ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Supisa Sigvanich สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Supisa Sigvanich! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


ถ้าย้ายไปใส่ของ Wikipedia ภาษาอังกฤษ ไม่มีปัญหานะคะ ขขSupisa Sigvanich (คุย) 17:21, 22 มกราคม 2565 (+07) -- New user message (คุย) 13:47, 9 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

อะยะซัน แก้

  1. วิกิพีเดียภาษาไทยไม่รับบทความที่เขียนภาษาอังกฤษล้วนครับ ดังที่คุณเขียนในหน้า Ayasan Service
  2. บทความ บริษัท อะยะซัน เซอร์วิส จำกัด
    1. ขอความโดดเด่นจากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือด้วยครับ เช่น เว็บแหล่งข่าว (การพิสูจน์ยืนยันได้, หลักเกณฑ์ความโดดเด่น)
    2. ผู้ใช้อื่นอาจตรวจและอาจถูกย้ายไปฉบับร่างเพื่อนำไปปรับปรุงครับ (ไม่ปรับปรุงภายใน 6 เดือน จะถูกลบ)

ขอบคุณครับ —Nakare✝「T」 15:52, 22 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

นี่ทั้ง Tag และ อ้างอิง Bangkok Post, Kapook พอมั้ยอาคะ? Supisa Sigvanich (คุย) 17:55, 22 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
รบกวนช่วยอธิบายง่าย ๆ ให้เข้าใจเพิ่มได้มั้ยค่ะ ว่า "ความโดดเด่น" ในมุม Wikipedia คืออะไรอาคะ? Supisa Sigvanich (คุย) 19:37, 22 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
มันคือสิ่งที่บอกว่าความโด่งดัง (อันนี้ใช้ภาษาชาวบ้านพอให้เข้าใจ) หรือความโดดเด่น/ความเป็นที่รู้จัก มากเพียงพอให้มีบทความในวิกิพีเดียหรือไม่ ถ้าสมมุติว่าไม่มีเกณฑ์ดังกล่าวในนโยบาย ถ้าผมหรือใคร ๆ เปิดร้านกาแฟ ผมก็สามารถเขียนบทความเชิงสารานุกรมสำหรับร้านของคนนั้นได้ครับ (สมมุติว่าถ้าตัดเรื่อง ผู้แก้ไขบทความมีส่วนได้ส่วนเสียต่อบทความ และการห้ามโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ และมุมมองเป็นกลาง) ผมเลยคิดว่ามันทำให้ขาดคุณภาพและมาตรฐานของคลังสารานุกรม จึงมีเกณฑ์ดังกล่าวขึ้นครับ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดใช้วิจารณญาณอ่านที่หน้านี้ครับ WP:NOTE ซึ่งผมพอเดาออกว่าบทความนี้ไม่น่าจะผ่านเกณฑ์ดังกล่าวได้ตามสามัญสำนึกผมครับ (อธิบายยาก) ทั้งนี้บทความทุกบทความต้องมีแหล่งอ้างอิงเพื่อตรวจสอบความโดดเด่นครับ --NP-chaonay (คุย) 10:29, 25 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
