัวข้อ และเกิดความสับสนสำหรับทางผู้จัด

ด้วยเหตุนี้ หากทางชุมชนอยากให้เป็นในลักษณะใด หรือมีข้อเสนอแนะอื่นใดที่น่าสนใจ ก็ลองเสนอมาให้พิจารณากันได้ครับ --B20180 (คุย) 17:42, 23 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

  • ในส่วนของผม อยากให้แต่ละกิจกรรมดึงโครงการพี่น้องมาร่วมด้วย (คำคม ตำรา ซอร์ซ คอมมอนส์) ให้ได้มากที่สุด อันนี้สามารถแสดงความคิดเห็นในความเป็นไปได้กันนะครับ Azoma | พูดคุย 20:14, 23 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
  • ตามที่ได้พูดคุยในดิสคอร์ด กิจกรรม GLAM ที่จัดขึ้นเพื่อ "ช่วยสถาบันทางวัฒนธรรมแบ่งปันทรัพยากรของตนให้แก่โลก" น่าจะเกิดในไทยได้ยาก ต้องให้มีคนออกหน้าเพื่อขอทรัพยากรเหล่านี้ ซึ่งแปลว่าทาง WMTH อาจเป็นผู้ดำเนินการได้ดีกว่า ส่วนการแบ่งออกเป็นธีม ธีมละ 3 เดือน จะทำหรือไม่ทำก็ได้ครับ ไม่ได้ตอบโจทย์ที่ทำให้โครงการดังกล่าวยากแต่แรกอยู่แล้ว
  • มีการพูดคุยกันว่าถ้าไปขอหน่วยงานราชการ เช่น หอสมุดแห่งชาติ หอศิลป์ต่าง ๆ น่าจะมีข้อติดขัดเยอะ อาจเริ่มจากหน่วยงานเล็ก ๆ ที่อาสาสมัครมี connection เช่น ระดับคณะในมหาวิทยาลัย นำร่องก่อน --Horus (พูดคุย) 09:50, 28 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
    เห็นด้วยกับย่อหน้าที่สองครับ Azoma | พูดคุย 09:54, 28 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ

