คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บทความคุณภาพคืออะไร

บทความคัดสรรและบทความที่มีคุณภาพดี แก้

วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)#บทความคัดสรรและบทความที่มีคุณภาพดี กำลังพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง บทความที่ดี/บทความคุณภาพ -- bact' คุย 16:54, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ แก้

กำลังร่าง วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ อยู่ - เชิญครับ -- bact' คุย 17:48, 2 มีนาคม 2007 (UTC)

คำถาม แก้

(ก) แสดงแหล่งอ้างอิงที่มาอย่างครบถ้วน สำหรับทุกการอ้างอิง
  • สำหรับทุก"การอ้างอิง" ควรจะเป็น สำหรับทุก"เนื้อหา" หรือ สำหรับ"เนื้อหาทั้งหมดของบทความ" หรือเปล่า? Patiwat 23:56, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
เอ้อ ใช่ - -" ผมเขียนผิดเองครับ - -" -- bact' 11:09, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

ข้อ 1 (ง): คู่มือในการเขียน แก้

ผมจะแก้ 1 (ง) จาก "การเขียนที่คลาดเคลื่อนจากมาตรฐานคู่มือในการเขียนนั้น ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง" เป็น "ไม่คลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง จากมาตรฐานคู่มือในการเขียน" เหตุผล:
  1. มันจะตรง en:Wikipedia:What is a good article? ที่เขียนว่า It does not seriously violate the standards in Wikipedia Manual of style. มาตรฐานพื้นฐานของวิกิแต่ละวิกิไม่ควรจะต่างกันถึงขั้นนี้. "ไม่ควรผิดกฏอย่างร้ายแรง" มันต่างกันมากๆ กับ "การทำผิดกฏ ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง"
  2. ข้อ (ก) ถึง (ค) เขียนในลักษณะ Prescriptive (คำสั่งเชิงให้กระทำ, ตัวอย่าง: จงใช้สำนวน..., จงมีโครงสร้าง, :จงอธิบายศัพท์) ข้อ (ง) ก็ควรจะเขียนในลักษณะเ้ดียวกัน.

