คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/กรุ 1

เสนอชื่ออื่น

alternative topic's name: วิกิพีเดีย:เสนอชื่อผู้ดูแล วิกิพีเดีย:เสนอชื่อผู้ดูแลเพิ่ม -- bact' 07:13, 6 พ.ค. 2005 (UTC)

การพูดคุยเกี่ยวกับขั้นตอนการเสนอชื่อและจำนวนผู้ดูแล

ผมว่าคุณผู้ใช้:Manop คุณผู้ใช้:Lerdsuwa และ คุณผู้ใช้:Wap มีความเหมาะสมที่จะได้เป็นผู้ดูแล ท่านอื่นๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ? -- จุง 04:07, 1 สิงหาคม 2005 (UTC)
ผมเห็นว่าถ้าผู้ดูแลระบบยังสนับสนุนไม่ถึงครึ่ง (6 คน) ก็จะยังไม่เลื่อนให้เป็นผู้ดูแลระบบ ก็คงต้องรอให้ผู้ใช้เหล่านี้พิสูจน์ตัวเองต่อไป -- จุง 16:48, 2 สิงหาคม 2005 (UTC)
I think we should include all other members' votes too, not just sysops'. Too bad, most of the active members are sysop's. :P ไร้สติ 04:15, 3 สิงหาคม 2005 (UTC)
.... I hope the future is more better soon ... I apologize for mentioning only the admins to attend the vote, anyway -- จุง 00:09, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)
I also think there are already enough sysops here, which doesn't mean that the current nominations aren't worthy to become sysops. Sysops are most of all needed for cleanup work - deleting nonsense, blocking vandals or protecting articles in case of edit wars - but for normal editing (and that should be the main work here) the sysop rights aren't necessary. The important question - how will someone use the sysop powers in case of an argument with another user. Sysop rights shouldn't be granted just for a given level of active contributions, but should be giving to users who want/enjoy to do cleanup work and have showed to be calm even in conflicts. แอนดี้ 22:22, 3 สิงหาคม 2005 (UTC)
The number of sysops seems to be enough and your opinion about sysop grant is right, I agree. However, my humble thinking is that, currently, some of sysops (including me) have (and will have) less time to contribute, and do the cleanup jobs. The number of 'real' sysop may be less than show in the system. So I let others decide if we really need new sysops. [ My sysop grant is just an accidental because of active contributions indeed. It's perhaps me who might be inappropriate to be sysop. ] The calmness you mentioned is very important, and I would like all of us (including new becoming sysops) to keep Andy's advice in mind. -- จุง 00:09, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)
If I'm correct, the sysop can be revoked at times. -- bact' คุย 00:24, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)
While checking the userlist I noticed that almost every admin here is also a Bureaucrat, that means having the power to grant (or remove) the sysop powers from other users. In other languages there are just very few bureaucrats, as that additional power is only needed rarely. I'd think two or three bureaucrats should be enough for the current size of this wikipedia - en: has 20. แอนดี้ 22:22, 3 สิงหาคม 2005 (UTC)
We (all thai wikipedians) perhaps should make a discussion about this point -- จุง 00:09, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)
This, Bureaucrat numbers, probably my fault. Since for all the people who I granted a sysop right to, I also grant them a Bureaucrat right as well. My rational at that time was, well, I considered myself equal (being/going to be a sysop) with others .. so I like them to enjoy all the same rights as mine. Unfortunately, that was not a well-thinking rational. Regarding to this manner, I'm please to let my Bureaucrat flag revoked, as I don't think it's necessary for me, niether the project as a whole, as it's already a number of Bureaucrats there. -- bact' คุย 00:24, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)
Good points, Andy, We have enough sysops as you said. To be honest, that was what I thinking about when Jung made nominations. But I didn't express my though because everyone appear to accept it. BTW, Bureaucrat status is unnecessary for me either. Next, aside from editing behavior, we should have higher standard to nominate sysops; at least 2 or 3 months and more number of contributions. --Pi@k 03:09, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

I was thinking about the number of sysops we have. So I decided to stay neutral until I gathered more about admin's roles and tasks, however Andy has already mentioned about that. And I'm going to encourage everyone here to participate other wikimedia projects, especially meta: and Thai-related topics on en:, so we can study how wikipedians collaborated on the large wikimedia community. -- PaePae 09:02, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

ขั้นตอนการเลื่อนเป็นผู้ดูแล

กรณีคุณ Manop ปกติผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ดูแล ต้องตอบรับการเสนอชื่อก่อนที่จะมีการแต่งตั้ง แต่คราวนี้ผ่านไปแล้วไม่เป็นไรครับ ถือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย เพราะคุณ Manop เองก็รับเป็นผู้ดูแลแล้ว --Pi@k 02:52, 27 ตุลาคม 2005 (UTC)

การใช้ rollback (คำสั่งย้อนกลับ)

ผมเห็นคุณ Jittat ใช้ rollback ในการแก้ไขหน้านี้ (เพื่อกลับเข้ามาโหวตให้คุณ Manop). ผมไม่แน่ใจนักว่าคุณ Jittat ใช้ rollback รึเปล่า, แต่ดูจากcommentเหมือนจะใช้ rollback. ก็รู้สึกแปลกๆ, ที่ใช้ rollback เพื่อจัดการกับสิ่งที่ไม่ใช่ spam/vandalism นะครับ. ความรู้สึกจะเหมือน unix admin ที่จะใช้ root เท่าที่จำเป็นนะครับ. --Ans14:24, 7 ธันวาคม 2005 (UTC)