  1. สำหรับกิจกรรมนี่อยากให้เป็นรูปแบบใด ระหว่างการแข่งหรือการฝึกอบรม ส่วนตัวผมเห็นว่าการฝึกอบรมนั้นอาจต้องใช้เวลาในการหาสถานที่หรือเชื้อเชิญบุคคลต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และมีส่วนร่วมเพียงระยะสั้นเสียเป็นส่วนใหญ่ (จบแล้วก็หายกันไป) ในขณะที่หากเน้นการแข่งเป็นหลัก ผมเสนอให้มีการเพิ่มรางวัลที่หลากหลาย โดยที่บางรายการสามารถใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว บางส่วนให้เป็นรางวัลที่เข้ากับธีม รวมถึงขยายจำนวนผู้ได้รับรางวัลใหญ่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะจำกัดเพียงผู้มีผลงานอันดับ 1–3 แต่ผมคิดว่าสัก 5 อันดับขึ้นไปน่าจะดีเหมือนกัน (ขึ้นอยู่กับจำนวนรางวัลที่มี)
  2. ส่วนชื่อกิจกรรม ผมเห็นว่าปีถัดไปมีการใช้ชื่อ Wiki loves ค่อนข้างมากอยู่เหมือนกัน ซึ่งเราอาจลองใช้ชื่อใหม่ที่แหวกแนว เพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมอีกทางก็ได้ครับ (ยังพอมีเวลานึกชื่อได้ประมาณ 1 เดือน) อาจใช้วิธีเสนอชื่อแล้วโหวตกัน --B20180 (คุย) 10:57, 28 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
    • เรื่องการฝึกอบรมเป็นแนวคิดที่เข้าท่าเหมือนกัน (เพราะตอนคุยกับคุณ Azoma เข้าใจว่ามีเฉพาะเรื่องกิจกรรมเขียนบทความหรือสร้างเนื้อหาในโครงการพี่น้อง) แต่ก็ขึ้นอยู่กับทีมงานว่าสามารถจัดได้ไหม จะเชิญใครบ้าง จะเขียนโครงการ proposal ฯลฯ อย่างไร ซึ่งถ้าทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือกับวิกิมีเดียจนกลายเป็นหุ้นส่วนในอนาคตได้ก็จะดีมากครับ --Horus (พูดคุย) 11:12, 28 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
  1. ไม่มีความเห็นเรื่องจะเลือกจัดแบบครั้งเดียวหรือการจัดแบบไตรมาสครับ แต่ถ้าเลือกเป็นแบบไตรมาสก็มีข้อดีตามที่คุณ B20180 กล่าวไว้ด้านบน และอาจถือเป็นธีมหลักเนื่องในโอกาสที่วิกิพีเดียภาษาไทยครบรอบ 20 ปีก็ได้ (ถ้าไม่เลือกกิจกรรมอื่น) ในขณะเดียวกันก็น่าจะเหนื่อยสำหรับทีมผู้จัดกิจกรรมครับ
  2. ถ้าโครงการพี่น้องที่เข้าร่วมมีความเหมาะสมต่อการร่วมกิจกรรมแกลม ก็ยินดีสนับสนุนครับ
  3. โดยส่วนตัวเชื่อว่าทีมผู้จัดกิจกรรมมีประสบการณ์และความสามารถในระดับที่ดี แต่ก็ต้องมาดูเหมือนกันว่าตอนนี้มีเรี่ยวแรงพละกำลังอยู่เท่าไร มีอะไรที่ทำได้และไม่ได้บ้าง ถ้าอะไรบางอย่างที่ทำแล้วจะทำให้กิจกรรมลดทอนประสิทธิภาพคงไม่ใช่เรื่องที่ดีครับ (เช่น หน่วยงานยินดีแบ่งปันทรัพยากรแต่สุดท้ายไม่ได้ใช้เพราะไม่มีใครสะดวกไปรับ เป็นต้น) ผมยังไม่ทราบว่าทีมผู้จัดกิจกรรมตอนนี้มีอยู่กี่คน แต่ถ้ามีแค่คุณ B20180 กับคุณ Azoma แค่สองคนกับสมาชิก WMTH ที่ไม่รู้จำนวนแน่นอนคิดว่าไม่เพียงพอครับ มิเช่นนั้นก็ต้องแจกแจงรายละเอียดกิจกรรมมาครับว่ามีภาระงานอะไรบ้าง ถ้าส่วนไหนผู้ใช้จากชุมชนช่วยทำแทนได้ ทั้งสองคนจะได้สบายขึ้นและไปทำในส่วนอื่นได้ครับ
  4. ไม่มีความเห็นเรื่องจะเลือกจัดแข่งหรือฝึกอบรมครับ แต่ที่ผ่านมาผมมองว่าการจัดแข่งขันนั้นเอื้ออำนวยต่อผู้ใช้ขาประจำ ถ้าอยากเน้นสร้างผู้ใช้ใหม่แนะนำการฝึกอบรมครับ ส่วนของรางวัล ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีของรางวัลที่แน่นอนอยู่ในมือ ไม่ใช่ไปหาหลังเสร็จกิจกรรมครับ
  5. เสนอชื่อกิจกรรมโดยไม่ต้องสอดคล้องกับที่เคยจัดหรือมีการก่อนก็ได้ครับ
  6. โดยร่วมแล้วผมกังวลแค่ 2 เรื่องหลักคือการจัดหาสปอนเซอร์ตามที่หลายคนกล่าวมาและภาระงานของทีมผู้จัดกิจกรรมครับ --Geonuch (คุย) 22:07, 3 มกราคม 2566 (+07)ตอบกลับ

