อุทกภัยในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561
อุทกภัยและดินถล่มในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561 เป็นเหตุการณ์อุทกภัยและดินถล่มในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์นี้เรียกอย่างเป็นทางการว่า "ฝนตกหนักในเดือนกรกฎาคม ปีเฮเซที่ 30" (ญี่ปุ่น: 平成 30 年 7 月豪雨;; โรมาจิ: Heisei san-jū-nen shichi-gatsu gōu;; ทับศัพท์: เฮเซ ซันจูเนน ชิจิงัตสึ โก) โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[1] เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม มีผู้ได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิต 225 คนใน 15 จังหวัดและอีก 13 คนรายงานว่าสูญหาย[2] ประชาชนมากกว่า 8 ล้านคนได้รับคำแนะนำหรือเรียกร้องให้อพยพออกจาก 23 จังหวัด[3] นับเป็นภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดนางาซากิเมื่อปี พ.ศ. 2525 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 299 ราย[4]
วันที่ | 28 มิถุนายน 2561 – 9 กรกฎาคม 2561 |
---|---|
ที่ตั้ง | ญี่ปุ่น, ส่วนใหญ่ของเกาะชิโกกุ และทางตะวันตกของเกาะฮอนชู |
เสียชีวิต | 225 คน, สูญหาย 13 คน |
ทรัพย์สินเสียหาย | ¥1.09 ล้านล้าน (US$9.86 พันล้าน) |
สมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกว่าห้าหมื่นคน, ตำรวจ และนักดับเพลิงได้ค้นหาผู้คนที่ติดค้างหรือได้รับบาดเจ็บในเหตุแผ่นดินถล่มและน้ำท่วมที่เกิดจากฝนตกหนัก ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งหน่วยประสานงานขึ้นที่ศูนย์จัดการวิกฤตของ สำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรวบรวมข้อมูล[5]
ผลกระทบ
แก้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 แนวปะทะอากาศทซึยุ (ญี่ปุ่น: 梅雨;; โรมาจิ: Tsuyu, จีน: 梅雨; พินอิน: Méiyǔ) ตามฤดูกาลที่ขยายออกไปทางตะวันตกจากหย่อมความกดอากาศต่ำ (ชนิด Cold-core) ที่อยู่ใกล้กับฮอกไกโด ครอบคลุมอย่างคงที่ทั่วญี่ปุ่น ฝนตกหนักหลายรอบเกิดขึ้นในวันต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือของเกาะคีวชู[6] เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมพายุไต้ฝุ่นพระพิรุณนำฝนตกหนักและลมแรงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น[7] ความชื้นพุ่งสูงขึ้นทางตอนเหนือจากที่พายุไต้ฝุ่นมีปฏิสัมพันธ์ และเพิ่มปริมาณฝนตามแนวปะทะในเกาะคีวชู, เกาะชิโกกุ และทางทิศตะวันตกและตอนกลางของเกาะฮอนชู[6] ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นขยายระยะไกลออกไปทางตะวันตกจนถึงจังหวัดโอกินาวะ[8] แถบพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณนี้มีปริมาณน้ำฝน 10 วันสะสมมากกว่า 400 มม. (16 นิ้ว)[6] อุทกภัยร้ายแรงเริ่มขึ้นในวันที่ 5 กรกฎาคมส่วนใหญ่ในภูมิภาคคันไซซึ่งเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรงเมื่อสามสัปดาห์ก่อน[9] ปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดที่ 1,852.5 มม. (72.93 นิ้ว) บันทึกได้ในชิโกกุ[6]