ตอนนั้นใช้ rollback เพราะว่านึกว่าคุณ ผู้ใช้:Watcharakorn ย้ายการโวตเก็บไปแล้วโดยที่ยังโวตไม่จบน่ะครับ (หรืออะไรประมาณนี้) พอมาดูอีกทีก็เห็นว่าโวตกันเสร็จแล้ว ก็เลยย้ายกลับมา... ใช้ rollback เพราะเห็นว่าเร็วดีน่ะครับ จริง ๆ ก็ลืมคิดไป ขออภัยครับ (ขออภัยใครหว่า? ถือว่าขออภัยส่วนรวมละกันครับ) หลัง ๆ จะระวังกว่านี้ครับ (จะโดนปลดเปล่าเนี่ยะ?) --- Jittat 15:15, 7 ธันวาคม 2005 (UTC)
คนอื่นคงจะไม่มีใครว่าคุณJittatมั้งครับ. จริงๆมันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่นัก. มาตรฐานในเรื่องนี้ของผมอาจจะสูงเกินไปหน่อยเท่านั้นเอง :) ว่าไป, ถ้ายึดตามมาตรฐานนี้หมด, คงไม่ต้องมีadminกันพอดี:b คงไม่มีใครคิดอะไรมากเท่าผม. แต่มันก็เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่น่าคิดนะ. อืม,มันก็ไม่เห็นจะมีอะไรเสียหายนี่นะ. เอ... --Ans 11:33, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
คิดไปเถอะครับ บางเรื่อง ก็คงต้องมีคนไว้คิด ไม่งั้นคงจะเหลือแต่เรื่องที่มีแต่คนทั่วไปคิดกันเท่านั้น ซึ่งก็คงจะขาด ๆ และน่าเบื่อพิกล เอ ... อ่านรู้เรื่องเปล่า? --- Jittat 14:49, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)

ช่วงเวลาการรับลงคะแนน และการนับคะแนน

What does it means by 75-80%? relatively or absolutely? (If there have to be "absolutely" 75-80% users (of total users) to vote for a candidate, no one will successfully promote to an admin; but if there have to be just relatively 75-80% users (of current voting users), I think all candidates will be promoted... ) BTW, there is no response from both two candidates -___-' -- จุง 12:58, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ไม่แน่ใจเหมือนครับ ดูไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่, แต่ผมว่าคำว่า "มากกว่า 75-80%" มันแปลก ๆ ไปหน่อย, จะ "มากกว่า 75%" หรือ "มากกว่า 80%" ก็เอาซักอย่างดีกว่า --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 172.173.214.87 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:20, 15 กรกฎาคม 2006 (UTC)
แหะ ๆ อันนี้ลอกมาล้วน ๆ จะกำหนดต่างไปจากนี้ก็ได้ครับ คงต้องตกลงกันให้ดี แปลกเหมือนกันที่ที่ผ่่านมาไม่เคยวางกฎเกณฑ์มาก่อนเลยแต่ก็เลือกมาแล้วหลายคน --Pi@k 14:50, 15 กรกฎาคม 2006 (UTC)
ควรจะเป็น x% จากจำนวนผู้ออกเสียงครับ (เช่นเดียวกับการเลือกตั้งทั่วไป) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 172.176.189.246 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:15, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
น่าจะมีการกำหนดเวลาด้วยครับ ว่าให้โหวดนานแค่ไหน ใครโหวดได้บ้าง (admin หรือผู้ใช้ทั่วไป) ที่ผ่านมามติค่อนข้างเป็นเอกฉันท์เลยไม่มีปัญหา :) --Lerdsuwa 15:59, 15 กรกฎาคม 2006 (UTC)
ดูของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผู้ใช้ทุกคนที่ล็อกอินโหวตได้ ส่วนภาษาไทยจะเป็นแบบไหนก็ลองคุยกันดูครับ
เรื่องเวลา ผมว่าอย่าเกิน 1 เดือนเลย ... อาจจะเป็นช่วงเวลาโหวต 4 อาทิตย์ นับจากวันเสนอชื่อ .. แล้วรอตอบรับอีก 1 อาทิตย์ นับจากวันปิดโหวต ถ้าตอบรับก็เป็นไปเลย ถ้ายังไม่ตอบในกำหนด ก็ตกไป รอถูกเสนอใหม่รอบหน้า --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 172.176.189.246 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 01:41, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
1 month is ok. :) จุง 13:06, 1 สิงหาคม 2006 (UTC)

อ้อ อีกเรื่องครับ เวลานับคะแนน จะนับเอาคะแนน สนับสนุน/เป็นกลาง/คัดค้าน มานับยังไง ? อย่างตอนนี้ เขียนว่า "การปรับสถานภาพเป็นผู้ดูแลจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่า 75-80%" สมมติมีคะแนนทั้งหมด 100 มี สนับสนุน 49 เป็นกลาง 50 คัดค้าน 1

  1. ถ้าเกิดนับเฉพาะเสียง สนับสนุน ล้วน ๆ ก็ยังเป็นไม่ได้ ? (สนับสนุนแค่ 49% จาก 100)
  2. ถ้าเกิดตัดเสียงเป็นกลางออกไป เหลือ สนับสนุน 49 คัดค้าน 1 แบบนี้ก็เป็นได้ (สนันสนุน 98% จาก 50)

จะนับแบบไหนดี ? แบบไหนมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง เห็นกันยังไงบ้างครับ ?