นี้เป็นเรื่องนโยบาย ผมไม่อยากฟันธง ขอความเห็นจากผู้อื่น. Patiwat 00:15, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมเขียนโดยใช้ภาษาแบบเชิงประนีประนอมครับ ทำไมครับ ต้องเขียนให้มันเหมือนกับอังกฤษแปะ ๆ เหรอครับ ภาษาแค่นี้ผมอ่านออกนะครับ ไม่ใช่อ่านไม่ออก แค่ต้องการลดความรุนแรงให้เบาบางให้เข้าสังคมในวิกิไทย ผมบอกแล้ววิกิอังกฤษก็เป็นในรูปแบบของอังกฤษ วิกิไทยก็มีรูปแบบของวิกิไทย อะไรที่ดีเอามาประยุกต์ใช้ ไม่ใช่ลอกมาทั้งดุ้นแบบคนไม่มีความคิด เข้าใจไหมครับ ว่าอะไรคือการปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อให้เข้ากับวิกิไทย คุณ Patiwat น่าจะเข้ามาใช้เวลากับวิกิไทยให้มากกว่านีนะครับ เพื่อจะได้รู้ว่าอะไรเหมาะกับวิกิไทย อะไรไม่เหมาะกับวิกิไทย ไมใช่อะไร ๆ ก็เอาวิกิอังกฤษมาใช้โดยไม่คิดคำนึงว่าอะไรเหมาะไม่เหมาะกับวิกิไทยนะครับ
ข้อ 2 นี่ตีความไปเองหรือเปล่าครับ ทำไมไม่คิดว่าเป็น กรุณา"ใช้" กรุณา"มี" กรุณา"อธิบาย" นี่เค้าอุตส่าห์เขียนให้ดูกลาง ๆ ไม่ใช่ประโยคคำสั่ง คุณยังตีความไปได้ไกลแบบจินตนาการล้ำเลิศซะขนาดนั้น ผมชักสงสัยว่าคุณคงคุ้นเคยกับวิกิอังกฤษมากเกินไป ที่นั่นคงบังคับทุกอย่างนะสินะ ขนาดเขียนภาษาไทยยังใส่จุดฟูลสต๊อปอีก ผมว่าว่าง ๆ หัดกลับมาประเทศไทย เรียนรู้สังคมไทยหน่อยก็ดีนะครับ ด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่งยวดฉันมิตรที่พึ่งกระทำ --  ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 03:23, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
ท่าจะต้องอธิบายให้รู้กระจ่างแน่นอนซะละมั้ง? ว่านี่มันวิกิพีเดียไทย ไม่ใช่วิกิพีเดียอังกฤษ รูปแบบการเขียนไม่จำเป็นจะต้องมาเหมือนกันทุกอย่างเหมือนกับส่องกระจก อะไรที่มันดีก็ควรเอาอย่างบ้าง (เพียงบางเรื่อง) มันก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าอะไรที่มันมากเกินไปก็ไม่ต้องเอามายัดเยียดใส่ในหัวสมองให้กับชาววิกิพีเดียไทย การมาพูดเหมือนกับว่าจะต้องเหมือนกับวิกิอังกฤษไปซะทุกเรื่อง มันไม่ถูกต้อง วิกิพีเดียอังกฤษอาจจะโหดไปในบางเรื่อง แต่นี่มันวิกิพีเดียไทย ควรจะประนีประนอม ยืดหยุ่นไม่ใช่ตรงทื่อเป็น...แบบนี้ และที่สำคัญ คำสั่งเชิงให้กระทำเช่น จง...จง หลาย ๆ จงอะไรของคุณน่ะ มันใช้กับวิกิพีเดียไม่ได้หรอก รู้จักแมวมั้ย? ยิ่งบังคับมันก็จะยิ่งหนี ยิ่งคุณใช้คำสั่งเชิงให้กระทำมากเท่าไหร่ วิกิพีเดียก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่คุณต้องการหรอก และอีกอย่างรู้สึกว่าคุณจะค่อนข้างหนักไปทางวิกิพีเดียอังกฤษ อย่าลืมว่านี่ประเทศไทยนะคุณ ไม่ใช่ประเทศอังกฤษหรือหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ไม่งั้นเขาจะมีวิกิพีเดียในแต่ละรูปแบบภาษาไว้ทำไมไม่ทราบ? --Se:Rin | พูดคุย - 03:57, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมเห็นด้วยกับประเด็นว่า - "ไม่ควรผิดกฏอย่างร้ายแรง" มันต่างกันมากๆ กับ "การทำผิดกฏ ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง" - ส่วนเรื่องสำนวนภาษานั้น จะเขียนอย่างไรก็พิจารณาให้เหมาะสม, อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจะให้ สารที่จะสื่อ นั้นคลาดเคลื่อนไป -- bact' 10:53, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ครับผม ในหน้าของ "วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน" ระบุอย่างชัดเจนว่า "ข้อมูลที่ถูกต้องและการเขียนโดยไม่ลำเอียงมีความสำคัญมากกว่ารูปแบบที่ถูกต้อง" ครับ ดังนั้น การจัดรูปแบบนั้นไม่น่าจะมีผลต่อการคัด GA มากนักครับ ส่วน "การเขียนที่คลาดเคลื่อนจากมาตรฐานคู่มือในการเขียนนั้น ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง" นั้น ไม่ได้บอกว่าไม่ผิดนะครับ "ผิดแต่ไม่ร้ายแรง" ครับ และคู่มือในการเขียนนั้นน่าจะเป็นการแนะนำว่าควรจะเขียนยังไง ไม่ใช่อะไรที่จะมาบังคับให้เขียนยังไงครับ และรูปแบบการเขียนนั้นปรับปรุงแก้ไขได้แน่นอนไม่ใช่เรื่องใหญ่เลยครับ เรื่องแบบนี้ก็พูดยากครับ อะไรคือเกณฑ์ที่จะบอกว่าร้ายแรง ไม่ร้ายแรงหรือครับ ความรู้สึกของแต่ละคนก็ต่างกันแล้ว ชี้แจงอีกครั้งครับที่ผมเขียนแนวนั้นก็กล่าวแล้วว่าเอาหลักจากวิกิภาษาอังกฤษมาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับวิกิไทย ไม่คิดจะแปลจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่งอย่างเข้มงวดครับผม ดังนั้นผมตั้งใจที่จะสื่อในแนวนั้นมิได้คลาดเคลื่อนจากความตั้งใจครับผม เรื่องนี้คงต้องให้คนอื่น ๆ มาออกความเห็นช่วยกันครับ ว่าจะเอายังไงถึงจะเหมาะกับวิกิไทยที่สุดครับผม ^_^ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 11:14, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