ยินดีที่จะให้มีผู้ใช้ขาประจำที่เข้าใจถึงปัญหาและนโยบายมาช่วยเหลือเพิ่มครับ เพราะจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระ และมีความสามารถในการผลักดันให้โครงการต่าง ๆ เติบโตในระยะยาว — โดยเบื้องต้น ผมเห็นว่าน่าจะมีผู้ดูแลระบบเพิ่มในโครงการพี่น้อง เพื่อรองรับการรับมือกับการก่อกวน, การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ หรือใช้เครื่องมือเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้แก่กันและกันสำหรับโครงการต่าง ๆ

ในส่วนของรางวัล (กรณีที่มีการจัดการแข่ง) / หรือในส่วนของสถานที่ (กรณีที่มีการจัดฝึกอบรม) / ตลอดจนผู้สนับสนุนเพิ่มเติม หากมีความคืบหน้ายังไง ผมจะลองติดต่อคุณ Athikhun.suw ให้จัดหาดูอีกทีครับ --B20180 (คุย) 07:37, 4 มกราคม 2566 (+07)ตอบกลับ

จำได้ว่า @Athikhun.suw: เคยสร้างเครือข่ายไว้ได้เองหลายแห่งนะครับ ทั้งหอศิลป์และห้องสมุด เวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้วเครือข่ายยังอยู่เรียกหามาได้หรือไม่ก็ต้องลองทดสอบดูอีกครั้ง อาจจะต้องนัดหมายกันเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจ ผมไม่มีประสบการณ์ตรงนี้เลย แต่จินตนาการได้ว่าคนที่ต้องการเรา กับคนที่เราต้องการอาจจะเป็นคนละกลุ่ม นั่นคือ เราอาจฝันว่าอยากไปจับมือกับหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จและมีฐานผู้ใช้บริการอยู่มากแล้ว แต่คนที่อยากร่วมมือกับเราจริงๆ คือคนที่ขาดงบ ขาดฐานผู้ใช้บริการ หรือ ขาดทั้งสองอย่าง (โดยส่วนตัวไม่ติดขัดนะครับถ้าจะให้เดินไปพูดคุยกับห้องสมุดชุมชนในละแวกบ้านในช่วงวันหยุด ไม่เคยรู้เลยว่ามีใครและทรัพยากรอะไรอยู่ที่นั่นบ้าง และไม่รู้ว่าเขาเปิดวันหยุดหรือเปล่า) --Taweethaも (คุย) 21:37, 13 มกราคม 2566 (+07)ตอบกลับ

แผนกิจกรรม GLAM in Thailand 2023 (ต่อ) แก้

@Athikhun.suw, Azoma, และ Taweetham: เนื่องด้วยในช่วงก่อนหน้าได้เกิดการชะงักงันจากการอภิปรายที่ถูกยุติลงกะทันหัน (เข้าใจว่าในช่วงนั้นมีการอภิปรายในชุมชนหลายข้อจึงเกิดการเบียดกันเอง) อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ชุมชนว่างจากการอภิปรายอยู่พอดี จึงเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสที่จะสามารถอภิปรายกันต่อได้ ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้ครับ:

  1. ถ้าดูจากหมายกำหนดก่อนหน้าจะเห็นว่าธีมหอศิลป์–หอสมุด (Galleries–Museums) ซึ่งจะจัดในเดือนมกราคมมิถุนายน อาจงดไปในปีนี้ก่อน เพราะไม่ทันและน่าจะยังไม่พร้อมดี แล้วเริ่มจากธีมหอจดหมายเหตุ (Archives) ซึ่งจะมีในช่วงเดือนกรกฎาคมแทน
  2. กรณีที่จัดฝึกอบรมจะจัดกี่วันและใช้สถานที่ใดจัด ผู้เข้าร่วมเป็นใคร (ส่วนตัวเห็นว่าหากจัดจะให้อยู่ที่ธีมละ 1–2 วัน ส่วนผู้เข้าร่วมให้เน้นนักศึกษาเป็นหลัก เพราะจากประสบการณ์รู้สึกคุยกันง่ายกว่า อีกทั้งไม่ค่อยมีภัยคุกคามจากบุคคลไม่พึงประสงค์ตามมา)
  3. หากจัดการแข่งแบบออนไลน์ คงเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับธีมนั้น ๆ และของรางวัลมีอะไรบ้าง ใครเป็นผู้สนับสนุนของรางวัล
  4. สรุปแล้วจะให้จัดกิจกรรมเป็นรูปแบบใด ระหว่าง:
    1) เฉพาะฝึกอบรม หรือ
    2) เฉพาะการแข่งออนไลน์ หรือ
    3) ทั้ง 2 แบบรวมกัน