หลาย ๆ พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนที่มากที่สุดที่เคยบันทึกได้ในหนึ่งชั่วโมงและในสามวัน[7] บางพื้นที่มีฝนมากกว่า 1,000 มม. (39 นิ้ว) ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ออกคำเตือนฝนตกหนักฉุกเฉิน[ก 1] สำหรับแปดจังหวัดได้แก่: โอกายามะ, ฮิโรชิมะ, ทตโตริ, ฟูกูโอกะ, ซางะ, นางาซากิ, เฮียวโงะ และ เกียวโต[10][11] ซึ่งเป็นการออกคำเตือนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นอธิบายว่า "ฝนตกหนักในระดับที่เราไม่เคยพบมาก่อน"[10]
ฝนหนักที่กระหน่ำลงมาก่อให้เกิดแผ่นดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันระดับน้ำสูงถึง 5 เมตร (16 ฟุต) ในพื้นที่ที่เลวร้ายที่สุด[11] เมืองโมโตยามะ ในจังหวัดโคจิวัดปริมาณน้ำฝนได้ 584 มม. (23.0 นิ้ว) ระหว่างวันที่ 6 และ 7 กรกฎาคม[12] เมืองหนึ่งในจังหวัดโคจิวัดปริมาณน้ำฝนได้ 263 มม. (10.4 นิ้ว) ในสองชั่วโมง[13] ภูเขาไฟองตาเกะ (ญี่ปุ่น: 御嶽山;; โรมาจิ: Ontake-san) มีปริมาณน้ำฝนที่สังเกตสามวันที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 655.5 มม. (25.81 นิ้ว)[7] ถึงแม้แม่น้ำยูระ (ญี่ปุ่น: 由良川) จะยังคงไม่ล้นตลิ่งในภาคเหนือของจังหวัดเกียวโต เขื่อนกั้นน้ำที่สร้างขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นโทกาเงะ (ญี่ปุ่น: トカゲ) ในปี พ.ศ. 2547 ป้องกันการไหลล้นของแม่น้ำ สิ่งที่นำไปสู่การเกิดน้ำท่วมในเมืองไมซุรุ เกิดขึ้นหลังจากมีการปิดประตูน้ำอย่างไม่ตั้งใจ[14]
เมื่อฝนลดลงในวันที่ 9 กรกฎาคม อุณหภูมิสูงถึง 30 °C (86 °F) โดยที่กว่า 11,200 ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องโรคลมเหตุร้อนและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด[15]
จังหวัดฮิโรชิมะเพียงแห่งเดียวมีโคลนถล่ม 1,243 แห่งในปี 2561 ซึ่งมากกว่ายอดรวมในปีเฉลี่ยของทั้งประเทศ จังหวัดเอฮิเมะมี 419 แห่งในปี 2561 บันทึกไม่ได้แยกตามเดือน แต่อนุมานว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ครั้งนี้[16]
ผู้ประสบภัย
แก้บริเวณที่ได้รับผลกระทบโดยทั่วมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 225 คนในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝน[2] ส่วนใหญ่เนื่องจากโคลนถล่ม, ดินถล่ม และยานพาหนะที่ถูกพัดพาไปตามน้ำท่วม[17] ผู้เสียชีวิตหลายคนไม่สนใจคำสั่งอพยพและเลือกที่จะอยู่ในบ้านของพวกเขาแม้จะมีการเตือนซ้ำ ๆ[18] ตำรวจได้รับรายงานจำนวนมากทั่วประเทศที่ผู้คนถูกขังอยู่ในบ้านที่ถูกดินถล่มฝัง, คนถูกพัดพาไปตามแม่น้ำที่ท่วมท้น และจากผู้คนที่ติดอยู่ในรถยนต์ อย่างน้อยสิบคนถูกฝังอยู่ในบ้านในเมืองฮิงาชิฮิโรชิมะ จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม หน่วยกู้ภัยสามารถยืนยันว่ามีผู้รอดชีวิตเจ็ดคน แต่ยังคงถูกขังอยู่[19]
เกาะ | จังหวัด | ผู้เสียชีวิต | ผู้สูญหาย |
---|---|---|---|
ฮอนชู | กิฟุ | 1 | 0 |
เฮียวโงะ | 2 | 0 | |
ฮิโรชิมะ | 113 | – | |
เกียวโต | 5 | 0 | |
นารา | 1 | 0 | |
โอกายามะ | 61 | – | |
ชิงะ | 1 | 0 | |
ทตโตริ | 1 | 0 | |
ยามางูจิ | 3 | 0 | |
คีวชู | ฟุกุโอกะ | 2 | 0 |
คาโงชิมะ | 2 | 0 | |
มิยาซากิ | 1 | 0 | |
ซางะ | 2 | 0 | |
ชิโกกุ | เอฮิเมะ | 26 | – |
โคจิ | 3 | 0 | |
ไม่สามารถระบุ | 0 | 13 | |
รวม | 225 | 13 |
เศรษฐกิจ