ข้อ 2 แก้

รู้สึกว่าตอนนี้ไม่ครบ จึงเสนอเพิ่ม:
  • บทความควรจะอ้างแหล่งอ้่างอิงโดยใช้ เชิงอรรถ โดยเฉพาะบทความที่ยาว. เนื้อหาใดที่เป็น หรือน่าจะเป็นที่กังขา หรือที่โต้เถียง ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง.
  • แหล่งอ้่างอิงที่ใช้ ควรจะตรงหลักเกณฑ์แหล่งอ้างอิงในวิกิพีเดีย คือ เป็นแหล่งข้อมูลบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้เสียกับเนื้อหา ตรวจสอบพิจารณาจากแหล่งอื่น และควรเป็นภาษาไทย.
ขอความเห็นจากผู้อื่น. Patiwat 00:33, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
ทำไมต้องคิดว่าแหล่งอ้างอิงต้องเป็นภาษาไทยครับ ถ้าไม่รู้จะบอกดารเขียนบทความในทางการแพทย์ส่วนมากใช้อ้างอิงภาษาอังกฤษก็ไม่ผิดเพราะหนังสือไทยหายากมาก ถ้าจะให้เป็นอ้างอิงไทยก็คงไปรอให้ศาสตารจารย์มานั่งแต่งเป็นภาษาไทยล่ะครับ 5ปี 10 ปี หรือ ชาติหน้า?? ดังนั้น ไม่ควรระบุในนี้ครับ --  ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 03:19, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
เฮ้อ!!! ท่าทางคุณนี่จะเก่งแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียวนะ ภาษาไทยถึงไม่กระดิกเลยสักกะตัว เหนื่อยใจจริง ๆ อ้อ...รู้สึกจะนักเรียนนอกนี่นะ มิน่า...เอางี้ ข้อแรกก็ง่าย ๆ ก่อน คุณน่ะเข้าใจความหมายของคำว่า เชิงอรรถ กับ อ้างอิง หรือเปล่า? แต่ดูท่าทางแล้วคงจะไม่รู้แน่ ๆ ว่าเชิงอรรถกับอ้างอิงมันคนละเรื่องกันเลย งั้นก็ขออธิบายซะหน่อย เผื่อคุณจะได้กระจ่างกว่านี้ ความหมายมันก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกัน เชิงอรรถน่ะเขาจะใส่ไว้ในระหว่างประโยค เป็นการอธิบายความหมายหรือขยายความของคำบางคำ อย่างเช่น
  • Mechanical Work (1)
  • Gas Turbine (2)

เขาก็จะอธิบายไว้ด้านล่างสุดของหนังสือหรือบทความ อธิบายความของ (1) ซึ่งคือคำว่า Mechanical Work ว่ามันหมายความถึง พลังงานกลที่ได้จากการเผาไหม้ภายในห้องเผาไหม้ เชื้อเพลิงเมื่อผสมกับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงเกิดการเผาไหม้กลายเป็นแก๊สร้อนไปขับกังหันหรือ TURBINE ให้หมุนเกิดกำลังงานกลส่งออกไปใช้งาน นี่แหละเขาเรียกเชิงอรรถ

ส่วน (2) ก็จะอธิบายความหมายของคำว่า GAS TURBINE ว่ามันเป็นเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในชนิดหนึ่ง

ส่วนอ้างอิงน่ะมันก็ตัวเดียวกับบรรณานุกรมในหนังสือ (เคยเปิดดูมั่งมั้ย? หนังสืออังกฤษเขาก็มี หรือไม่เคยดู?) นี่ อ้างอิงน่ะหน้าตามันเป็นแบบนี้

  • กำธร ธีรคุปต์, ปีเตอร์ แอล แวนไดค์, ธวิทย์ ภู่ประดิษฐ์, พงศกร อนามิกา, นิพนธ์ ศรีนฤมล, อุบลวรรณ บุญฉ่ำ และนิสิตภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2536. เต่าและตะพาบน้ำของไทย. โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล มฺลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  • กรมประมง. 2522. สัตว์ทะเลที่เป็นภัยต่อชีวิต. หน่วยสำรวจแหล่งประมง, กรมกระมง. 124 หน้า.
  • จารุจินต์ นภีตะภัฏ. 2531. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน. องค์การค้าของครุสภา. 56 หน้า.

นี่แหละเขาเรียกว่าอ้างอิง เขียนแบบนี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคนละความหมาย การที่คุณจะเอามารวมเป็น

  • บทความควรจะอ้างแหล่งอ้่างอิงโดยใช้ เชิงอรรถ โดยเฉพาะบทความที่ยาว. เนื้อหาใดที่เป็น หรือน่าจะเป็นที่กังขา หรือที่โต้เถียง ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง.