เอาแบบทำจริง ๆ นะครับ ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 09:25, 8 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

@B20180, Azoma, Athikhun.suw, และ 2ndoct: เพิ่งเข้ามาเห็นนะครับ ผมกลับไปเทียบ m:Wikimedia_Thailand/Calendar เห็นว่าเดิมคือ Jan-Feb แต่ยังไม่ได้ถูกขีดออก ถ้าไม่มีใครช่วยคงต้องถามตัวเองว่าจัดคนเดียวผ่านช่องทางออนไลน์ไหวไหมนะครับ น่าจะมีเงินสนับสนุนเป็นค่าของรางวัลและค่าส่งของให้ตามความเหมาะสม --Taweethaも (คุย) 17:57, 20 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
@2ndoct, Athikhun.suw, Azoma, และ Taweetham: ถ้าจัดออนไลน์คนเดียวก็ไหวอยู่ครับ แต่อยากทราบว่าคุณ Azoma จะร่วมเป็นผู้จัดด้วยหรือเปล่าครับ ถ้าไม่สะดวกก็ไม่เป็นไรครับ ซึ่งหลัก ๆ ตอนนี้ผมรอเพียงความพร้อมด้านของรางวัลครับ จะได้ไม่สะดุดเหมือนกิจกรรม Wikimedia Thailand/Wiki Loves Food --B20180 (คุย) 18:15, 20 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
จากที่ได้คุยกันกันคร่าว ๆ
ศักยภาพการจัดอบรมในประเทศไทย เรายังไม่สามารถหาพันธมิตรที่จะมาร่วมงานแกลมได้
ทั้งนี้ Archives ในมุมมองของผมคือกิจกรรมที่ยากสุด แม้ว่าจะจัดเป็นออนไลน์ก็ตาม
ในส่วนขอรางวัล ผมคิดว่าสามารถหาผู้สนับสนุนได้ 2 สำนักพิมพ์ครับ
เพิ่มเติมจากกิจกรรม Love Food : ผู้จัดงานสามารถร่วมกิจกรรมได้ แต่จะไม่มีของรางวัลให้ (แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกันได้ครับ) Azoma | พูดคุย 06:23, 22 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
ในส่วนของ Wiki Loves Food ถ้าหมายถึงประกวดตั้งชื่อ คิดว่าผมคงจะไม่เสนอชื่อ กะให้สมาชิกชุมชนได้มีส่วนร่วมกันอย่างเต็มที่ กี่ชื่อก็ได้ครับ --B20180 (คุย) 10:37, 22 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
อธิบายไม่ครบถ้วน ขออภัยด้วยนะครับ
จากการจัดงาน wlf ที่มีผู้จัดเข้ามาร่วม แล้วเราสรุปว่าควรถอดชื่อออกจากคณะผู้จัดงาน เป็นผู้ร่วมงานกิจกรรมแทนนะครับ
ผมเลยเสนอว่า กิจกรรมต่อๆ ไป หากผู้จัดอยากร่วมกิจกรรม สามารถร่วมกิจกรรมได้ แต่จะไม่มีของรางวัลให้ (หรือท่านอื่นๆ มีความเห็นที่แตกต่างก็แลกเปลี่ยนกันได้ครับ) Azoma | พูดคุย 10:54, 22 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
รับทราบครับ ก็คือหมายถึงว่าถ้าผู้จัดต้องการเข้าร่วมการแข่ง ก็สามารถถอนชื่อตนเองออกได้ แต่จะไม่มีการมอบรางวัลจากกิจกรรมแก่ผู้จัดที่เข้าร่วมการแข่ง --B20180 (คุย) 12:32, 22 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
ผู้จัดหากร่วม จะถอนชื่อหรือไม่ก็ได้ครับ
  • กลับมาที่ประเด็นหลักดีกว่าครับ
ถ้าหาผู้สนับสนุนได้เพิ่มจาก 2 สำนักพิมพ์ ที่ผมมี จะจัดกันมั้ยครับ หรือจะเอาเท่านี้ไปก่อนและเสริมด้วยของรางวัลที่เรามีอยู่
  • ถ้าจัดได้ ก็มาร่วมกันกำหนดขอบเขตบทความ และกิจกรรมที่โครงการพี่น้องสามารถร่วมได้กันเลยครับ
Azoma | พูดคุย 13:06, 22 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

