คิม ไชยแสนสุข
รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 — ) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. 2550 — พ.ศ. 2554)
คิม ไชยแสนสุข | |
---|---|
เกิด | คิม ไชยแสนสุข 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 |
สัญชาติ | ไทย |
ชาติพันธุ์ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ |
องค์การ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
การทำงานแก้ไข
รศ.คิม ไชยแสนสุข เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2525 เป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการแต่งตั้งเป็นฝ่ายบริหาร ในตำแหน่ง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 สมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2550 [1] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ลงนามในหนังสือคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ลงโทษไล่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ จำนวน 3 ราย หนึ่งในนั้นคือ รศ.คิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงคนปัจจุบัน ซึ่งให้มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 [2]
รศ.คิม ไชยแสนสุข เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (วันมูหะมัดนอร์ มะทา) เมื่อปี พ.ศ. 2545
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "คิม"หยุดบทบาทอธิการบดีรามคำแหง รอหนังสือคำสั่งเขียนอุทธรณ์ ยืนยันทำถูกต้อง Archived 2011-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชนออนไลน์
- ↑ คิม ไชยแสนสุข ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๔๖, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