คาบสมุทรอิซุ (ญี่ปุ่น: 伊豆半島โรมาจิIzu-hantō) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ทางทิศตะวันตกของกรุงโตเกียว บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเกาะฮนชู พื้นที่ของคาบสมุทรเต็มไปด้วยภูเขาและชายฝั่งเว้าแหว่ง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชิซูโอกะ มีพื้นที่ 1,421.24 กม.² ใน พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่คาบสมุทรทั้งสิ้น 473,942 คน

สถานที่
Landsat image with high-resolution data from Space Shuttle.
ชายฝั่งทางตะวันตกของอิซุ

ธรณีวิทยา

แก้

คาบสมุทรอิซุเกิดขึ้นจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์กับแผ่นเปลือกโลกโอค็อตสค์ที่ช่องแคบนังไก โดยที่แผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์ แผ่นเปลือกโลกอามูเรียน และแผ่นเปลือกโลกโอค็อตสค์ จะมาบรรจบกันที่ภูเขาไฟฟูจิ

พื้นที่ด้านใต้ของคาบสมุทรประกอบด้วยพื้นหินกรวดเหลี่ยม ขณะที่พื้นที่ตรงกลางและด้านเหนือประกอบด้วยภูเขาไฟที่พังทลายไปมาก กลางคาบสมุทรมีเทือกเขาอามางิ ซึ่งมีภูเขาอามางิและภูเขาอาตามิอยู่ทางด้านตะวันออก และภูเขาดารูมะทางด้านตะวันตก ปลายด้านตะวันออกและตะวันตกของเทือกเขายื่นออกไปใต้ทะเลในอ่าวซางามิและอ่าวซูรูงะ แม่น้ำสายหลักในพื้นที่คาบสมุทรคือ แม่น้ำคาโนะ ทางตอนเหนือของคาบสมุทร ซึ่งไหลผ่านหุบเขากราเบนที่เกิดจากแผ่นเปลือกโลกแปรสัณฐาน

เนื่องด้วยโครงสร้างและกระบวนการทางธรณีวิทยา ทำให้พื้นที่คาบสมุทรเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง และยังเกิดน้ำพุร้อนจำนวนมากในพื้นที่

การปกครอง

แก้

พื้นที่ทั้งหมดของคาบสมุทรอิซุอยู่ในเขตจังหวัดชิซูโอกะ อยู่ในเขตการปกครองของนครและเมืองต่าง ๆ ดังนี้

เศรษฐกิจ

แก้

คาบสมุทรอิซุเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคคันโต โดยมีชื่อเสียงจากอนเซ็งในนครอาตามิ ชูเซ็นจิ และอิซุ คาบสมุทรมีพื้นที่ติดกับภูเขาไฟฟูจิและเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟูจิฮาโกเนอิซุ นอกจากนี้พื้นที่นี้ยังเป็นที่นิยมสำหรับการเล่นน้ำทะเล กีฬาโต้คลื่น กีฬากอล์ฟ และการขี่มอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยว

นอกเหนือจากการท่องเที่ยวแล้ว การเกษตรและการประมงก็เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจในท้องถิ่นนี้ โดยอิซุเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตวาซาบิที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

การเดินทาง

แก้

รถไฟ

แก้

คาบสมุทรอิซุเชื่อมต่อกับกรุงโตเกียวและเมืองทางทิศตะวันตกด้วยโทไกโดชิงกันเซ็ง ซึ่งจะจอดที่นครอาตามิทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนครมิชิมะทางตะวันตกเฉียงเหนือ และยังมี JR สายอิโต และอิซูกิวโก ที่วิ่งไปตามชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรไปถึงนครชิโมดะ

อ้างอิง

แก้

34°54′N 138°57′E / 34.900°N 138.950°E / 34.900; 138.950