สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทยครับ ขอบคุณมากครับที่เสียสละเวลามาช่วยกันสร้างสารานุกรมเสรีนะครับ ก่อนอื่นผมมีบทความที่อาจจะช่วยให้การเขียนของคุณราบรื่นขึ้น มาฝากนะครับ

ถ้ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับบทความไหน ก็เขียนพูดคุยได้ที่หน้าอภิปราย (อยู่ที่แถบเครื่องมือ) ของบทความนั้นนะครับ โดยเวลาเขียนตอบเสร็จแล้วนั้น สามารถลงชื่อโดยการพิมพ์ ~~~~ (~ สี่ตัว) หรือกดไอคอนลายเซ็นที่แถบเมนูด้านบนก็ได้ครับ และสำคัญที่สุด "อย่ากลัวที่จะแก้บทความ" นะครับ มีอะไรสอบถามได้ตลอดเวลานะครับผม ขอให้สนุกกับการเขียนวิกิพีเดียนะครับ ^_^ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 01:01, 6 มกราคม 2551 (ICT)

ขอบคุณที่เข้ามาช่วยเพิ่มเติมความสมบูรณ์ให้หลายๆ บทความครับ แต่ขอความกรุณานิดนึง หลังจากคุณคุณากฤตแก้แล้ว บางจุดที่เดิมเป็นลิงก์สีน้ำเงิน กลับกลายเป็นสีแดง รบกวนช่วยทำ redirect หรือ เปลี่ยนชื่อบทความที่ลิงก์ไป ให้ด้วยนะครับ - ('-' )( '-' )( '-') - 11:46, 7 มกราคม 2551 (ICT)

ตอบข้อสงสัยเรื่องการทรงกรมครับ แก้

ตอบข้อสงสัยของคุณคุณากฤตนะครับ ก่อนอื่นเลย จริงๆ แล้วเจ้าฟ้าฯ นั้นแบ่งออกเป็นสามลำดับชั้น คือเจ้าฟ้าชั้นเอก เจ้าฟ้าชั้นโท และเจ้าฟ้าชั้นตรี ครับ เจ้าฟ้าชั้นเอก และชั้นโท คุณเข้าใจดีแล้วคงไม่ต้องอธิบาย ส่วนเจ้าฟ้าชั้นตรีหมายควาถึงเจ้าฟ้าณ อื่นๆ เช่นพระราชโอรสธิดาในวังหน้า ซึ่งพระมารดาเป็นเจ้าฟ้า หรือพระมารดาเป็นเจ้า แต่ไม่ใช่เจ้าฟ้าซึ่งทรงพระกรุณายกขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ฯลฯ ครับ สำหรับธรรมเนียมการพระราชทานกรมเจ้านายนั้น แต่เดิมก่อนรัชกาลที่ ๑ มาจะไม่มีการเลื่อนกรม คือหมายความว่ากรมไหนกรมนั้น ขึ้นกับฐานันดรศักดิ์ เว้นแต่จะมีการเลื่อนพระอิสริยยศ เช่นได้ทรงรับพระราชบัณฑูร ก็ต้องเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระ ฯลฯ ครับ แต่ในส่วนธรรมเนียมปัจจุบันนี้ การทรงกรมมิได้มีการกำหนดไว้แน่ชัด ว่าจะพระราชทานกรมในลำดับชั้นใด เพระสามารถทรงเลื่อนได้เสมอ พูดง่ายๆ คือไม่มีการกำหนดต่ำสุด แต่กำหนดชั้นสูงไว้ดังนี้ครับ 1.พระบรมวงศ์ ที่ทรงศักดิ์เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ทรงกรมได้ทุกลำดับชั้น 2.พระบรมวงศ์ ชั้นพระพี่ยา พระพี่นาง ทรงกรมได้ถึงกรมพระ 3.พระบรมวงศ์ที่ทรงพระชนม์น้อยกว่า ทรงกรมได้ถึงกรมหลวง 4.พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ และพระสัมพันธวงศ์เธอ (ลูกวังหน้าและวังหลัง) ทรงกรมได้สูงสุดถึงกรมขุน มียกเว้นแค่เพียงพระองค์เดียวคือพระองค์เจ้าลูกวังหลัง ได้เป็นกรมหลวง 5.พระอนุวงศ์นอกจากนั้น ทรงกรมได้เพียงกรมหมื่น สังเกตจากตอนเริ่มพระราชทาน พระราชนิยมในรัชกาลที่ ๕ จะพระราชทานกรมโดยให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า เป็นกรมขุน และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า เป็นกรมหมื่น นะครับ ส่วนสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นั้นทรงรับพระราชทานกรมในรัชกาลที่ ๖ มิใช่รัชกาลที่ ๕ ครับ ดังนั้นการพระราชทานให้สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ฯ ทรงกรมถึงกรมหลวง จึงนับว่าเป็นพิเศษมาก หวังว่าจะด้ไขข้อข้องใจให้คุณคุณากฤตได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ ขอขอบพระคุณครับ --Oh~my goDnesS 18:01, 1 เมษายน 2551 (ICT) ขอบคุณนะคับที่ช่วยไขข้อสงสัยให้ คุณช่วยทำให้ผมเข้าใจอะไรได้มากขึ้นคับ ตอนแรกผมเข้าใจว่าเจ้าฟ้าชั้นเอก(พระมารดาดำรงพระยศตั้งแต่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชเทวี สมเด็จพระอัครราชเทวี พระวรราชเทวี พระราชเทวี)จะต้องทรงกรมเริ่มที่กรมหลวง ชั้นโท(พระมารดาดำรงพระยศตั้งแต่พระอัครชายาเธอ จนถึงพระราชชายา)เริ่มที่กรมขุน ส่วนชั้นตรี(พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า ดังเช่น พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ)กับพระองค์เจ้าเริ่มที่กรมหมื่น ส่วนพระอนุวงศ์ชั้นเล็กนั้นก็ตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นไป เอาล่ะคับผมขอบคุณอีกที หวังว่าถ้าผมเข้าใจผิดไปอีกเมื่อไหร่คุณจะช่วยกรุณาเข้ามาช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดให้ผมด้วยนะคับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ คุณากฤด (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:21, 12 กรกฎาคม 2551 (ICT)