คิวอะนอน

ทฤษฎีสมคบคิดอเมริกันขวาจัด

คิวอะนอน (อังกฤษ: QAnon[A], /ˌkjəˈnɒn/ ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คิว เป็นทฤษฎีสมคบคิดอเมริกันขวาจัดที่ได้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จและทำลายความน่าเชื่อถือไปแล้ว ทฤษฎีอ้างว่ามีกลุ่มคนบูชาซาตาน[1] ที่กินคน และใคร่เด็ก ผู้ทำมิจฉาชีพเป็นการค้าเด็กทางเพศในระดับโลกและวางแผนทำร้ายอดีตประธานาธิบดีสหรัฐคือ ดอนัลด์ ทรัมป์เมื่อเขายังดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี[2][3][4][5] สื่อมักจะจัดกลุ่มนี้ว่าเป็นลัทธิลัทธิหนึ่ง[6][7][8]

ธงคิวอะนอนในการชุมนุมที่รัฐเวอร์จิเนียปี 2020

ผู้เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดคิวอะนอนระบุว่าทรัมป์กำลังต่อสู้กับแผนการลับของพวกใคร่เด็กอยู่อย่างลับ ๆ และจะจัดการจับกุมครั้งใหญ่และลงโทษสมาชิกของแผนการลับหลายพันคนในวันที่เรียกว่า "the Storm" หรือ "the Event"[9] ผู้สนับสนุนคิวอะนอนระบุรายชื่อสมาชิกผู้ใคร่เด็กของแผนลับนี้ ซึ่งมีทั้งนักการเมืองจากพรรคเดโมแครต, นักแสดงฮอลลีวูด, สมาชิกรัฐบาลระดับสูง, นักธุรกิจมหาเศรษฐี และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์[10] คิวอะนอนยังอ้างว่าทรัมป์ได้กระตุ้นเรื่องพิพาทกรณีการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐในปี 2016 โดยรัสเซีย เพื่อชักชวนรอเบิร์ท มูลเลอร์ มาเข้าร่วมกับเขาในการเปิดโปงขบวนการค้ามนุษย์ และเพื่อป้องกันการรัฐประหารจากบารัก โอบามา ฮิลลารี คลินตัน และ จอร์จ ซอรอส[11][12] มีการบรรยายว่าคิวอะนอนมีลักษณะต้านยิวหรือมีรากมาจากแนวคิดต้านยิว เนื่องจากทฤษฎีพุ่งเป้าไปที่ซอรอส นักธุรกิจชาวยิวและจากทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับตระกูลรอธสไชลด์ ซึ่งเป็นเป้าหมายขาประจำของกลุ่มต้านยิว[13][14] ทฤษฎีสมคบคิดของคิวอะนอนถูกเผยแพร่ออกไปอีกโดยสื่อภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีนและรัสเซีย, เกรียนบนโลกอินเทอร์เน็ต[19][15][20] และอีปอคมีเดียกรุ๊ป สื่อขวาจัดที่เกี่ยวข้องกับลัทธิฝ่าหลุนกง[26]

ถึงแม้ว่าทฤษฎีสมคบคิดของคิวอะนอนจะมีที่มาจากทฤษฎีสมคบคิดเก่า ๆ หลายชิ้นรวมกัน โพสต์แรกของ "Q" ถูกโพสต์ในเดือนตุลาคม 2017 บนเว็บไซต์กระทู้ภาพนิรนาม โฟร์แชน ผู้ใช้ชื่อ Q อ้างว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐที่มี "Q clearance" ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลลับของรัฐบาลภายใต้การนำของทรัมป์ และข้อมูลลับของฝั่งตรงข้ามทางการเมือง[27] ต่อมา Q ย้ายไปยังเอทแชน ซึ่งต่อมากลายเป็นบ้านออนไลน์ของกลุ่มคิวอะนอน[28]

เชิงอรรถ

แก้
  1. คำนี้แรกสุดหมายถึงคนโพสต์นิรนามชื่อว่า คิว แต่ต่อมาสื่อเริ่มใช้คำประกอบคือ คิวอะนอน (QAnon) เป็นบทรวม ๆ โดยหมายถึงทฤษฎีสมคบคิดหรือกลุ่มบุคคลที่ขับเคลื่อนหรือถกทฤษฎีสมคบคิด

