ความยาวพันธะ (อังกฤษ: Bond Length) คือ ระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางของอะตอมที่สร้างพันธะเคมีกัน ซึ่งความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่งๆจะมีค่าเฉพาะในแต่ละโมเลกุลและมีค่าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการวัด เช่น การวัดโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนอิเล็กตรอนในสถานะแก๊ส (gas-phase electron-diffraction)ความยาวพันธะจะเท่ากับระยะทางเฉลี่ยระหว่างอะตอมของสถานะการสั่น (vibrational states)ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ หากการวัดใช้เทคนิคทางโครงสร้างรังสีเอ็กซ์ (X-ray crystal structural method)แล้ว ความยาวพันธะจะเท่ากับระยะทางระหว่างจุดกึ่งกลางของที่มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบๆนิวเคลียสทั้งสอง เป็นต้น ดังนั้น ความยาวพันธะที่นักเคมีกล่าวถึงกันจึงหมายถึงความยาวพันธะเฉลี่ยที่ได้จากการเฉลี่ยความยาวพันธะที่พบในโมเลกุลต่างๆ อนึ่ง ความยาวพันธะยังมีความสัมพันธ์กับอันดับพันธะ (bond order) อีกด้วย
ความยาวพันธะในสารอินทรีย์
C–H |
ความยาวในหน่วยพิโคเมตร (pm) |
C–C |
ความยาวในหน่วยพิโคเมตร (pm) |
พหุพันธะ |
ความยาวในหน่วยพิโคเมตร (pm)
|
sp3–H |
110 |
sp3–sp3 |
154 |
เบนซีน |
140
|
sp2–H |
109 |
sp3–sp2 |
150 |
แอลคีน (C=C) |
134
|
sp–H |
108 |
sp2–sp2 |
147 |
แอลไคน์ (C≡C) |
120
|
|
|
sp3–sp |
146 |
|
|
|
|
sp2–sp |
143 |
|
|
|
|
sp–sp |
137 |
|
|
ตัวอย่างความยาวพันธะเฉลี่ย
แก้
พันธะ |
ความยาวในหน่วยพิโคเมตร (pm)
|
H-H |
74
|
F-F |
142
|
Cl-Cl |
199
|
Br-Br |
228
|
I-I |
267
|
O=O |
121
|
N≡N |
110
|
N-H |
101
|
O-H |
96
|
F-H |
92
|
Cl-H |
127
|
Br-H |
141
|
I-H |
161
|
C-O |
143
|
C=O |
120
|
C-N |
147
|
C-Li |
188 - 193
|
C-Na |
222
|
C-K |
254
|