@Azoma และ Taweetham:

  1. ในส่วนของรางวัล หากมีนอกเหนือจากหนังสือด้วยก็คงจะดี ซึ่งอาจต้องรองบ สำหรับจัดส่ง กับของรางวัลที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมครับ และจะทำการมอบรางวัลแก่ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ โดยหากผู้เข้าร่วมอาศัยอยู่นอกในประเทศไทย สามารถให้ญาติหรือเพื่อนรับของรางวัลจากกิจกรรมดังกล่าวแทนได้ เพื่อลดภาระในการจัดส่งเช่นเดียวกับ Wikimedia Thailand/Wiki Loves Food
  2. สำหรับขอบเขต Archives (ธีมหอจดหมายเหตุ) จะมีขอบเขตที่พอจะทำได้อยู่ 3 โครงการ คือ วิกิพีเดีย, วิกิซอร์ซ และวิกิมีเดียคอมมอนส์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ :
    2.1) วิกิพีเดีย จะเป็นเขียนบทความเกี่ยวกับจดหมายเหตุ, เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือจะเป็นชีวประวัตินักจดบันทึกประจำวัน หรือบันทึกทางประวัติศาสตร์ก็ได้
    2.2) วิกิซอร์ซ โดยปกติแล้ว หน้าเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ก็สามารถนำมาเป็นขอบเขตของการแข่งขันได้ โดยกำหนดให้เขียนหรือแปลเอกสารซึ่งอิงจากเอกสารที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนคะแนนสำหรับโครงการนี้อาจวัดที่ขนาด ถ้าต่ำกว่า 2,000 ไบต์ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ / 2,000 ไบต์ แต่ไม่เกิน 5,000 ไบต์ ได้ 10 คะแนนต่อหน้า / 5,001 ไบต์ขึ้นไปได้ 15 คะแนนต่อหน้า
    2.2) วิกิมีเดียคอมมอนส์ กติกาเหมือนกับของ Wikimedia Thailand/Wiki Loves Food คือนำภาพที่ถ่ายเอง ที่อัปโหลดในช่วงกิจกรรม มาใส่ในหน้าต่าง ๆ แต่จะให้เป็น 10 คะแนน (จากเดิมที่ Wikimedia Thailand/Wiki Loves Food ให้ 3 คะแนน) เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าภาพจดหมายเหตุ / ศิลาจารึกหรือหนังสือโบราณ / แผนที่ในอดีต / เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยมากเข้าถึงได้ยากกว่าภาพถ่ายจากอาหารต่าง ๆ --B20180 (คุย) 22:28, 23 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
@B20180@Taweetham เห็นด้วยกับ ข้อ 2 ทั้งหมดครับ
  • เรื่องของรางวัลมาหารือเพิ่มเติมกันต่อครับ
Azoma | พูดคุย 11:58, 24 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
