คอมมูนปารีส
คอมมูนปารีส (ฝรั่งเศส: Commune de Paris) เป็นฝ่ายสังคมนิยมหัวรุนแรง, ต่อต้านศาสนา และเป็นฝ่ายปฏิวัติ ซึ่งตั้งตัวเป็นคณะปกครองกรุงปารีสระหว่าง 18 มีนาคม ถึง 28 พฤษภาคม 1871
คอมมูนปารีส | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สิ่งกีดขวางบนถนนวอลแตร์หลังจากที่ถูกยึดโดยกองทัพระหว่างสัปดาห์เลือด | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
Communards National Guards | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ปาทริส เดอ มัก มาอง | |||||||
กำลัง | |||||||
170,000 นาย[1] | ตามเอกสารระบุ 200,000 คน แต่ในความเป็นจริงอาจระหว่าง 25,000 ถึง 50,000 คนที่ต่อสู้[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 877 คน บาดเจ็บ 6,454 คน สูญหาย 183 คน[3] | ยืนยันว่าเสียชีวิตและถูกฝัง 6,667 คน[4] จากการประมาณการที่ยังไม่ได้ยืนยันประมาณ 10,000[5] ถึง 20,000 คน เสียชีวิต |
ผลของสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียนำมาสู่การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองและเป็นจุดเริ่มต้นของสาธารณรัฐที่สามในวันที่ 4 กันยายน 1870 ในช่วงสงครามนั้น กรุงปารีสถูกกองทัพฝ่ายเยอรมันล้อมอยู่สี่เดือน สาธารณรัฐที่สามได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองตูร์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของปารีสได้รับการป้องกันในช่วงเวลานี้ หน่วยติดอาวุธส่วนใหญ่มาจากกองอารักษ์ชาติมีมากกว่าทหารประจำการกองทัพ
กรุงปารีสยอมจำนนต่อปรัสเซียเมื่อวันที่ 28 มกราคม 1871 และในเดือนกุมภาพันธ์ Adolphe Thiers ผู้บัญชาการคนใหม่ของรัฐบาลแห่งชาติฝรั่งเศสลงนามในข้อสงบศึกกับปรัสเซียที่ปลดอาวุธกองทัพประจำการ แต่ไม่รวมถึงกองอารักษ์ชาติ ในวันที่ 18 มีนาคม กองอารักษ์ชาติของคอมมูนได้ฆ่านายพลกองทัพฝรั่งเศสสองนาย และคอมมูนปฏิเสธที่จะยอมรับอำนาจของรัฐบาลฝรั่งเศส คอมมูนปกครองกรุงปารีสเป็นเวลาสองเดือนจนกว่าจะมีการปราบปรามโดยกองทัพฝรั่งเศสในช่วง "La semaine sanglante" ("สัปดาห์เลือด") ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 1871[6]
การอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายและผลของคอมมูนมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของคาร์ล มาคส์ ที่อธิบายว่าเป็นตัวอย่างของ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ"[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Les aspects militaires de la Commune par le colonel Rol-Tanguy". Association des Amies et Amis de la Commune de Paris 1871. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.
- ↑ Milza, 2009a, p. 319
- ↑ Rapport d'ensemble de M. le Général Appert sur les opérations de la justice militaire relatives à l'insurrection de 1871, Assemblée nationale, annexe au procès verbal de la session du 20 juillet 1875 (Versailles, 1875)
- ↑ Tombs, Robert, "How Bloody was la Semaine sanglante of 1871? A Revision". The Historical Journal, September 2012, vol. 55, issue 03, pp. 619-704
- ↑ Rougerie, Jacques, La Commune de 1871," p. 118
- ↑ Robert Tombs, 'The War Against Paris, 1871 (1981).
- ↑ Rougerie, Jacques, Paris libre- 1871. pp. 264-270