คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561
ตลอดช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 2561 มีคลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น หลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) และเมืองคูมางายะ ได้รับการบันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่ 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 23 กรกฎาคม – ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น อย่างน้อย 80 รายเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับความร้อน และอย่างน้อย 22,000 รายเป็นลมเพราะความร้อน โดยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
วันที่ | มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2561 | |
---|---|---|
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาะฮนชู | |
อุณหภูมิสูงสุด | 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ที่คูมางายะ จังหวัดไซตามะ ในวันที่ 23 กรกฎาคม | |
เสียชีวิต | 80 ราย | |
รักษาในโรงพยาบาล | ประมาณ 22,000 รายหรือมากกว่า |
สาระสำคัญ
แก้หลังจากน้ำท่วมและโคลนถล่มที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2561 ได้มีคลื่นความร้อนที่แผ่กระจายไปทั่วแผ่นดินใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม ทั้งจังหวัดฮิโรชิมะ, โอกายามะ และเอฮิเมะ มีผู้ป่วย 145 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเป็นลมเพราะความร้อนเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 35 องศาเซลเซียส (95.0 องศาฟาเรนไฮต์)[1] เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สถานีตรวจการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 200 แห่งจาก 927 สถานีในเครือข่ายการสังเกตการณ์ทั่วประเทศได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่เกิน 35 องศาเซลเซียส (95.0 องศาฟาเรนไฮต์)[2] จากนัน ในวันที่ 23 กรกฎาคม พบว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในเมืองคูมางายะซึ่งอยู่ห่างทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียว 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) นับเป็นอุณภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีมาของประเทศญี่ปุ่น[3] เมืองหลายแห่งได้บันทึกอุณหภูมิไว้ที่ 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันดังกล่าว[4] ส่วนในนครเกียวโตมีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) ต่อเนื่องเป็นเวลาเจ็ดวันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 [5]
ในวันที่ 24 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นภัยธรรมชาติ และชี้ให้เห็นว่าหลายพื้นที่ "กำลังมีระดับความร้อนมากเป็นประวัติการณ์"[6]
สาเหตุ
แก้จากการวิเคราะห์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นผลมาจากทั้งความกดอากาศสูงจากแปซิฟิก และความกดอากาศสูงจากทิเบต ที่ยังคงขยายตัวเข้ามาใกล้กับญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้มีสภาพอากาศที่มีแดดต่อเนื่อง และอุณหภูมิสูงขึ้น กล่าวได้ว่าความกดอากาศสูงเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากกระแสลมกรดกึ่งเขตร้อนยังคงเคลื่อนที่วกเวียนไปทางทิศเหนือ และการก่อตัวของเมฆคิวมูลัสจากการพาความร้อนสะสมที่มีมากใกล้ประเทศฟิลิปปินส์[7]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Hurst, Daniel (20 July 2018). "Heatwave grips Japan after deadly floods". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
- ↑ "July sees extreme weather with high impacts". WMO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-20. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "Record High in Japan as Heat Wave Grips the Region". The New York Times. 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
- ↑ Osborne, Samuel (25 July 2018). "Japan heatwave: Death toll climbs to 80 after nation declares deadly temperatures a natural disaster". The Independent. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "Japan heatwave: Warnings issued amid scorching temperatures". BBC. 21 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
- ↑ "Japan heatwave declared natural disaster as death toll mounts". BBC. 24 July 2018. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ "「平成30年7月豪雨」及び7月中旬以降の記録的な高温の特徴と要因について]" (ภาษาญี่ปุ่น). 気象庁. 2018-08-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Japan Meteorological Agency official website