ของรางวัล - หรือจะเรียกว่าของที่ระลึก - ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลยครับ เพียงแต่ว่าคนที่ถือของอยู่ คือ @Athikhun.suw: ต้องทวงให้เขามาตอบเท่านั้นเองครับ มีสองทางคือ ใช้ของที่มีอยู่แล้ว ตัดจำนวนชิ้นออกมาแล้วส่งไปไว้ที่คุณ @B20180: พร้อมค่าส่งเลย หรือถ้าจำนวนของไม่พอก็สั่งทำเพิ่มให้ส่งตรงไปสำรองไว้ที่คุณ B20180 เช่นกัน ผมเข้าใจว่าของมูลค่าไม่มาก เช่น ร่ม กระติกน้ำ ปากกา ถุงผ้า ก็แล้วแต่จะผลิตกันได้เลย ของเหล่านี้นอกจากให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จะเรียกว่าประกวดหรือแข่งกันก็ตามแต่) ควรจะให้แก่อาสาสมัครที่มาร่วมจัดกิจกรรมด้วยเป็นสินน้ำใจหรือกำลังใจนั่นเอง และให้ไม่ใช่เพราะว่าเขาเหล่านั้นเข้าร่วมกิจกรรมเสียเอง แต่ให้เพราะว่าเขาช่วยกันจัดงาน ส่วนหากผู้จัดมาร่วมกิจกรรมเสียเองเราคงไม่ถือว่าเป็นการเข้าร่วมแต่เป็นการทำตัวอย่างให้ดู (ควรจะทำงานให้มีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานระดับหนึ่ง) ส่วนที่อาจกังวลการขัดกันผลประโยชน์ ถ้ามีรางวัลใหญ่มูลค่าหลายพันบาทหรือเป็นหมื่นบาท แบบนั้นต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างผู้จัดกับผู้เข้าแข่งขันครับ แต่ในลักษณะนี้ผมมองว่ายังคล้ายกับ editathon ทั่วไปที่เข้าทำงานร่วมกันและจัดเลี้ยงร่วมกัน ในกรณีที่เป็นออนไลน์ก็ให้ของที่ระลึกกันไปถ้วนหน้าได้ทุกคน (ที่ผ่านเกณฑ์) ส่วนคนที่อยู่ต่างประเทศ ถ้าไม่ได้มีมากนักก็ส่งให้เขาได้ครับ ไม่ใช่ว่าเรารวยและใช้เงินฟุ่มเฟือย แต่ให้มองว่าไม่ใช่ความผิดเขาที่อยู่ต่างประเทศ บางกิจกรรมเขาต้องเปลี่ยนเวลามาร่วมงานกับเราให้ได้ เราจะช่วยค่าส่งเขาสักนิดก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร --Taweethaも (คุย) 13:47, 24 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
@Taweethamถ้าใช้มุมมองนี้ ผมไม่ขัดข้องแต่อย่างใดครับ
  • @B20180โดยรวมแล้วเราน่าจะพร้อมจัดกิจกรรมกันนะครับ
Azoma | พูดคุย 05:51, 25 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

งั้นก็เหลือแค่รอแค่ในส่วนของงบ กับรางวัลครับ ส่วนวิกิพีเดีย ที่ผมพอจะคุ้ยมาได้ในตอนนี้ก็มีบทความในหมวดหมู่:จดหมายเหตุ, หมวดหมู่:พงศาวดาร, หมวดหมู่:บันทึกเหตุการณ์, หมวดหมู่:นักจดบันทึกประจำวัน ที่พอจะเป็นไกด์ไลน์ให้แก่ผู้เข้าร่วมได้ ซึ่งในส่วนของวิกิซอร์ซ กับวิกิมีเดียคอมมอนส์นั้น หากว่าง ๆ ผมจะลองไล่หาดูอีกทีครับ --B20180 (คุย) 12:27, 25 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้าโครงการ "แกลม"