มันจะเอาสองสิ่งนี้มารวมกันไม่ได้ จะอ้างอิงก็อ้างอิง จะเชิงอรรถก็เชิงอรรถ มันคนละประเด็นอยู่แล้ว แล้วก็อีกข้อ การอ้างอิงควรจะเป็นภาษาไทย ถามหน่อยเหอะ หนังสือที่มันเฉพาะเรื่องเจาะจงในไทยน่ะมีเยอะหรือเปล่า? อย่างหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ แทบจะหาฉบับภาษาไทยไม่ได้เลย มีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้น แล้วไอ้การที่จะเอาหนังสือภาษาอังกฤษมาเป็นอ้างอิง มันผิดตรงไหนไม่ทราบ? อย่างการเขียนบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ถ้าอ้างอิงภาษาไทยไม่มีก็ต้องดิ้นรนหาอ้างอิงภาษาอังกฤษ ไม่งั้นเดี๋ยวคุณก็มาบอกว่าต้องการแหล่งอ้างอิงอีกหรอก หรือไม่จริง?

อย่างบทความสัตว์ที่เขียนไว้ ยกตัวอย่างเช่น เหี้ย หาข้อมูลภาษาไทยไม่ค่อยจะได้เลย ได้มาก็แค่ เหี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ลิ้นสองแฉก ผิวหนังเป็นเกล็ดปกคลุมตัว เนี่ย ได้มาแค่นี้สำหรับอ้างอิงไทย แต่ลองไปหาในหนังสือภาษาอังกฤษสิ มีให้เยอะแยะไป ไม่เชื่อลองไปหาดู อย่างถ้าหาจากเนี่ย

  • Cockrum, E. L. and W. J. McCauley. 1965 Zoology. W. B. Saunders Co., Philadelphia and London. 705 pp.

ก็เอามาเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้สบาย...ไม่เห็นจำต้องจะต้องมาใช้อ้างอิงภาษาไทยอย่างเดียว ลองไปดูตามห้องสมุด หนังสือภาษาไทยที่จะหามาอ้างอิงได้น่ะมันมีน้อย มันไม่ลึกซึ้งละเอียดจริง ๆ เหมือนกับหนังสือภาษาอังกฤษ คุณก็น่าจะรู้ว่าส่วนมากหนังสือไทยก็แปลมาจากหนังสืออังกฤษนี่แหละ --Se:Rin | พูดคุย - 05:01, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

อีกอย่างบทความของฟาโรห์อียิปต์ ตุตันคามุนน่ะ หนังสือภาษไทยที่จะใช้เป็นแหล่งอ้างอิงมันก็มี แต่น้อย เอามาอ้างอิงได้นิดหน่อย แค่ประวัติ การสืบราชบัลลังก์เท่านั้น แต่นี่ อยากให้คุณใช้ความคิดของคุณมาดูตรงนี้ เมื่อไม่นานมานี้เขาได้ทำการ CT-scan กะโหลกศีระษะของพระองค์ เพื่อจำลองเค้าพระพักตร์ของพระองค์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งผลของการจำลองเค้าพระพักตร์ทำให้เห็นว่าพระพักตร์ของพระองค์นั้นเป็นยังไง ตรงนี้สำคัญสำหรับบทควมนี้ เพราะเป็นข่าวไปทั่วโลก อย่างนี่น่ะ
  • Nation & World / Wednesday, May 11, 2005 - Page updated at 12:00 a.m.

Thre views of king Tut in reconstructions by Maamoun Youssed The Associated Press

CAIRO, Egypt - The first CT-scan facial reconstructions of King Tutankhamus's mummy have produced images strikingly similar to the boy pharaoh's ancient portraits, with one model showing a baby-faced young man with chubby cheeks and a round chin.

That model, one of three released yesterday, bears a strong resemblance to the gold mask of king Tut found in his tomb in 1992 by the british excavation led by Howard Carter. The beardless man depicted in the mask has soft features and a weak chin, and his eyes are highlighted by thick eyeliner.

เอ้า เอาง่าย ๆ แค่นี้แหละ ถามหน่อยว่าในประเทศไทยมีแหล่งอ้างอิงเฉพาะภาษาไทยเกี่ยวกับการทำ CT-scan เหมือนกับอ้างอิงอังกฤษแบบนี้หรือเปล่า? มันก็ไม่มี แล้วไม่ให้ใช้แหล่งอ้างอิงภาษาอังกฤษ แล้วจะให้ใช้แหล่งอ้างอิงอะไรไม่ทราบ?--Se:Rin | พูดคุย - 05:26, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