อ้างอิง

แก้
    • Guglielmi, Giorgia (2020-10-28). "The next-generation bots interfering with the US election". Nature. 587 (7832): 21. Bibcode:2020Natur.587...21G. doi:10.1038/d41586-020-03034-5. PMID 33116324. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
    • Neiwert, David (2018-01-17). "Conspiracy meta-theory 'The Storm' pushes the 'alternative' envelope yet again". Southern Poverty Law Center (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-14.
    • Collins, Ben; Zadrozny, Brandy (2018-08-10). "The far right is struggling to contain Qanon after giving it life". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
    • Rosenberg, Eli (2018-11-30). "Pence shares picture of himself meeting a SWAT officer with a QAnon conspiracy patch". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
    • Iannelli, Jerry (2018-11-30). "South Florida Cop Wore "QAnon" Conspiracy Patch With Mike Pence". Miami New Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
    • Moore, McKenna (2018-08-01). "What You Need to Know About Far-Right Conspiracy QAnon". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
    • Roose, Kevin (2019-07-10). "Trump Rolls Out the Red Carpet for Right-Wing Social Media Trolls". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2019-07-17.
  1. Itkowitz, Colby; Stanley-Becker, Isaac; Rozsa, Lori; Bade, Rachael (2020-08-20). "Trump praises baseless QAnon conspiracy theory, says he appreciates support of its followers". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2020-08-20.
  2. Kunzelman, Michael; Slevin, Colleen (2020-02-09). "'QAnon' conspiracy theory creeps into mainstream politics". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  3. "QAnon: The conspiracy theory embraced by Trump, several politicians, and some American moms". Vox. 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  4. Roose, Kevin (2020-08-28). "What Is QAnon, the Viral Pro-Trump Conspiracy Theory?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  5. Polantz, Katelyn (2021-01-15). "US takes back its assertion that Capitol rioters wanted to 'capture and assassinate' officials". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16. Prosecutors accuse Chansley of being a flight risk who can quickly raise money through non-traditional means as 'one of the leaders and mascots of QAnon, a group commonly referred to as a cult (which preaches debunked and fictitious anti-government conspiracy theory)'.
  6. Davies, Dave (2021-01-28). "Without Their 'Messiah,' QAnon Believers Confront A Post-Trump World". Fresh Air. NPR. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19. Washington Post national technology reporter Craig Timberg   ... tells Fresh Air[,] 'Some researchers think it's a cult   ...'
  7. Stanton, Gregory (2020-09-09). "QAnon is a Nazi Cult, Rebranded". Just Security. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  8. Rothschild 2021, pp. 9, 28, 175.
  9. Rothschild 2021, p. 21.
  10. Laviola, Erin (August 1, 2018). "QAnon Conspiracy: 5 Fast Facts You Need to Know". Heavy. สืบค้นเมื่อ April 19, 2021.
  11. Stanley-Becker, Isaac (August 1, 2018). "'We are Q': A deranged conspiracy cult leaps from the Internet to the crowd at Trump's 'MAGA' tour". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ September 19, 2018.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :4
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :7
  14. 15.0 15.1 Menn, Joseph (August 24, 2020). "Russian-backed organizations amplifying QAnon conspiracy theories, researchers say". Reuters. สืบค้นเมื่อ October 4, 2020.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ russian troll
  16. Menn, Joseph (November 2, 2020). "QAnon received earlier boost from Russian accounts on Twitter, archives show". Reuters. สืบค้นเมื่อ January 7, 2021.
  17. "Congressman Krishnamoorthi Requests Information From DNI Ratcliffe On Russian Use QAnon In Disinformation Efforts". Congressman Raja Krishnamoorthi (Press release). October 19, 2020. สืบค้นเมื่อ January 7, 2021.
  18. Multiple sources:[15][16][17][18]
  19. Cohen, Zachary. "China and Russia 'weaponized' QAnon conspiracy around time of US Capitol attack, report says". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.
  20. Zuylen-Wood, Simon van (2021-01-13). "MAGA-land's Favorite Newspaper". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  21. Alba, Davey (2021-03-09). "Epoch Media Casts Wider Net to Spread Its Message Online". The New York Times. ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  22. Zadrozny, Brandy; Collins, Ben (August 20, 2019). "Trump, QAnon and an impending judgment day: Behind the Facebook-fueled rise of The Epoch Times". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  23. Callery, James; Goddard, Jacqui (August 23, 2021). "Most-clicked link on Facebook spread doubt about Covid vaccine". The Times. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13. Facebook's data on the first quarter of this year shows that one of its most popular pages was an article by The Epoch Times, a far-right newspaper that has promoted QAnon conspiracy theories and misleading claims of voter fraud related to the 2020 US election.
  24. Perrone, Alessio; Loucaides, Darren (2022-03-10). "A key source for Covid-skeptic movements, the Epoch Times yearns for a global audience". Coda Media (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
  25. Multiple sources:[21][22][23][24][25]
  26. Griffin, Andrew (August 24, 2020). "What is Qanon? The Origins of the Bizarre Conspiracy Theory Spreading Online". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
  27. Thomas, Elise (February 17, 2020). "Qanon Deploys 'Information Warfare' to Influence the 2020 Election". Wired. ISSN 1059-1028. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้