วาซาบิ
วาซาบิ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
สกุล: | Eutrema |
สปีชีส์: | japonicum |
ชื่อพ้อง | |
|
วาซาบิ (ญี่ปุ่น: 山葵, ワサビ, わさび; อังกฤษ: Wasabi หรือ Japanese horseradish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eutrema japonicum หรือ Wasabia japonica)[1] เป็นพืชในวงศ์ผักกาด (Brassicaceae) ลำต้นหรือเหง้าของวาซาบิเมื่อนำมาขูดหรือบดจะได้เครื่องจิ้มที่มีรสเผ็ดร้อน คล้ายกับรสของมัสตาร์ด (mustard) หรือฮอร์สแรดิช (horseradish) เพราะเป็นพืชในวงศ์เดียวกัน แต่ต่างจากพริกตรงที่พริกจะร้อนที่ลิ้น ส่วนวาซาบิร้อนที่จมูก เครื่องจิ้มดังกล่าวมักใช้รับประทานกับซูชิ
โดยธรรมชาติแล้ว วาซาบิเจริญเติบโตอยู่ตามท้องน้ำในแถบหุบเขาของญี่ปุ่น วาซาบิมีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมในตลาด คือ E. japonicum 'Daruma' กับ 'Mazuma'[2]
การใช้วาซาบิเป็นอาหารนั้น มีบันทึกเก่าแก่ที่สุดย้อนหลังไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8[3] ส่วนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษนั้น วาซาบิเป็นที่นิยมขึ้นเพราะซูชิ ซึ่งเริ่มในราว ค.ศ. 1980[4]
เนื่องจากไม่สามารถเพาะปลูกวาซาบิได้คราวละมาก ๆ ทำให้วาซาบาหายากและมีราคาแพงมากภายนอกญี่ปุ่น จึงมีการใช้ฮอร์สแรดิชมาทำเครื่องจิ้มแบบวาซาบิแทน เครื่องจิ้มแบบนี้มักเรียกว่า "วาซาบิฝรั่ง" (western wasabi)
การใช้ประโยชน์
แก้วาซาบิมักขายเป็นต้น (stem) หรือเป็นเหง้า (rhizome)[5] ซึ่งต้องขูดหรือบดให้ละเอียดก่อนใช้ นอกจากนี้ยังขายเป็นผงแห้ง และเป็นหลอดที่พร้อมใช้ได้ทันที[6]
ส่วนของต้นวาซาบิที่ใช้ทำเป็นเครื่องจิ้มนั้น คือ ต้น,[7][8] เหง้า,[9][10] หรือเหง้าผสมกับส่วนฐานของต้น[11]
ในญี่ปุ่น เครื่องขูดวาซาบาเรียกว่า "โอโรชิงาเนะ" ทำจากโลหะ หนังกระเบนแห้ง เขี้ยวฉลาม หรือเซรามิก[12] ส่วนในร้านอาหารหรู เครื่องจิ้มจะทำต่อเมื่อลูกค้าสั่ง และจะทำโดยใช้เครื่องขูดขูดลำต้น เมื่อทำเสร็จแล้ว ถ้าไม่ใส่ภาชนะปิดฝา เครื่องจิ้มจะหมดรสชาติภายใน 15 นาที[13]
ใบวาซาบิก็รับประทานสดได้ มีรสอย่างเดียวกับต้นหรือเหง้า แต่มีผลข้างเคียง คือ ทำให้ท้องเสียได้
ฝักวาซาบิจะนำมาอบหรือทอดเป็นของกินก็ได้ บางทีอบหรือทอดแล้วเคลือบผงวาซาบิผสมน้ำตาล เกลือ หรือน้ำมัน กินเป็นขนมก็มี ขนมแบบนี้ญี่ปุ่นเรียก "วาซาบิมาเมะ"
ข้อมูลทางโภชนาการ
แก้วาซาบินั้นมักบริโภคในปริมาณน้อยมาก คุณค่าทางโภชนาการจึงมีน้อยตามไปด้วย[14]
วาซาบิสดต้นหนึ่ง ๆ มีองค์ประกอบหลักดังนี้ คาร์โบไฮเดรต (23.5%), น้ำ (69.1%), ไขมัน (0.63%), และโปรตีน (4.8%).[14]
วันวาซาบิโลก
แก้วันวาซาบิโลก (National Wasabi Day) เป็นวันที่ถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเครื่องเทศแนวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่าวาซาบิ (wasabi) ซึ่งเป็นเครื่องเทศที่ใช้ในอาหารญี่ปุ่น วันวาซาบิทั่วโลกจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักเครื่องเทศนี้และสัมผัสประสบการณ์ในการใช้งานและการรับประทานวาซาบิในอาหารญี่ปุ่น นอกจากนี้ วันนี้ยังเป็นโอกาสในการส่งเสริมการปลูกและผลิตวาซาบิให้เติบโตและพัฒนาในระดับสากล และกระจายให้ทั่วโลกรับรู้ความเป็นวาซาบิ และคัดแยกวาซาบิแท้หรือเทียมได้