สวัสดีครับ คุณ Patiwat ถ้าถามความเห็นผม ผมว่า 2 ข้อข้างต้นนั้น เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงทั้งคู่ ซึ่งตรงกับในข้อ 2(ก) ดังนั้น เพื่อความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อเกินไปน่าจะเอามารวมกันเลยดีไหมครับ อาจจะเขียนเป็น "แสดงแหล่งอ้างอิงอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่เป็นที่กังขาหรือมีข้อโต้แย้ง ต้องมีแหล่งอ้างอิงอย่างชัดเจน" ส่วนต้องเปลี่ยนนโยบายอ้างอิงไหม คงไม่ต้องเปลี่ยนครับผม เพราะที่นโยบายไม่มีข้อไหนระบุว่าการอ้างอิงต้องใช้แหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทยเท่านั้นครับผม แล้วคุณ Patiwat มีความเห็นประการใดครับผม อ้อ ถ้าผมล่วงเกินหรือสร้างความไม่พอใจให้ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ ^_^ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 10:35, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ขอถามอีกครั้งนะครับ เพราะภาษาไทยผมไม่กระดิกเลยสักกะตัว ว่าอะไรอย่าง "Sources should be referenced using in-line citations" ควรจะแปลเป็นไทยอย่างไร? อ่านที่ ScorpianPK กับ Se:Rin เขียนตั้งหลายรอบก็ยังงง. บทความควรจะอ้างแหล่งอ้่างอิงโดยใช้เชิงอรรถ -> อ้าง = refer, แหล่งอ้่างอิง = sources / references, เชิงอรรถ = citation/footnote ไม่ใช่เหรอ? Patiwat 17:37, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
    • อันนี้คงต้องรบกวนอ่านคำอธิบายของคุณ Se-rin ดูอีกสักรอบครับ ว่าเชิงอรรถในภาษาไทย มันแปลว่าอะไรและแตกต่างจากอ้างอิงยังไงครับ และอีกครั้งครับการแปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยแบบ 100% มันใช้ไม่ได้เสมอไปนะครับ ลองดูครับผม ถ้ามีข้อสงสัยผมว่าเดี๋ยวคุณ Se-rin คงมาอธิบายให้ครับ เพราะเขาเชี่ยวชาญด้านนี้กว่าผมครับ^_^--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:25, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

เรื่องการแยกไม่มีปัญหา แต่ตอนนี้มีปัญหาเชิงเทคนิคอยู่ว่า จะแยกเชิงอรรถกับอ้างอิงออกจากกันยังไง เพราะมันใช้แท็ก ref เหมือนกัน หรือจะทำด้วยมือไปก่อน (เอาเลขใส่และรวมเชิงอรรถข้างท้ายเอง) --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 12:06, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
เท่าที่ผมเข้าใจคือในกรณีที่อ้างอิงให้ใช้ <ref>....</ref> (วิธีแนะนำ) ส่วนเรื่องคำไทยควรจะใช้อะไร ไม่แน่ใจเหมือนกัน --Jutiphan | พูดคุย - 18:06, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
อันนี้เป็นปัญหาเชิงเทคนิคครับ ด้วยความรู้ที่อ่อนด้อยของผม ก็ไม่รู้จะแก้ยังไงครับ เดี๋ยวขอไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนถ้ามีทางออกจะได้เอามาบอกกล่าวกันนะครับ แต่เห็นบางบทความของวิกิอื่นเขาเลี่ยงไปใช้อ้างอิงแบบเป็นหัวข้อ (* หนังสืออ้างอิง) และเชิงอรรถ ก็ไปใช้<ref>....</ref> แทนครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 18:25, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมคิดว่า ถ้าสามารถสร้างแท็กใหม่ขึ้นมาอีกอันให้ใช้งานคล้ายกัน เช่น <อรรถ> เป็นต้น (สมมติ) แล้วสามารถแยกเชิงอรรถออกจากอ้างอิงเป็นส่วนใหม่ได้ด้วย <เชิงอรรถ> ก็จะสะดวกไม่น้อย เพราะแทบทุกบทความใช้ <ref> แทนอ้างอิงกันหมด จะตามแก้อ้างอิงให้เป็นหัวข้อดอกจันก็เสียเวลา (เปลี่ยนแท็กง่ายกว่าแยะ) เพราะฉะนั้น ใครแก้ source php ได้ก็ฝากไปดูหน่อยละกัน และอย่าลืมสำรอง source ไว้ด้วยครับ เผื่อวิกิเวอร์ชั่นใหม่มาลงทับเดี๋ยวก็มีปัญหามาอีกระลอก (แท็กหาย) --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 18:49, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับคุณ Octahedron80 ถ้ามีจะสะดวกไม่น้อยครับ ใครสร้างเป็นก็รบกวนช่วยสร้างหน่อยก็จะมีประโยชน์ไม่น้อยครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 19:01, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมอาจจะเข้าใจผิด (เรื่องนี้ไม่คล่อง คงต้องไปหาความรู้ก่อน) ก็ให้มีใช้แต่อ้างอิงอย่างเดียว เชิงอรรถคงไม่ต้องเพราะว่า เป็นวิกิ โดยให้ลิงก์ไปบทความที่อธิบายเรื่องดัวกล่าวแทน ซึ่งวิธีนี้น่าจะแก้ปัญหาได้ (ส่วนเรื่องแก้หรือเพิ่มคงทำไม่ได้อะครับ) --Jutiphan | พูดคุย - 19:31, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ลองดูที่ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นตัวอย่างครับ ผู้เขียนบทความนี้ เขาใช้เชิงอรรถ ซึ่งผมก็พึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกมั้งครับ แล้วก็จะรู้ความแตกต่างมากขึ้นครับ ว่าเชิงอรรถเป็นยังไง ทำไมต้องมีเชิงอรรถ หรืออะไรก็แล้วแต่ หรือมี comment อะไรก็ลองเสนอผู้เสนอบทความนี้ดูให้เขาแก้ไขเรื่องเชิงอรรถครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 19:51, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ขอบคุณมากครับ เข้าใจแล้วครับ ท่าอย่างนั้น สำหรับตอนนี้ คงต้องใช้การรวมกันอย่างที่คุณ ScorpianPK แนะนำไปก่อนครับ คือไฟล์ php ท่าจะแก้ไม่ได้อะครับ (ถ้าแก้ได้ อาจแก้ได้หลายอย่าง เช่นเวลา etc. etc.) --Jutiphan | พูดคุย - 19:56, 11 มีนาคม 2007 (UTC)


