คิวมูลัส
คิวมูลัส (อังกฤษ: cumulus) เป็นเมฆที่มีลักษณะปุยคล้ายก้อนสำลี ยอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก ฐานเมฆแบนเรียบ[1] ได้ชื่อมาจากภาษาละติน cumulus แปลว่า เป็นกองสุมกัน[2] คิวมูลัสเป็นหนึ่งในเมฆระดับต่ำร่วมกับคิวมูโลนิมบัส สเตรตัสและสเตรโตคิวมูลัส คิวมูลัสมีอักษรย่อคือ Cu และสัญลักษณ์
คิวมูลัสก่อตัวในชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ระดับความสูง 1,200–6,500 ฟุต (400–2,000 เมตร) เมฆคิวมูลัสเกิดจากการพาความร้อนในอากาศ เมื่ออากาศร้อนที่พื้นโลกลอยตัวขึ้นไปสัมผัสกับอากาศเย็นด้านบน ทำให้ไอน้ำควบแน่นกลายเป็นเมฆ ในพื้นที่ริมทะเล คิวมูลัสจะก่อตัวบนฝั่งในตอนกลางวันเนื่องจากลมทะเลที่มีความชื้นพัดมาปะทะกับอากาศร้อนบนชายฝั่ง ในขณะที่ตอนกลางคืน คิวมูลัสจะก่อตัวในทะเลเนื่องจากอากาศในทะเลจะร้อนกว่าบนชายฝั่ง[3] การมีอยู่ของคิวมูลัสสามารถพยากรณ์ได้ว่าอากาศจะดี มีแดดจัด[4] อย่างไรก็ตาม คิวมูลัสสามารถกลายสภาพเป็นคิวมูโลนิมบัสหรือคิวมูลัส คอนเจสตัส ซึ่งเป็นเมฆฝนได้
คิวมูลัสสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด ได้แก่
- คิวมูลัส คอนเจสตัส (cumulus congestus) เป็นเมฆที่ก่อตัวขึ้นด้านบนที่ระดับความสูงได้ถึง 6,000 เมตร เป็นเมฆฝนที่พัฒนามาจากคิวมูลัส เมดิโอคริส[5]
- คิวมูลัส แฟรกตัส (cumulus fractus) เป็นชนิดเมฆที่อยู่ในสกุลคิวมูลัสหรือสเตรตัส แฟรกตัสเป็นเมฆขนาดเล็กที่เกิดจากการแยกตัวจากเมฆที่ใหญ่กว่าแล้วถูกลมแรงพัดจนมีลักษณะขาดวิ่น เมฆแฟรกตัสอาจรวมตัวกลายเป็นคิวมูลัสได้[6]
- คิวมูลัส ฮิวมิลิส (cumulus humilis) เป็นเมฆที่ก่อตัวที่ระดับความสูง 500–3,000 เมตร เป็นเมฆพบได้ทั่วไปในช่วงฤดูร้อน เป็นสัญญาณของสภาพอากาศที่ดี[7]
- คิวมูลัส เมดิโอคริส (cumulus mediocris) เป็นเมฆที่ก่อตัวที่ระดับความสูง 500–3,000 เมตร โดยทั่วไปเป็นเมฆที่ไม่ก่อให้เกิดฝนตก แต่สามารถพัฒนาเป็นเมฆฝนคือ คิวมูลัส คอนเจสตัสหรือคิวมูโลนิมบัส[8]
ระเบียงภาพ
แก้-
เมฆคิวมูลัส คอนเจสตัส
-
เมฆคิวมูลัส แฟรกตัส
-
เมฆคิวมูลัส ฮิวมิลิส
-
เมฆคิวมูลัส เมดิโอคริส
อ้างอิง
แก้- ↑ Mason, Basil John (1975). Clouds, Rain and Rainmaking. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. p. 3. ISBN 978-0-5211-5740-7.
- ↑ "cumulus - noun". Oxford Learner's Dictionaries. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ "Cumulus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ Means, Tiffany (August 9, 2018). "Using Clouds to Predict the Weather". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ "Cumulus congestus (Cu con) - International Cloud Atlas". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ. "ถอดรหัสเมฆ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ Warrilow, Chrissy (March 21, 2013). "Sky Watching: Cumulus Clouds". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ "Cumulus mediocris (Cu med) - International Cloud Atlas". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.