การแก้ต่างว่าเป็นกรณีพิเศษ

(เปลี่ยนทางจาก คำให้การพิเศษ)

การแก้ต่างว่าเป็นกรณีพิเศษ (อังกฤษ: special pleading) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่อ้างกรณียกเว้นพิเศษต่อหลักการทั่วไป โดยไม่ให้เหตุผลว่าทำไมจึงเป็นข้อยกเว้นพิเศษ[1][2][3][4][5] เป็นการประยุกต์ใช้การมีสองมาตรฐานอย่างหนึ่ง[6][7]

ในการจำแนกเหตุผลวิบัติแบบคลาสสิกที่แยกประเภทออกเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy), เหตุผลวิบัติทางประชาน (cognitive), และเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal) การแก้ต่างว่าเป็นกรณีพิเศษน่าจะรวมอยู่ในประเภทเหตุผลวิบัติทางประชาน คือดูเหมือนจะเป็นวิธีการทางคำพูด รวมทั้งคำอธิบายที่ไม่สมเหตุผลหรือเพื่อเบนเบี่ยงประเด็น เป็นเหตุผลวิบัติที่คล้ายคลึงกับการให้เหตุผลด้วยข้ออ้างต่าง ๆ เช่นการอ้างประเพณี การอ้างความใหม่ การอ้างความน่าจะเป็นไปได้ และการอ้างผู้ที่เชื่อถือได้[8] (ดูข้ออื่น ๆ ในกาลามสูตร)

ตัวอย่าง แก้

การยกกรณีพิเศษอาจทำเพื่อไม่ให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ โดยอาจมีรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การอ้างข้อยกเว้นจากหลักการที่ทั่วไปยอมรับว่าเป็นประเด็นในเรื่องนั้น
ตัวอย่าง: "ผมไม่สนใจเรื่องความน่าจะเป็นในที่นี้หรอก นี่เป็นเครื่องสล็อตแมชชีน ไม่ใช้วงล้อรูเล็ตต์ มันต่างกัน"
  • การอ้างข้อมูลที่ไม่สามารถจะตรวจสอบได้ เพราะอาจจะไม่เกี่ยวข้องกันหรือไม่สามารถกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนได้
ตัวอย่าง: การใช้ยาโคเคนน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย เพราะแม้จะมีผลเสียต่อสุขภาพบ้างเหมือนกับยาประเภทอื่นๆ แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่เหมือนกับยาเสพติดอื่นๆ เพราะมีคนจำนวนมากที่ได้ประโยชน์จากโคเคน''
  • การตั้งข้อยกเว้นขึ้นเฉพาะหน้าเพื่อป้องกันสิ่งที่อ้างไม่ให้มาถึงตัว
ตัวอย่าง: ทุกคนมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ทำหน้าที่ ไม่ว่าผู้ต้องหาจะเป็นใคร นี่เป็นเหตุผลที่เราต้องสนับสนุนการสืบสวนคอร์รัปชันในกรมตำรวจ เพราะไม่มีใครเหนือกฎหมาย แต่ถ้าตำรวจมาหาที่บ้านแล้วถามเรื่องเพื่อนบ้านกับโจรกรรมในอาคารของเรา ผมก็ไม่รู้อะไรเลย ผมไม่มีทางจะฟ้องเรื่องความผิดของใครๆ[5]
  • "คุณไม่เหมือนผม ดังนั้นคุณไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะคิดถึงหรือมีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของผม"[9]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "special pleading". English Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-23. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. Argument in which the speaker deliberately ignores aspects that are unfavourable to their point of view.
  2. Damer, T. Edward (2008). Attacking Faulty Reasoning: A Practical Guide to Fallacy-free Arguments (6 ed.). Cengage Learning. pp. 122–124. ISBN 978-0-495-09506-4.
  3. Engel, S. Morris (1994), Fallacies and Pitfalls of Language: The Language Trap, Courier Dover Publications, p. 102, ISBN 978-0-486-28274-9
  4. Wheeler, Dr. L. Kip. "Logical Fallacies Handlist". Carson-Newman University (Study Guide). Room 309 in the English Department suite of Henderson 311. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. Special Pleading, in which the writer creates a universal principle, then insists that principle does not for some reason apply to the issue at hand.{{cite web}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Dowden, Bradley. "Special Pleading". Internet Encyclopedia of Philosophy. California State University, Sacramento. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. [A] form of inconsistency in which the reasoner doesn't apply [their] principles consistently…[T]he fallacy of applying a general principle to various situations but not applying it to a special situation that interests the arguer even though the general principle properly applies to that special situation, too.
  6. LaMorte (MD, PhD, MPH), Wayne W. "Fallacious Reasoning and Propaganda Techniques". Persuasive Messages. Boston University School of Public Health. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. Special Pleading: committed by applying a double standard exemplified in choice of words.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Slick, Matt (2008-05-18). "Logical fallacies or fallacies in argumentation". Christian Apologetics and Research Ministry. Christian Apologetics and Research Ministry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-23. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. Special Pleading (double standard) - Applying a standard to another that is different from a standard applied to oneself.
  8. This division is found in introductory texts such as Fallacy: The Counterfeit of Argument, W. Ward Fearnside, Prentice-Hall, Inc., 1959. OCLC 710677
  9. "Special Pleading". Bruce Thompson's Fallacy Page. Palomar College: Critical Thinking (PHIL 200) [study guide]. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. ‘You aren't like me, so you do not even have a right to think about or hold opinions on my plight’... [t]he fallacy of Special Pleading presupposes that some differences are so great that the human capacity of empathy cannot cross them.

แหล่งข้อมูลอื่น (ภาษาอังกฤษ) แก้