อีกวิธีที่เห็นเคยใช้กันคือ รูปแบบการเขียนข้อมูลแหล่งอ้างอิงแบบ ชื่อหนังสือ-ปี (หรือชื่อเขียน-ปี) และการเขียนข้อความอธิบายเพิ่มเติม ในส่วน "เชิงอรรถ" ส่วนข้อมูลแหล่งอ้างอิงเต็ม ก็ใส่ไว้ในส่วน "แหล่งอ้างอิง" ตัวอย่าง (ขอใช้ตัวอย่างเดียวกับที่ Se:rin เคยยก):
เหี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ผิวหนังเป็นเกล็ดปกคลุมตัว1 ลิ้นสองแฉก (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน, 2531: 53)
==เชิงอรรถ==
1. อย่างไรกตาม มีเหี้ยบางชนิดที่มีผิวหนังเรียบ เพื่อประโยชน์ในการว่าน้ำ (Cockrum and McCauley, 1965: 54)
==แหล่งอ้างอิง==
Cockrum, E. L. and W. J. McCauley. 1965 Zoology. W. B. Saunders Co., Philadelphia and London. 705 pp.
จารุจินต์ นภีตะภัฏ. 2531. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน. องค์การค้าของครุสภา. 56 หน้า.
ถ้่าใช้รูปแบบการอ้างแบบนี้ จะ
1) ไม่ต้องมีแท็กใหม่ เพราำะอะไรที่อย่ากจะลงใน ส่วนเชิงอรรถ ก็ใส่ใน <ref></ref>,
2) มักเป็นที่เคยชินในวงการวิทยาศาสตร์ แต่ใช้กันน้อยกว่าในวงการสังคมศาสตร์
3) ได้เขียนอธิบายไว้แล้วใน วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
4) ที่ไม่เป็นที่แนะนำ เป็นเพราะไม่สดวกต่อผู้ใช้เท่า วิธี in-line citation (ใครก็ได้ช่วยแปลให้หน่อย ผมแปลไปแล้วโดนด่า มันคือวิธีเอาข้อมูลแหล่งอ้างอิงเต็มไว้ในเชิงอรรถ โดยไม่ต้องมีส่วนแหล่งอ้างอิงที่แยกต่างหาก) เพราะ วิธี in-line citation ไปกลับมาระหว่างเนื้อหาในบทความ กับข้อมูลแหล่งอ้างอิงเต็ม ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่กดลิงก์ และมันทำให้บทความที่มีแหล่งอ้างอิงจำนวนมาก ดูสะอาดตา
ด้วยเหตุผมข้อ 4) นี้ ผมถึงยังเห็นว่า วิธีแนะนำ (แต่อาจไม่ใช่วิธีบังคับ) สำหรับการอ้่างอิงแหล่งที่มา ควรเป็น in-line citation เหมือนที่ได้เขียนเ่สนอไว้ตอนต้นกระทู้. Patiwat 21:48, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

เรื่องที่คุณวัตพูดก็เป็นการขยายความเรื่องเดียวกับที่คุณป่องพูด ประเด็นของผมอยู่ที่ว่าถ้าเปลี่ยนบทความจากรูปแบบเดิมไปเป็นรูปแบบใหม่มันจะเสียเวลา เพราะบทความเก่าๆ มันเยอะนะ อาจจะเกินครึ่งของจำนวนบทความทั้งหมด ถ้าเป็นบทความสร้างใหม่มันทำได้ง่ายอยู่แล้ว--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:23, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