ความเห็นผมคือ

  • ถ้าเรานับแบบ (1) แสดงว่าคะแนน เป็นกลาง นั้นก็คือ ไม่สนับสนุน นั่นเอง (แต่ก็ไม่ถึงกับคัดค้าน เพียงแต่ไม่สนับสนุนเท่านั้น)
  • ถ้าเรานับแบบ (2) แสดงว่าคะแนน เป็นกลาง นั้นก็มีผลเท่ากับ งดออกเสียง (เพราะที่สุดแล้วคะแนนก็ถูกตัดทิ้งจากการพิจารณา ไม่เอามาเป็นตัวหารด้วย)

ถ้าจะเลือกนับแบบ (1) ก็จะเป็นผู้ดูแลได้ยากหน่อย ออกจะดูหิน ๆ แต่ถ้าจะเลือกนับแบบ (2) ก็ดูเป็นการไม่ให้เกียรติคนออกเสียงเป็นกลางรึเปล่า ? (เพราะเราก็ไม่รู้ว่า คนออกเสียงเค้าคิดยังไง ทำไมถึงออกเสียง เป็นกลาง)

หรือจะเอาแบบเลือกตั้งจริง ๆ ในเขตที่มีผู้สมัครรายเดียว ที่ใช้เป็น รับรอง/ไม่รับรอง ... ไม่ต้องมี เป็นกลาง ให้ปวดหัว - -" ฝากคิดด้วยครับ

-- 172.176.189.246 02:04, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)


ไปดูของภาษาอังกฤษมา en:Wikipedia:Requests for adminship อาจจะเป็นแนวได้

เรื่องแรกเลยคือ เท่าที่ผมเข้าใจ ในการตัดสินใจของเค้านั้น ออกจะเป็น republic มากว่า democratic คือเค้าไม่ได้ใช้จำนวนเสียงมาคิดตรง ๆ แต่พบว่าแต่ละเสียงอาจจะมีน้ำหนักต่างกันได้ ("Explain your opinion by including a short explanation of your reasoning. Your input will carry more weight if it is accompanied by supporting evidence.") นี่อาจจะเป็นที่มาของช่วง 75-80% คือมันไม่เป๊ะ เพราะมีเรื่องของการให้น้ำหนักมาเกี่ยวด้วย

ใครออกเสียงได้บ้าง ? เค้าให้ทุกคนออกเสียงได้นะครับ ยกเว้นกรณีต้องสงสัยว่าจะมีการสร้างบัญชีใหม่ขึ้นมาเพื่อออกเสียง อีกอันคือ เค้าไม่นับคะแนนจากผู้เสนอชื่อ ("Who may not vote: Editors who do not have an account and/or are not logged in ("anons"). Votes of very new editors may be discounted if there is suspicion of fraud such as sockpuppetry. Voting on one's own nomination is not allowed and will not be counted by the closing bureaucrat.")

เรื่องคะแนนเป็นกลาง อันนี้เค้าไม่นับแฮะ ("Neutral" comments are also permitted, but are not ordinarily counted in determining percentages, although they are considered by bureaucrats in borderline cases.)

และเรื่องการออกความเห็น อันนี้ชัดเจนเลยว่าต่างจากของเรา เพราะเค้าขอให้ทุกเสียงไม่ว่าจะ สนับสนุน เป็นกลาง หรือ คัดค้าน เขียนความเห็นลงมาด้วย ซึ่งต่างจากของเรา ที่ขอเหตุผลเฉพาะกรณีคัดค้าน ส่วนเสียงสนับสนุนกับเป็นกลางไม่ต้องบอกเหตุผล (แบบนี้เอนเอียงหรือเปล่า?) (อืม น่าจะเปลี่ยนคำว่า เหตุผล เป็น ความเห็น ด้วย)

ลองเข้าไปอ่าน ๆ ดูกันครับ en:Wikipedia:Requests for adminship เท่าที่ผมมอง กระบวนการของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเค้า มันค่อนข้างจะต่างจากการออกเสียงธรรมดาทีเดียว คือมันเหมือนเป็นกระบวนการ "แสดงผลงาน" / "ซักฟอก" / "ตีแผ่" ซะมากกว่า คือใครมีความเห็นอะไรก็เอาออกมาแสดง มีหลักฐานอะไรก็โชว์มาให้หมด อธิบายกันไปกันมา เสร็จแล้วค่อยพิจารณาจากหลักฐานประกอบพวกนั้น เพื่อตัดสินใจ (bureaucrats จะเป็นผู้ตัดสินใจ จากเสียงสนับสนุน/คัดค้าน และหลักฐาน ดูตรง Decision process) ซึ่งส่วนตัว ผมว่าแบบนี้มันก็ละเอียดดี หมดข้อสงสัย -- 172.176.189.246 02:32, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

I agree that everyone (support/neutral/oppose) should share their (perhaps short) opinions. In my opinion, in the past, we use neutral as oppose. This might be because Thai people dont want to make an enemy ("oppose" looks too strong=). But now i think that "neutral" votes should not be counted.
The weighting scheme seems to be complicated, BTW -__-' จุง 13:15, 1 สิงหาคม 2006 (UTC)

การเปลี่ยนใจ

แล้วก็ ถ้าโหวตไปแล้ว แต่หีบยังไม่ปิด เปลี่ยนใจได้รึเปล่า ? แบบสมมติตอนนี้คัดค้านแล้วเห็นความเห็นต่าง ๆ แล้ว เกิดคล้อยตาม จะสนับสนุนขึ้นมา ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 172.176.189.246 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 02:34, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