อ้างอิง
แก้- ↑ "Eutrema japonicum (Miq.) Koidz". The Plant List. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-21. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ Morgan, Lynette (2005). "Hydroponic Production of Wasabi & Japanese Vegetables". ใน Weller, Thomas; Peckenpaugh, Douglas (บ.ก.). The Best Of Growing Edge International, 2000–2005. New Moon Publishing. p. 57. ISBN 978-0-944557-05-1. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ わさびの歴史. Kinjirushi. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2001. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ Frequency of "wasabi" and "sushi" in English-language sources from 1950 to 2008 wasabi vs. sushi in Google Books Ngram Viewer; wasabi tracks sushi, not other Japanese foods
- ↑ "Definition of rhizome - Merriam-Webster's Student Dictionary". wordcentral.com.
- ↑ Lowry, Dave (2005). The Connoisseur's Guide to Sushi: Everything You Need to Know about Sushi. The Harvard Common Press. p. 205. ISBN 978-1-55832-307-0. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ Cordwell, Simon (6 April 2010). "One chefs return home and adventures rediscovering the culinary delights of Tasmania". Tassie Chef. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ "Preparing, Using and Storing Fresh Wasabi". Shima Wasabi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ "Wasabi – Botanical Notes" in P. N. Ravindran, The Encyclopedia of Herbs and Spices, 2017, ISBN 978-1-78064-315-1, p. 1048
- ↑ Sultana, Tamanna; Savage, Geoffrey P; McNeil, David L; Porter, Noel G; Martin, Richard J; Deo, Bas (October 2002). "Effects of fertilisation on the allyl isothiocyanate profile of above-ground tissues of New Zealand-grown wasabi". Journal of the Science of Food and Agriculture. 82 (13): 1477–1482. doi:10.1002/jsfa.1218.
- ↑ Lim, Tong Kwee (2014). "Eutrema japonicum: Edible Plant Parts and Uses". Edible Medicinal and Non-Medicinal Plants: Volume 9, Modified Stems, Roots, Bulbs. p. 790. ISBN 978-94-017-9511-1.
- ↑ Andoh, Elizabeth; Beisch, Leigh (2005). Washoku: Recipes From The Japanese Home Kitchen. Ten Speed Press. p. 71. ISBN 978-1-58008-519-9. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ Arnaud, Celia Henry (22 March 2010). "What's wasabi, and is your fiery buzz legit?". Chemical & Engineering News. Vol. 88 no. 12. American Chemical Society. p. 48. ISSN 0009-2347. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
- ↑ 14.0 14.1 "Basic Report: 11990, Wasabi, root, raw". National Nutrient Database for Standard Reference Legacy Release. United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service. April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-09-25.