Ayasan ก็ดังมั้ย แค่บางคนไม่รู้จักไม่ได้หมายความว่าคนอื่นไม่รู้จัก แล้วถ้าไปดูตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็มีคนติดตามมากพอสมควร แล้วก็มีแหล่งอ้างอิงจากสำนักข่าวไทยที่น่าเชื่อถือ มีตัวตนอยู่จริง มันจะไม่ดังยังไง? มีตัวเลขประกอบมั้ยคะ? ว่าต้องขั้นต่ำคนตามโซเชียลแพลตฟอร์มนี้ต้องเท่าไหร่? หรืออะไร เพราะความดังของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บางคนอาจมองว่าเท่านี้ก็มากแล้ว บางคนอาจจะมองปริมาณคนติดตามเท่ากันแต่บอกว่าน้อย Supisa Sigvanich (คุย) 23:32, 26 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Supisa Sigvanich: อันนั้นคือตามความเห็นผมครับว่ามันไม่น่าจะผ่าน คือตัวผมเองผมเป็นอาสาสมัครของที่นี่ก็จริงแต่ผมก็ไม่ได้ชำนาญหรือมีวิจารญาณหมดทุกหัวข้อของการเขียนสารานุกรมวิกิพีเดียครับ ผมไม่ได้จะฟันธงว่ามันไม่ผ่าน เพราะผมเองก็อาจจะวิเคราะห์ผิดได้ (ตามเหตุผลที่กล่าวมา) แต่ผมแค่ตอบตามสามัญสำนึกและประสบการณ์ของผมครับ (โดยเฉพาะบทความที่ถูกลบเป็นอย่างไร) ว่าไม่น่าจะผ่าน ทั้งนี้ทั้งนั้นสุดท้ายแล้วการที่บทความจะมีอยู่ได้จะตัดสินที่ตัวนโยบายกับแนวปฏิบัติที่ผมได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ครับ ซึ่งชุมชนจะพิจารณาข้อนี้เอง
แต่ถ้าคุณคิดว่ามันผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นและไม่เห็นด้วยกับที่ผมบอก ก็สามารถอ่านนโยบาย WP:NOTE ประกอบได้ครับ หากผ่านเกณฑ์ต่าง ๆ ในวิกิพีเดียก็ค่อยร่างในฉบับร่างครับ
อนึ่งแล้วนโยบายนี้มักเป็นที่ถกเถียงนะครับ และทั้งเข้าใจยากด้วย ผมเลยไม่ได้ศึกษาในจุดนี้มาก แต่ถ้าหากมีความมั่นใจว่าผ่านความโดดเด่น ก็สร้างฉบับร่างได้ครับไม่ต้องกลัวการสร้างบทความมากนัก เพราะถ้าหากไม่ผ่านจะมีอาสาสมัครมาแปะป้ายเตือนที่บทความฉบับร่างครับ NP-chaonay (คุย) 22:07, 28 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ขออภัยครับผมตอนแรกผมนึกว่าเป็นบทความฉบับร่างเลยจะแก้ไขสองย่อหน้าสุดท้ายข้างบนครับ ดังนี้
แต่ถ้าคุณคิดว่ามันผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นและไม่เห็นด้วยกับที่ผมบอก ก็ไม่เป็นไรครับ แต่อย่างไรก็ตามโปรดพิจารณาป้ายเตือนที่บทความดังกล่าวด้วยนะครับ
อนึ่งแล้วนโยบายนี้มักเป็นที่ถกเถียงนะครับ และทั้งเข้าใจยากด้วย ผมเลยไม่ได้ศึกษาในจุดนี้มาก--NP-chaonay (คุย) 22:12, 28 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ปล:   ความเห็น ผมว่าเรื่องความโดดเด่นไม่ใช่แค่เรื่องของจำนวนน้อยมากชัดเจนครับ มันออกเป็นเชิง subjective ด้วยครับ ซึ่งอันนี้ผมไม่ถนัดในการพิจารณาจุดนี้ อย่างมากทำได้แค่บอกแนวโน้มหรือความเสี่ยงว่าผ่านความโดดเด่นไหม อันที่จริงบางอันที่ผมว่าโดดเด่นยังไม่ผ่าน บางอันที่ผมมองว่าไม่โดดเด่นกลับผ่านครับ และที่ผมคิดว่าไม่ผ่านคือดูแนวโน้มของการเขียนและเนื้อหาครับ ไม่ได้ดูจากจำนวนทาง social interaction ซึ่งยอมรับว่าการวิเคราะห์แบบปลายเหตุแบบนี้ผมคิดว่าก็พอดูแนวโน้มได้แต่ไม่ทั้งหมดครับ สุดท้ายแล้วอยากให้ยึดที่ตัวนโยบายแนวปฎิบัติมากกว่าเวลาตัดสินใจอะไรในวิกิพีเดีย ส่วนความเห็นผมก็เป็นแค่ความเห็นและการแนะนำให้กับผู้ใช้ครับ NP-chaonay (คุย) 22:33, 28 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ
แล้วทาง Wikipedia มีเกณฑ์อะไรที่วัด "ความโดดเด่น" ที่เป็นรูปธรรมบ้างอาคะ? เพราะตัวเลขนี่คือชัดแน่นอน ชัวร์ ๆ ใคร ๆ ก็เห็น เช่น ไอจีของคนดังจริง ๆ สามารถขอ badge official ได้ โดยไอจีมีเงื่อนไขจะให้ badgeofficial account ก็ต่อเมื่อ บัญชีไอจีนั้นมีผู้ติดตามไม่น้อยกว่า 300,000 เป็นต้น ทางWikipedia มีเกณฑ์วัดไรพวกนี้มั้ยอาคะ?
แล้วที่บอกว่า "ไม่น่าโดดเด่นกลับผ่าน" แสดงว่า ก็ต้องทีเกณฑ์วัด ถ้าไม่มีเกณฑ์วัด แล้วเกณฑ์วัดนั้นคืออะไร นี่แหละที่อยากรู้เลยค่ะ Supisa Sigvanich (คุย) 21:51, 3 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)ตอบกลับ
  • "Wikipedia มีเกณฑ์อะไรที่วัด "ความโดดเด่น" ที่เป็นรูปธรรมบ้างอาคะ?"" "ทางWikipedia มีเกณฑ์วัดไรพวกนี้มั้ยอาคะ?" อันนี้ผมไม่แน่ใจครับผมไม่ได้อ่านนโยบายความโดดเด่นมาลึกพอ เลยไม่แน่ใจว่าวัดกันอย่างไร แต่ผมคิดว่ามันน่าจะวัดแบบ subjective มากกว่า แบบ absolute ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องเท่าไหร่อย่างไร แต่ถ้าจะถามหาความชัดเจน ลองถามในหน้า WP:HELPDESK ดูครับ หรือถ้าสะดวกจะลองอ่านหน้า WP:NOTE เองได้ครับ เพราะผมไม่ได้อ่านลึกจริง ๆ เพราะเนื้อหาก็ยาวพอสมควรอยู่
  • "ไม่น่าโดดเด่นกลับผ่าน" แสดงว่า ก็ต้องทีเกณฑ์วัด" เข้าใจว่าแต่ละคนคิดไม่เหมือนกันครับ (ขนาดผมบ้างครั้งยังคิดไม่ตรงกับที่ทางชุมชนสรุปแนวปฏิบัติออกมาเลยครับ) พอต้องมาวัดเกณฑ์ที่เป็น subjective มันเลยก่ำ ๆ กึ่ง ๆ ครับ ถ้าแนวโน้มมันวิเคราะห์ง่ายก็ว่าไปอย่าง ถ้าวิเคราะห์ยากก็จะมีอภิปรายเป็นรายเรื่องครับ ขึ้นชื่อคำว่า subjective มันตายตัวยากครับ เพราะแต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ออกจะขึ้นอยู่กับ concensus ของชุมชนโครงการครับ ซึ่งได้มาจากการอภิปรายครับ ส่วนที่บอกว่า "แสดงว่า ก็ต้องทีเกณฑ์วัด" ใช่ครับมันมีเกณฑ์วัด แต่ผมว่ามันน่าจะ subjective แต่ได้ข้อสรุปจากการอภิปรายครับ ผมว่าเรื่องพวกนี้ หรือความโดดเด่นมันไม่ใช่เรื่อง ที่แบบหาคำตอบง่าย ๆ นะครับ ถ้าอย่างคณิตฯ อันนี้มันมีหลักการแน่นอน แต่พวกวรรณกรรมพวกนี้มันมีทางลัดได้ครับ เหมือนเราโต้เถียงดราม่าในสังคมนั้นแหละครับ ถ้าไม่ได้ผิดศีลธรรมมากนัก ก็ไม่ได้ถือว่าคิดผิด แต่สุดท้ายแล้วมันจะสิ้นสุดที่การยอมรับในสังคมครับ เพราะความยอมรับเกิดขึ้นก็กลายเป็นจารีตเป็นกฎหมาย ก็เปรียบเสมือนการอภิปรายนำมาซึ่ง concensus ในวิกิพีเดียแล้วกลายเป็นแนวปฎิบัติครับ ทุกบทความโดยเฉพาะที่มีการโต้เถียงเรื่องเนื้อหาก็ใช้หลักการนี้ครับ เพื่อยุติข้อโต้เถียง (สรุป concensus คือการยอมรับในชุมชนครับ คำแปลทางการคือ ความเห็นพ้อง (WP:ความเห็นพ้อง))