โหวตภาพคัดสรร (featured picture) ที่วิกิภาษาอังกฤษ เขาเปลี่ยนใจได้ครับ ใช้วิธีขีดชื่อตัวเองหรือความเห็นเก่าทิ้งแทนที่จะลบไปเฉย ๆ
ผมว่าการโหวตผู้ดูแลนี้ก็ควรจะเปลี่ยนความเห็นได้ คือเวลาเจอข้อมูลการโต้แย้งใหม่ ๆ ก็เอามาใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ต้องไปยึดติดความเห็นเดิมที่อาจมองผิดหรือมองแค่ด้านเดียว -- Lerdsuwa 12:35, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
เห็นด้วยเหมือนกันครับ ว่าควรเปลี่ยนได้ แต่ทั้งนี้ควรจะมีเวลากำหนด "ปิดหีบ" ที่ชัดเจนไปพร้อมกัน ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 172.176.189.246 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:11, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
agree. we should allow members to change their decisions. จุง 13:04, 1 สิงหาคม 2006 (UTC)

สรุปแนวทางการพิจารณาเพื่อรับเป็นผู้ดูแล

เหตุผลที่มีการผู้คุยเรื่องนี้ในตอนนั้น เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนหลายอย่างในระบบการรับผู้ดูแล

ขออนุญาตสรุปความเห็นต่าง ๆ ด้านบนลงมาไว้เป็นแนวทางนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอภิปรายต่อนะครับ

  • การเสนอชื่อ
    • ทุกคนที่ล็อกอิน เสนอชื่อได้ โดยจะต้องมีัเหตุผลสนับสุน
  • ผู้จะได้เป็นผู้ดูแล จะต้องได้รับเสียง "สนับสนุน" มากกว่า 75% จาก "จำนวนผู้ออกเสียง"
    • "จำนวนผู้ออกเสียง" นับเฉพาะจากเสียง "สนับสนุน" และ "คัดค้าน" - ไม่ันับ "เป็นกลาง"
    • ไม่นับคะแนนจากผู้เสนอชื่อ (และ/หรือ)? ผู้ถูกเสนอชื่อ
  • ทุกคนที่ล็อกอินออกเสียงได้ (ยกเว้นกรณีต้องสงสัยว่าจะมีการสร้างบัญชีใหม่ขึ้นมาเพื่ออกเสียง)
  • ทุกคะแนนที่ออกเสียง ไม่ว่าจะสนับสนุน เป็นกลาง หรือคัดค้าน ต้องให้ความเห็นประกอบ และถ้ามีข้อมูลอ้างอิงด้วยก็ให้แจ้ง
  • หลังจากที่ออกเสียงไปแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (เช่นจากคัดค้าน มาเป็นสนับสนุน) โดยใช้วิธีขีดชื่อตัวเองหรือความเห็นเก่าทิ้งแทนที่จะลบไปเฉย ๆ
    • แต่ตอนนับคะแนนเสียงนั้นให้ใช้อันที่เป็นปัจจุบันที่สุดของ ณ เวลานั้น -- การเปลี่ยนแปลงเสียงไม่มีผลย้อนหลัง
  • ระยะเวลา
    • ระยะเวลาออกเสียง 4 สัปดาห์ - นับจากวันเสนอชื่อ
    • ระยะเวลารอการตอบรับ 1 สัปดาห์ - นับจากวันลงออกเสียงวันสุดท้าย
  • กรณีที่ได้รับเสียงสนับสนุนไม่พอ หรือ ผู้ถูกเสนอชื่อตอบปฏิเสธ สามารถถูกเสนอชื่อได้อีกในครั้งต่อไป

หมายเหตุ: เกณฑ์การพิจารณานี้ จะไม่มีผลย้อนหลังกับผู้ที่กำลังถูกเสนอชื่ออยู่ -- bact' คุย 20:46, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)


