ฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 2
ฟาโรห์สกอร์เปียน หรือ สกอร์เปียนที่ 2 (อังกฤษ: King Scorpion หรือ Scorpion II; อียิปต์โบราณ: น่าจะ Selk หรือ Weha[1]) เป็นผู้ปกครองในอียิปต์ตอนบนสมัยก่อนราชวงศ์ (ประมาณ 3200–3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ฟาโรห์สกอร์เปียน | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เวฮา, เซล์ก | ||||||||
ฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 2 บน Scorpion Macehead, พิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน | ||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||
ก่อนหน้า | ฟาโรห์กา? | |||||||
ถัดไป | ฟาโรห์นาร์เมอร์? | |||||||
| ||||||||
ราชวงศ์ | ก่อนราชวงศ์ |
พระองค์เป็นผู้รวบรวมอาณาจักรอียิปต์ทั้งบนและใต้เข้าไว้ด้วยกัน ในราว 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ในปลายยุคก่อนราชวงศ์ เป็นผู้ครองนครไทนิส (Thinis) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่าง ๆ ในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน พระองค์ปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์ (ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระองค์น่าจะเกี่ยวดองกัน) ที่มีนามว่า นาเมอร์ (Namer) ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฟาโรห์เมเนส (Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้นับฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1 ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
แก้- Golding, William (1971), The Scorpion God (novella) อิงจากประวัติศาสตร์อียิปต์สมัยนี้
- มีการใช้พระนามของพระองค์ในภาพยนตร์ เดอะมัมมี่ รีเทิร์น ฟื้นชีพกองทัพมัมมี่ล้างโลก (2001) และภาคแยก เดอะ สกอร์เปี้ยน คิง ศึกราชันย์แผ่นดินเดือด (2002), อภินิหารศึกจอมราชันย์ (2008), เดอะ สกอร์เปี้ยน คิง 3 สงครามแค้นกู้บัลลังก์เดือด (2012) และ เดอะ สกอร์เปี้ยน คิง 4 ศึกชิงอำนาจจอมราชันย์ (2015).
อ้างอิง
แก้- ↑ Hannig 2006, pp. 225, 790 & 1281.
ข้อมูล
แก้- Assmann, Jan (2003). Stein und Zeit: Mensch und Gesellschaft im Alten Ägypten (ภาษาเยอรมัน). München: W. Fink. ISBN 978-3-77-052681-9.
- Hannig, Rainer (2006). Großes Handwörterbuch Ägyptisch-Deutsch: (2800–950 v. Chr.): die Sprache der Pharaonen. Kulturgeschichte der antiken Welt (ภาษาเยอรมัน). Vol. 64. Mainz: Philip von Zabern. ISBN 978-3-80-531771-9.
- Kaiser, Werner; Dreyer, Günter (1982). "Umm el-Qaab: Nachuntersuchungen im frühzeitlichen Königsfriedhof. 2. Vorbericht". Mitteilungen des Deutschen archäologischen Instituts (MDAIK). Abteilung Kairo. (ภาษาเยอรมัน). Mainz: Philipp von Zabern. 38. ISBN 978-3-80-530552-5.
- Menu, Bernadette (1996). "Enseignes et porte-étendarts". Bulletin de l'Institut Français d'Archéologie Orientale (ภาษาฝรั่งเศส). Cairo: Institut Français d'Archéologie Orientale. 96: 339–342.
- Moortgat, Anton (1994). "Die Goldrosette – ein Schriftzeichen?". Altorientalische Forschungen (ภาษาเยอรมัน). Berlin: Institut für Orientforschung. 21: 359–371.
- Needler, Winifred (1967). "A Rock-drawing on Gebel Sheikh Suliman (near Wadi Halfa) showing a Scorpion and human Figures". Journal of the American Research Center in Egypt. Winona Lake: Eisenbrauns. 6: 87–91. doi:10.2307/40000735. JSTOR 40000735.
- Shaw, Ian; Nicholson, Paul (1995). The Dictionary of Ancient Egypt. London: The British Museum Press. ISBN 978-0-71-411909-0.
- Wildung, Dietrich (1981). Ägypten vor den Pyramiden – Münchner Ausgrabungen in Ägypten (ภาษาเยอรมัน). Mainz: Philipp von Zabern. ISBN 978-3-80-530523-5.
บรรณานุกรม
แก้- Clayton, Peter A (2006), Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt, Thames & Hudson, ISBN 0-500-28628-0.
- Edwards, IES (1965), "The Early Dynastic Period in Egypt", ใน Edwards, IES; และคณะ (บ.ก.), The Cambridge Ancient History, vol. 1, Cambridge University Press.