ปล. นโยบายวิกิใช้คำว่า "อ้างอิง" เป็นชื่อหัวข้อ ไม่ใช่ "แหล่งอ้างอิง"--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:25, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยครับ เพราะปัจจุบันที่ให้แท็ก <ref>...</ref> สำหรับอ้างอิงนั้นใช้ถูกหน้าที่อยู่แล้ว เชิงอรรถควรใช้แท็กอื่น (ถ้าต่อไปวิกิเพิ่มความสามารถนี้ขึ้นมา) มากกว่า --Lerdsuwa 07:14, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

ใช้ชื่อหัวข้อที่ให้ความหมายเป็น notes and references ได้ไหมครับ (เช่น หมายเหตุและอ้างอิง / เชิงอรรถและอ้างอิง / ฯลฯ) เพราะดูอย่างหนังสือบางเล่ม ก็มีรวมกันใต้หัวข้อ notes ซึ่งบางข้อก็เป็นการอธิบายเพิ่มเติม บางข้อก็เป็นการอ้างแหล่งที่มา kinkkuananas 09:14, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

เสนอปรับปรุงเกณฑ์ใหม่ แก้

ขอเสนอปรับปรุงเกณฑ์ใหม่ตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษดังนี้ครับ --Horus (พูดคุย) 17:48, 6 มีนาคม 2561 (ICT)

ข้อความรุ่นที่เสนอ แก้

บทความคุณภาพ

1: เขียนอย่างดี
ก. ร้อยแก้วชัดเจนและรัดกุม การสะกดและไวยากรณ์ถูกต้อง
ข. ผ่านแนวปฏิบัติคู่มือการเขียนสำหรับถ้อยคำคลุมเครือ
2: พิสูจน์ยืนยันได้โดยไม่มีงานค้นคว้าต้นฉบับ[1]
ก. มีรายการแหล่งอ้างอิงทั้งหมด[2]
ข. แหล่งอ้างอิงในบรรทัด (in-line citation) ทั้งหมดมาจากแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ รวมทั้งสำหรับอัญพจน์โดยตรง สถิติ ความเห็นตีพิมพ์ ถ้อยแถลงที่ขัดต่อการรับรู้หรือที่เป็นข้อโต้เถียงซึ่งถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกคัดค้าน และเนื้อความมีข้อพิพาท
ค. ไม่มีงานค้นคว้าต้นฉบับ
3. อภิปรายสิ่งที่กล่าวถึงในภาพรวม
ก. กล่าวถึงแง่มุมหลักของหัวข้อ[3]
ข. มุ่งสนใจหัวข้อนั้นโดยไม่กล่าวรายละเอียดที่ไม่จำเป็น
4. เป็นกลาง: นำเสนอมุมมองต่าง ๆ อย่างยุติธรรมและปราศจากความเอนเอียงของบรรณาธิการ โดยให้แต่ละมุมมองมีน้ำหนักที่เหมาะสม
5. เสถียร: บทความไม่เปลี่ยนแปลงมากในแต่ละวัน เนื่องจากสงครามแก้ไขหรือกรณีพิพาทด้านเนื้อหาที่กำลังดำเนินอยู่[4]
6. ตกแต่งบทความด้วยสื่อ (ถ้าเป็นไปได้)
ก. ติดป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์สื่อ และมีการระบุคำชี้แจงเหตุผลการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบที่สมบูรณ์สำหรับเนื้อหาไม่เสรี
ข. สื่อเกี่ยวข้องกับหัวข้อ และมีคำบรรยายใต้ภาพที่เหมาะสม