มีการสรุปและกำหนดให้ชัดเจนกว่าเดิมก็ดีเหมือนกันครับ เพราะผู้ดูแลที่ได้รับการเสนอ จะได้เข้าใจขั้นตอน และหลักการที่ชัดเจนกว่าเดิม ซึ่งผมเองอยากจะเสนอ (และแก้) รูปแบบการเสนอซื้อครั้งต่อไป อย่างเอาส่วนการตอบรับเสนอซื้อย้ายมาอยู่ข้างบน เพราะให้เข้าใจว่า ต้องตอบรับ หรือปฏิเสธเมื่อได้รับการเสนอชื่อ ส่วนเรื่องการแสดงความคิดเห็นเวลาโหวตก็ดีเหมือนกันครับ แต่สำหรับสนับสนุนอาจไม่ต้อง?
อีกจุดหนึ่งคือ ผมคิดว่า 4 อาทิตย์จะนานไปไหมครับ ผมขอเสนอหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิน 1 อาทิตย์ หรือผ่านไป 4 อาทิตย์หลังจากเสนอซื้อ ก็ให้ปิดได้? --Jutiphan | พูดคุย - 03:19, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เรื่องการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ คิดว่าน่าจะมีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้านนะครับ เพื่อความเป็นธรรม (ไม่เช่นนั้น "ราคา/ต้นทุน" ในการคัดค้านจะมีมากกว่าการสนับสนุน)
เรื่องความคิดเห็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะลักษณะของการคัดเลือกผู้ดูแลนั้น ผมคิดว่าน่าจะออกมาในลักษณะการอภิปราย ยกข้อดีข้อเด่น ข้อที่ควรปรับปรุงมาแสดงกัน -- 1) เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ร่วมออกเสียงอื่น ๆ 2) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกเสนอชื่อได้รับฟังความคิดเห็น และชี้แจงหากต้องการ
ลักษณะของวิกิพีเดียอังกฤษ จะเป็นลักษณะเปิดให้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง แล้วดู "น้ำเสียงที่ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกัน" (consensus) ไม่ใช่เป็นเพียงการโหวตเอาคะแนนดิบ - คือมีการพยายามปรับความเข้าใจและเสนอแนะกันในกระบวนการคัดเลือกด้วย เช่นจากเคยคัดค้าน แต่เมื่อได้ดูความเห็นและข้อมูลประกอบอื่น ๆ ที่คนอื่น ๆ แสดงมา และได้พูดคุยกัน ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นสนับสนุนได้ หรือกลับกัน - ไม่ใช่แค่เพียง "เข้าคูหาหย่อนบัตร" แต่เหมือนเป็น "เวทีอภิปราย" เสียมากกว่า -- bact' คุย 19:18, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เรื่องเวลานี่ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ จริง ๆ จะเปิดพิจารณาสั้น ๆ ก็คงได้ ถ้าไม่มีคนสนับสนุนอย่างชัดเจน ก็ "On Hold" ไว้ก่อน รอให้มีการอภิปรายเพิ่มเติม
แล้วค่อยมาเปิดพิจารณาใหม่ เป็นรอบ ๆ ไป (ตัวการอภิปรายก็ยังคงดำเนินไปเรื่อย ๆ ได้ ระหว่างรอพิจารณา) ... ทำไปทำมา ก็เหมือน peer-review แฮะ
-- bact' คุย 19:07, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ข้อมูลประกอบ: en:Wikipedia:Requests for adminship (หมายเหตุ: วิกิพีเดียแต่ละภาษามีนโยบายแตกต่างกันบ้าง) -- bact' คุย 19:18, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมมองว่าคงไม่จำเป็นขนาดนั้นนะครับ (ตอบ anon) ซึ่งหากต้องการแสดงความคิดเห็น อาจเพิ่มส่วนความคิดเห็น ถามตอบ ก็น่าจะโอเค โดยหากใครมีข้อสงสัย อยากถาม ขอความคิดเห็น ก็ให้ถามในส่วนนี้ --Jutiphan | พูดคุย - 21:09, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
รูปแบบจะเป็นยังไงก็ได้ครับ ขอให้มีช่องทางสำหรับ 1) แสดงเหตุผลว่าทำไมถึงสนับสนุน/คัดค้าน (ไม่ใช่เป็นเสียงลอย ๆ ไม่มีเหตุผลรองรับ) 2) ซักถามประเด็นสงสัย เพื่อให้ชี้แจง
จะเป็นส่วนถามตอบรวม (แบบที่คุณ Jutiphan เสนอ (และคุณ Manop ได้ทดลองเพิ่มเข้าไปที่หน้าหลักแล้ว)) หรือจะถามไปเลยในส่วนออกเสียงของแต่ละคนก็ได้ ดูว่าแบบไหนมันสะดวกกว่า/คุ้นเคยกว่าสำหรับชาววิกิพีเดียไทย -- bact' คุย 04:35, 4 มีนาคม 2007 (UTC)

นโยบายใหม่ รูปแบบ ขั้นตอน และการตัดสิน (ณ มีนาคม 2550)

ตอนนี้ผมลองร่างนโยบายโดยเพิ่มเติมขั้นตอนให้กระชับขึ้น รูปแบบจะคล้ายคลึงแบบเดิม โดยจะเพิ่มส่วน "ถามคำถาม" เข้ามา และเนื้อหาอีกเล็กน้อยเอาไว้อ่านสำหรับคนเสนอและคนถูกเสนอ รวมถึงการตัดสินเหมือนที่ทำกันอยู่แต่ไม่ได้มีระบุไว้ครับ ให้สิทธิการตัดสิน (รวมถึงความหนักใจ) ไปให้ผู้ดูแลระบบระดับสูง (bureaucrat) ^_^' --Manop | พูดคุย -   06:33, 4 มีนาคม 2007 (UTC)

การลาออกจากการเป็นผู้ดูแล

สวัสดีครับ ไม่ทราบว่ามีกระบวนการในการลาออกจากการเป็นผู้ดูแลหรือเปล่าครับ? คือช่วงที่ผ่านมาผมงานยุ่งมากและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทางวิกิพีเดียเท่าที่ควร ดังนั้นผมเลยอยากจะขอลาออกจากหน้าที่ตรงนี้ครับ ขอรบกวนผู้ดูแลท่านอื่น ๆ ด้วยครับ ขอบคุณครับ --- Jittat 15:15, 23 มีนาคม 2007 (UTC)

สวัสดีครับทุกท่าน ผมเองก็เช่นเดียวกันกับคุณ Jittat ไม่ได้เข้ามาเลย. แต่ก่อนเคยมีผู้ดูแลบางท่านไม่เต็มใจแต่งตั้งผู้ดูแลใหม่ เนื่องจากเห็นว่าจำนวนผู้ดูแล (อย่างเป็นทางการ) มีเยอะพอแล้ว.