  • "ถ้าไม่มีเกณฑ์วัด แล้วเกณฑ์วัดนั้นคืออะไร นี่แหละที่อยากรู้เลยค่ะ" สรุปจากข้างบนครับ ผมไม่แน่ใจว่าวัดอย่างไร ลองไปอ่านหน้านโยบายที่ผมแปะดูครับ หรือจะลองถามในหน้า WP:HELPDESK ครับ แต่กระบวนการการตัดสินใจหากมีการถกเถียงอันนี้เป็น fact ครับ คือผ่านอภิปรายนำมาซึ่งความเห็นพ้องยึดเป็นแนวปฏิบัติ ส่วนในความเห็นผม ผมมองว่าเกณฑ์ความโดดเด่นมันจะหนักไปในทาง subjective (อิงความเห็นบุคคลที่อาจจะไม่แน่นอน) มากกว่า absolute (มีความชัดเจนแน่นอน) NP-chaonay (คุย) 12:58, 4 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)ตอบกลับ
    ความโดดเด่นสำหรับให้มีบทความในวิกิพีเดียจะพิจารณาจากแหล่งที่มาครับ ต้องพิจารณาว่าผู้เผยแพร่มีความน่าเชื่อถือเพียงใด บล็อกของบุคคลที่ไม่มีการรับรองความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นย่อมไม่น่าเชื่อถือเท่าเว็บไซต์เผยแพร่งานวิชาการที่มีการแสดงและรับรองความเชี่ยวชาญของผู้เขียน แหล่งที่มาต้องไม่มีส่วนได้เสียกับตัวบริษัท กล่าวคือไม่ได้รับผลตอบแทนจากการเขียนเนื้อหาที่เกี่ยวกับบริษัท ในด้านเนื้อหาจะต้องมุ่งกล่าวถึงบริษัทโดยตรง มิใช่การกล่าวถึงรายละเอียดส่วนอื่นของบริษัท (เช่นผลิตถัณฑ์ ผลประกอบการ) ดังแหล่งอ้างอิง bangkokpost ที่กล่าวถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ และไม่มีเนื้อหาไปในทางประชาสัมพันธ์ ดังปรากฏอยู่ในเกือบทุกแหล่งอ้างอิงในบทความของคุณ Just Sayori OK? (have a chat) 14:44, 4 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)ตอบกลับ
    ตอบคำถาม: วิกิพีเดียมีแนวปฏิบัติสำหรับพิจารณาความโดดเด่นครับ ---> วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น Just Sayori OK? (have a chat) 14:49, 4 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)ตอบกลับ
    แล้วสำหรับ "อะยะซัน" ที่บริษัทแม่บ้านชั้นแนวหน้าของไทย พอจะยกตัวอย่างได้มั้ยค่ะ ว่า "เว็บไซต์" หรือ "นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้" คือใครบ้างอาคะ? Supisa Sigvanich (คุย) 22:29, 16 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)ตอบกลับ

I'm sorry for writing this in English, but แก้

Are you 2001:fb1:46:d394:91ce:1390:c0a2:8cbc (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) and 2001:fb1:46:d394:89:e8e5:4d6f:fd39 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน), who edited อะยะซัน เซอร์วิส?--Rural City (คุย) 17:22, 26 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ

???? 2001:FB1:46:D394:8572:AE65:F4DB:B2C9 23:28, 26 มกราคม 2565 (+07)ตอบกลับ