กาลามสูตร
ส่วนหนึ่งของ | |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
หลักปฏิบัติ | |
ศีล · สมาธิ · ปัญญา สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์ | |
คัมภีร์ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก | |
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน | |
สังคม | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
สังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ | |
ดูเพิ่มเติม | |
คำศัพท์ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
ระวังสับสนกับ กามสูตร
กาลามสูตร (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร[1]) คือ พระสูตรที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่[2]
- มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟัง ๆ ตามกันมาหรือเพียงใครพูดให้ฟัง
- มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมาอย่างยาวนาน
- มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือหรือคนส่วนใหญ่เชื่อกัน
- มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์
- มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน) และการเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาปะติดปะต่อกัน
- มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการเห็นด้วยตา หรือตามลักษณะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้
- มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรือตามอคติในใจ
- มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเพราะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
- มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเคารพนับถือว่าคนพูดเป็นสมณะผู้นำทางจิตวิญญาณของเรา เป็นครูของเรา เป็นศาสดาของเรา
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต เกสปุตตสูตร. พระไตรปิฎกฉบับหลวง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต เกสปุตตสูตร. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 9-11-60