ดังนั้นอาจเป็นการดี ถ้าเอาตำแหน่งผู้ดูแลของผมและคุณ Jittat ให้กับผู้ใช้ท่านอื่นที่มีส่วนร่วมกับวิกิพีเดียมากกว่า -- จุง 16:55, 10 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ซ่อนส่วนการกลับมาทันที แก้ปัญหาการเล่นพรรคพวก

คุณผู้ใช้ Manop ช่วยอธิบายด้วยครับ

คุณผู้ใช้ Manop ได้ซ่อนข้อความนี้ในย่อหน้าแรกของหน้า วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/ส่วนหัว

<!--โดยไม่ต้องเสนอชื่อใหม่กับ[[วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง|ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง]]-->

โดยให้เขียนหมายเหตุแก้ไขว่า "ซ่อนส่วนการกลับมาทันที แก้ปัญหาการเล่นพรรคพวก" อยากทราบว่าหมายความว่าอะไรครับ

การเปลี่ยนแปลงเรื่องกระบวนการแต่งตั้งผู้ดูแลใดๆน่าจะพูดคุยกันก่อนในหน้านี้นะครับ ไม่น่าจะแก้ไขได้เลยทันที แม้จะมีเจตนาดีก็ตามครับ ถ้าเกิดว่าปรึกษาแล้วทุกคนส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็จะได้ลบไปเลยครับ ไม่ต้องซ่อน 58.136.73.26 20:45, 29 สิงหาคม 2007 (ICT)

ด้วยความเคารพ แล้วการที่เพิ่มข้อความที่ว่า "สำหรับผู้ที่เคยเป็นผู้ดูแลระบบมาก่อน และได้ขอลาออก สามารถทำการแจ้งความต้องการเป็นผู้ดูแลระบบได้อีกครั้งโดยไม่ต้องเสนอชื่อใหม่กับผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง" นั้น มีการพูดคุยกันก่อนหรือไม่ ผมก็เห็นว่าไม่มีนะครับ งั้นเพื่อให้เป็นไปตามประสงค์ของผู้ใช้ไม่ประสงค์ออกนาม ผมคิดว่าควรจะเอาข้อความนี้ออกมาอภิปรายในนี้ก่อนนะครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 21:08, 29 สิงหาคม 2007 (ICT)
แล้วคุณ 58.136.73.26 นี่เป็นใครหรือครับ มาใต้น้ำอีกแล้ว --Manop | พูดคุย 04:08, 30 สิงหาคม 2007 (ICT)

คุณสมบัติผู้เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล

น่าจะมีกำหนด คุณสมบัติเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล เรื่อง เวลา ด้วย อย่างเช่น ต้องสมัครเป็นสมาชิกวิกิพีเดียไม่น้อยกว่า 3 เดือน ใครที่สมัครแล้วเสนอชื่อตัวเองเลย ก็น่าจะตกไปอย่างรวดเร็ว --Sry85 19:16, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ข้อนี้ผมเห็นด้วยครับ --Lerdsuwa 12:26, 11 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วยเช่นกันครับ ตอนนี้เห็นมีเขียนไว้ว่า "ควรจะมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 30 วัน ขึ้นไป" ส่วนเรื่องระยะเวลานี้ไม่แน่ใจว่าควรนานเท่าไรครับ --Manop | พูดคุย 13:30, 11 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ผมว่า 3 เดือนก็น่าจะดีครับ ถ้าผู้ที่เสนอชื่อมาแค่ 30 วัน ผมคงโหวตไม่สนับสนุนโดยไม่สนใจว่าแก้ไขมามากน้อยแค่ไหนครับ --Lerdsuwa 16:45, 11 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ขอนำเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีกครั้งนึง เนื่องจาก มีผู้สมัครหน้าใหม่ เสนอรายชื่อผู้ดูแลมา คิดว่า กฎ 3 เดือน นี้ควรระบุเป็นคุณสมบัติผู้เสนอชื่อรึยังครับ เพราะตอนนี้ไม่ได้อยู่ในรายละเอียดข้างต้น --Sry85 22:54, 6 มกราคม 2552 (ICT)
ผมลองแก้กฎในหน้า วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล แล้วและปรับภาษาให้สั้นกระชับขึ้นครับ ถ้าภาษายังไม่ค่อยดีก็แก้ไขได้ครับ --Lerdsuwa 14:10, 7 มกราคม 2552 (ICT)

ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน

ข้อเท็จจริง
  1. ข้อความปัจจุบัน
    • ไทย ผู้ใช้คนอื่น (นอกจากผู้เสนอชื่อและตัวผู้ถูกเสนอเอง) สามารถลงชื่อให้การสนับสนุน เป็นกลาง หรือคัดค้านได้ พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ
    • อังกฤษ Any Wikipedian is welcome to comment in the Support, Oppose, and Neutral sections, but only those with an account may place a numerical (#) "vote".
  2. ใน วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/B20180 ซึ่งปิดไปแล้ว ผมได้เสนอชื่อและโหวตประเดิมไป ไม่มีผู้ใดคัดค้าน
  3. การเสนอในปัจจุบัน ผมได้ลงชื่อสนับสนุนไป คุณ ScorpianPK ทักท้วง ผมยอมรับและถอนออก และจะไม่ลงคะแนนอีกในการเสนอครั้งนี้
ข้อเสนอที่ต้องการให้ชุมชนรับรอง
  1. การเสนอที่ผ่านไปแล้ว B20180 ให้ถือว่าดำเนินไปโดยชอบแล้ว โดยนับเสียงผมไปด้วยตามปกติ ไม่ต้องถอนออก (เพราะไม่มีการคัดค้านในเวลาอันสมควร)
  2. การเสนอในอนาคต เสนอให้ตัดข้อความ (นอกจากผู้เสนอชื่อและตัวผู้ถูกเสนอเอง) ออก ด้วยเหตุผลดังนี้
    • ในทางปฏิบัติของการเมืองระดับชาติ คนจะเป็นนายกฯ จะโหวตตัวเองก็ได้ แต่เขามักงดออกเสียง ผู้ใช้ท่านอื่นมีวิจารณญาณดูเองได้ว่าผู้ถูกเสนอเป็นคนเช่นไร ในบริบทการลงคะแนน
    • กรณีที่ผู้เสนอกับผู้ถูกเสนอเป็นคนละคนกัน หากไม่ให้ผู้เสนอลงคะแนนดูเหมือนจะเป็นการปิดกั้นทำให้ผู้ถูกเสนอเสียคะแนนจากผู้ถูกเสนอไปหนึ่งคะแนนโดยไม่จำเป็น ผู้ใช้ท่านอื่นมีวิจารณญาณดูเองได้ว่าการลงคะแนนนี้เหมาะสมหรือไม่
    • การแก้ไขนี้อย่างมากก็อาจทำให้คะแนนเพิ่มสองคะแนน การเลือก admin ไม่ได้ดูเพีึยงเสียงข้างมากกว่าครึ่ง ต้องมีเหตุผลที่สมควร และโดยส่วนใหญ่การลงคะแนนที่เป็นผลสำเร็จจะต้องมีผู้เห็นด้วยราว 80%

--taweethaも 17:45, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)

แสดงความเห็น
  • ไม่เห็นด้วยเพราะอาจมีการฮั้วกันโหวตครับ เพราะเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า ผู้เสนอชื่อย่อมสนับสนุนผู้ถูกเสนอชื่อ และผู้ถูกเสนอชื่อย่อมสนับสนุนตัวเอง แม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าคะแนนเสียงคัดค้านมีเพียงหนึ่ง และไม่มีคะแนนเสียงอย่างอื่นอีก (สนับสนุน:คัดค้าน = 2:1 คะแนน) ก็เท่ากับได้รับเลือกโดยปริยาย ดังนั้นมาตรการไม่ให้สองคนนี้สนับสนุนจึงเป็นการป้องกันแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้วิกิพีเดียไม่ใช่ประชาธิปไตย(แบบไทย) --octahedron80 17:48, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
  • เหตุผลที่แนบมา ผมก็ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ผู้เสนอชื่อจะเป็นคนลงคะแนนเลยครับ จริง ๆ ผู้เสนอกับผู้ถูกเสนอก็ต้องสนับสนุนกันอยู่แล้ว เพื่อตัดปัญหาฮั้วกันเอง ก็งดออกเสียงไป คะแนนสองคะแนนก็ไม่มีผลอะไรอยู่แล้วนี่ครับ เพราะ "การเลือก admin ไม่ได้ดูเพีึยงเสียงข้างมากกว่าครึ่ง ต้องมีเหตุผลที่สมควร" หรือ " ผู้ใช้ท่านอื่นมีวิจารณญาณดูเองได้ว่าการลงคะแนนนี้เหมาะสมหรือไม่" นะครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:36, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
  • ไม่เห็นด้วยเช่นกันครับ
    • ที่ว่าจะทำให้เพิ่มขึ้นคะแนนสองคะแนนนั้น ผมเห็นว่า ก็ก่อให้เกิดเสียงชี้ขาด (casting vote) ได้นะครับ กรณีเดียวกับที่คุณ octahedron80 อธิบายไว้ (เช่น ตอนที่ผู้เสนอชื่อยังไม่ได้ลงความเห็น มีเห็นชอบ 10 : ไม่เห็นชอบ 10, ถ้าผู้เสนอชื่อจะลงความเห็น ก็ก่อให้เกิดเสียงชี้ขาดได้ทันที ไม่ว่าจะลงข้างไหนก็ตาม (ซึ่งเราก็รู้กันอยู่แล้วว่า คงจะลงฝ่ายเห็นชอบ)) ในกรณีคะแนนเสียงเท่ากันแบบนี้ควรจะใช้วิธีการอย่างอื่น (จัดให้ลงคะแนนกันใหม่ หรืออื่น ๆ เป็นต้น ผมเห็นในวิกิฯ อังกฤษมีคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการไว้วินิจฉัยด้วย)
    • กรณีผู้เสนอชื่อสามารถลงคะแนนได้นั้น ผมเห็นว่า จะเป็นที่ครหา เหมือนตอนประชา พรหมนอก โหวตตัวเองเป็นนายกฯ ซึ่งเป็นคนแรกที่ทำแบบนี้ในสภา (ทั้ง ๆ ที่ตัวเขาเองเข้าประชุมสภา 6 เดือน 1 ครั้ง - สถิติจากไทยพีบีเอส) เอาได้นะครับ โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า ผู้เสนอควรอยู่อย่างสงบนิ่งมากกว่าครับ
    • "ผู้เสนอชื่อ" ของผม หมายความรวมทั้ง ที่เป็นคนเดียวกับผู้ได้รับการเสนอชื่อ และที่ไม่ใช่
    --Aristitleism 18:42, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
  • ตรงนี้ผมมองว่าผู้ถูกเสนอชื่อไม่ควรลงคะแนนครับ เป็นเรื่องของความสง่างาม ส่วนผู้เสนอชื่อกรณีที่เป็นคนละคนกับผู้ที่ถูกเสนอชื่อ ตรงนี้ผมเฉยๆครับ เพราะเป็นแค่หนึ่งเสียง ที่ผ่านมาต้องการใช้ผู้ที่จะได้เป็นผู้ดูแลมีเสียงสนับสนุนแบบชนะขาด ถ้าคะแนนเห็นชอบกับไม่เห็นชอบแค่สูสีกัน แสดงว่ามีความศรัทธาจากสมาชิกท่านอื่นไม่มากเท่าที่ควรก็ยังไม่ควรเป็นผู้ดูแลครับ --Lerdsuwa 00:44, 7 สิงหาคม 2554 (ICT)
  • อย่างไรก็ได้ครับ ผมมองว่าถ้าของไม่จำเป็น ตัดออกแล้วก็สั้นลง เป็นการทำกระบวนการให้ง่ายขึ้น แต่มีไว้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรเช่นกัน (เพราะเราไม่ได้ยึดคะแนนดิบการโหวตอย่างเดียว ดูความเห็นคุณ Lerdsuwa)
    • อย่างไรก็ดีประเด็นตรงนี้ไม่ใช่ผู้เสนอ/ผู้ถูกเสนอควรโหวตหรือไม่ แต่เป็นเพียงว่าควรเขียนห้ามไว้อย่างชัดเจนหรือเปล่าเท่านั้นครับ ผมเห็นด้วยกับคุณ Lerdsuwa ที่ว่าผู้ถูกเสนอไม่ควรโหวต ส่วนคนเสนอโหวตได้ แต่ผมคิดว่าไม่ต้องเขียนห้ามก็รับรู้ได้ (ถ้าผมเห็นคนโหวตให้ตัวเอง ผมและคนอื่นๆอีกหลายคนคงไปโหวตค้านแน่นอน) ตรงนี้จึงเสนอให้ตัดข้อความทั้งวงเล็บออกไป - แต่ถ้าไม่ตัดมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากมายครับ --taweethaも 11:19, 7 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • เรื่องข้อความ ความเห็นผม ผมว่าใส่ไว้ชัดเจนก็ดีครับว่าจะลงได้หรือไม่ได้ จะได้ไม่ต้องกลับมาถกเถียงหรือตีความอีกว่าตกลงมันเป็นยังไงกันแน่ --Lerdsuwa 14:57, 7 สิงหาคม 2554 (ICT)