อรรถาธิบาย แก้

  1. เกณฑ์ขั้นต่ำคือ ผู้ทบทวนควรตรวจสอบว่าแหล่งข้อมูลที่ใช้น่าเชื่อถือ (เช่น ปกติบล็อกไม่น่าเชื่อถือ) และแหล่งข้อมูลที่คุณสามารถเข้าถึงได้สนับสนุนเนื้อหาของบทความ (ตัวอย่างเช่น การอ้างอิงในบรรทัดนำไปสู่แหล่งข้อมูลซึ่งเห็นพ้องกับเนื้อหาของบทความ) และไม่ได้โจรกรรมทางวรรณกรรม (ตัวอย่างเช่น การถอดความใกล้ชิดของเนื้อความ การใส่เนื้อหาที่ไม่แตกต่างจากต้นฉบับมากนัก (close paraphrasing) ควรใช้เฉพาะเมื่อเหมาะสม และมีการแสดงแหล่งที่มาในข้อความหากจำเป็น)
  2. ลิงก์ตาย (dead link) ถือว่าพิสูจน์ยืนยันได้เฉพาะเมื่อลิงก์ไม่ใช่ลิงก์เปลือย (bare URL) ไม่จำเป็นต้องใช้การจัดรูปแบบเหมือนกันทั้งหมดรูปแบบการอ้างอิงเดียวกันทั้งบความ หรือมีส่วนย่อยทั้งหมดของบรรณานุกรม ใส่ข้อมูลบรรณานุกรมครบถ้วน แต่จะต้องให้สารสนเทศเพียงพอแก่ผู้ทบทวนสามารถระบุแหล่งที่มาได้
  3. เกณฑ์ "อภิปรายในภาพรวม" นี้อ่อนกว่า ไม่เข้มงวดเท่า "ความครอบคลุม" ซึ่งเป็นเกณฑ์ของบทความคัดสรร อย่างสำคัญ เพราะบทความสั้น ๆ ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้ บทความไม่ต้องมีกล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดสำคัญทั้งหมด และมีภาพรวมหัวข้อใหญ่ ๆ
  4. การย้อนการก่อกวน ข้อเสนอให้แยกหรือรวมเนื้อหา การพัฒนาโดยสุจริตใจในหน้านั้น (เช่น การตรวจแก้ต้นฉบับ) และการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะของผู้ทบทวนไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์ "เสถียร" การเสนอชื่อบทความที่ไม่เสถียรเพราะอันมีเหตุจากการแก้ไขที่ไม่สร้างสรรค์อาจล้มเหลวไม่ผ่านการเสนอชื่อหรือถูกชะลอไปก่อน

ความเห็น: ผมว่า การแปลตรงส่วนอรรถาธิบาย ยังดูแปลแบบถอดคำต่อคำจากภาษาอังกฤษ โครงสร้างประโยคถอดมาเป๊ะเกินไป ทำให้อ่านแล้วเข้าใจยาก หรือไม่เข้าใจ ไม่เป็นสำนวนภาษาไทย

  • เกณฑ์ขั้นต่ำ น่าจะใช้ว่า ตามหลักการ (ideally) / 'การถอดความใกล้ชิดของเนื้อความจากแหล่งข้อมูลควรใช้เฉพาะเมื่อเหมาะสม' ส่วนนี้อ่านแล้วงง
  • ลิงก์ตาย (dead link) ถือว่าพิสูจน์ยืนยันได้เฉพาะเมื่อลิงก์ไม่ใช่ลิงก์เปลือย (bare URL) ไม่จำเป็นต้องใช้การจัดรูปแบบเหมือนกันทั้งหมดหรือมีส่วนย่อยทั้งหมดของบรรณานุกรม
  • เกณฑ์ "อภิปรายในภาพรวม" นี้อ่อนกว่า "ความครอบคลุม" ซึ่งเป็นเกณฑ์ของบทความคัดสรรอย่างสำคัญ
  • การแก้ไขที่ไม่สร้างสรรค์อาจล้มเหลวหรือถูกชะลอไปก่อน

ต้องถามคำเห็นคนอื่นด้วยครับ --Sry85 (คุย) 13:25, 14 มีนาคม 2561 (ICT)

  • ข้อแรก ต้นฉบับมีทั้งตามหลักการ และเกณฑ์ขั้นต่ำ ผมแปลมาเฉพาะเกณฑ์ขั้นต่ำครับ ส่วนข้อความที่ให้แก้ไขผมเปลี่ยนเป็น "การใส่เนื้อหาที่ไม่แตกต่างจากต้นฉบับมากนัก (close paraphrasing) ควรใช้เฉพาะเมื่อเหมาะสม และมีการแสดงแหล่งที่มาในข้อความหากจำเป็น"
  • ข้อสอง ผมเปลี่ยนเป็น "ไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบการอ้างอิงเดียวกันทั้งบความ หรือใส่ข้อมูลบรรณานุกรมครบถ้วน"
  • ข้อสาม ผมแก้เป็น "เกณฑ์ "อภิปรายในภาพรวม" นี้ไม่เข้มงวดเท่า "ความครอบคลุม" ซึ่งเป็นเกณฑ์ของบทความคัดสรร"
  • ข้อสี่ ต้องอ่านตั้งแต่ "การเสนอชื่อบทความที่ไม่เสถียร..." ครับ แต่เพื่อให้ชัดเจน ผมเปลี่ยนเป็น "การเสนอชื่อบทความที่ไม่เสถียรอันมีเหตุจากการแก้ไขที่ไม่สร้างสรรค์อาจไม่ผ่านการเสนอชื่อหรือถูกชะลอไปก่อน" --Horus (พูดคุย) 14:25, 14 มีนาคม 2561 (ICT)
กลับไปที่หน้าโครงการ "บทความคุณภาพคืออะไร"