ต้องมีเหตุผลที่สมควร

จากข้อความที่ว่า "ต้องมีเหตุผลที่สมควร" น่าคิดต่อไปว่า ควรนับการลงคะแนนที่ไม่มีเหตุผลประกอบด้วยหรือไม่ เพราะไม่เป็นไปตามที่กำหนด --Horus | พูดคุย 17:56, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)

โดยปกติแล้วคนที่ลงคะแนน ก็ต้องมีเหตุผลในตัวเองที่จะเลือก แต่อาจจะขี้เกียจพิมพ์ หรือมีความเห็นเหมือนกับคนอื่น ๆ ที่ได้ออกความเห็นไปแล้วก็ตาม ถ้าผลของการโหวตระหว่าง "นับเฉพาะระบุเหตุผล" กับ "นับทุกโหวต" ไม่แตกต่างกัน ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าแตกต่าง ก็ควรถือเฉพาะ "นับเฉพาะระบุเหตุผล" เป็นเกณฑ์ ในทางตรงข้ามถ้าเขียนเหตุผลแบบไร้สาระเช่น อ่านไม่เป็นภาษามนุษย์ หรือก่อกวน เช่นนี้ก็ไม่ควรนับ นอกจากนี้ เกณฑ์ที่ปฏิบัติกันอยู่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นโหวตเรื่องอะไร เราไม่นับการโหวตจากไอพี และผู้ใช้ใหม่ (สมัครเข้ามาเพื่อโหวต) อีกด้วย เพื่อป้องกันการปั๊มคะแนนโดยมิชอบ (แม้ว่าจะมีเหตุผลยืดยาวก็ตาม) --octahedron80 18:12, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
ในทางปฏิบัติ เราสามารถบอกกล่าวให้คนที่ลงคะแนนแบบไม่ระบุเหตุผล ให้ใส่เหตุผลของเขาเพิ่มได้ จึงไม่น่าจะมีปัญหา --octahedron80 18:16, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)

ถามเรื่องการเสนอซ้ำ

เช่นต้องการเสนอชื่อมหาธีร์ซ้ำเนี้ยต้องทำยังไง เพราะว่ามันปิดการเสนอชื่อไปแล้ว หรือว่ามหาธีร์จะไม่ได้เป็นผู้ดูแลระบบอีก? --KLL Joe 17:56, 16 สิงหาคม 2554 (ICT)

ให้ย้ายหน้าเดิมไปเป็นกรุ 1 (เดิม /กรุ 1 หลังชื่อผู้เสนอ เช่นใน วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/Jo Shigeru/กรุ 1) แล้วสร้างหน้าเสนอชื่อใหม่ แปะ {{กล่องกรุ}} ไว้ในหน้าเสนอชื่อใหม่ เช่นที่กระทำใน วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/Jo Shigeru ครับ --∫G′(∞)dx 18:57, 16 สิงหาคม 2554 (ICT)
กลับไปที่หน้าโครงการ "เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/กรุ 1"