แก้วันที่ 7 กรกฎาคมไม่มีรถไฟความเร็วสูงวิ่งไปทางตะวันตกของสถานีชินโอซากะและเจ้าหน้าที่บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก ก็ไม่แน่ใจว่ารถไฟจะวิ่งอีกครั้งเมื่อใด[21] การยกเลิกรถไฟอย่างกว้างขวางทำให้นักเดินทางจำนวนมากตกค้าง รถไฟหัวกระสุนบางขบวนถูกใช้เป็นโรงแรมชั่วคราว[19] ผู้ผลิตรถยนต์บางราย (มิตซูบิชิมอเตอร์ส และมาสดามอเตอร์ส) หยุดการผลิตเนื่องจากฝนและน้ำท่วมทำให้ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทหยุดชะงัก และเสี่ยงต่อความปลอดภัยของคนงาน[18] บริษัทอื่น ๆ เช่นไดฮัทสุ และพานาโซนิค ระงับการดำเนินงานที่โรงงานจนกว่าจะมีการเก็บกวาดเศษขยะและระดับน้ำในโรงงานลดลง[15] โรงงานอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมของอาซาฮีในจังหวัดโอกายามะ เกิดการระเบิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมหลังจากที่พนักงานอพยพในช่วงน้ำท่วม[22]
บริษัทจัดส่ง ซางาวะเอ็กซ์เพรส และ ยามาโตะทรานสปอร์ต และบริษัทบริการขนส่งสินค้า แจแปนเฟรทเรลเวย์ รายงานว่าการขนส่งเข้าและออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบางส่วนได้ถูกลดหรือระงับชั่วคราว ซูเปอร์มาร์เก็ตในภูมิภาคก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยหน้าร้านหลายแห่งถูกปิดหรือลดชั่วโมงการให้บริการ เนื่องจากความล่าช้าในการจัดส่งและ/หรือการขาดแคลนผลิตภัณฑ์[23]
ทั่วประเทศเสียหายอย่างมากและยาวนาน ความสูญเสียสูงถึงประมาณ 1.09 ล้านล้านเยน (3.27 แสนล้านบาท) ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตร, ป่าไม้ และการประมง มีมูลค่าถึง 629 พันล้านเยน (1.89 แสนล้านบาท) ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะรวมถึงเขื่อน, ทางรถไฟ และถนนมีมูลค่า 465 พันล้านเยน (1.39 แสนล้านบาท)[24]
ปฏิบัติการกู้ภัย
แก้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ออกแถลงการณ์สั่งให้รัฐมนตรี "ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่" เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ[11] เขาเรียกประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของรัฐบาลนับตั้งแต่การเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดคูมาโมโตะในปี พ.ศ. 2559[25] หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซุกะ (ญี่ปุ่น: 菅 義偉;; โรมาจิ: Suga Yoshihide) รายงานว่ารัฐบาลได้จัดตั้งคณะทำงานซึ่งมีงบประมาณ 2 พันล้านเยน (600 ล้านบาท) เพื่อดำเนินการเร่งส่งเสบียงและสิ่งของสนับสนุนอื่น ๆ สำหรับศูนย์อพยพและผู้อยู่อาศัยในภูมิภาค[23]
เจ้าหน้าที่ประมาณ 54,000 คนจากตำรวจ, เจ้าหน้าที่ดับเพลิง, กองกำลังป้องกันตนเอง และหน่วยยามฝั่ง ระดมพลเข้าไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่[25] มีการออกคำสั่งให้อพยพ 2.82 ล้านคน และให้คำแนะนำแก่ผู้คนอีกจำนวน 4.22 ล้านคนใน 23 จังหวัดที่พายุมีความรุนแรง[26] กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นลาดตระเวนในบริเวณใกล้เคียงในช่วงพายุและในช่วงหลังพายุสงบ เคาะประตูและถามประชาชนถึงความปลอดภัย หรือการต้องการความช่วยเหลือ[22]
เฮลิคอปเตอร์และเรือถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยเพื่อช่วยคนที่ติดอยู่บนหลังคาและระเบียง โซเชียลมีเดียถูกใช้เพื่อให้เจ้าหน้าที่และครอบครัวและเพื่อน ๆ ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล ผู้หญิงคนหนึ่งจากเมืองคูราชิกิ จังหวัดโอกายามะ ได้ทวีต "น้ำมาถึงกลางชั้นสอง เด็ก ๆ ไม่สามารถปีนขึ้นไปบนหลังคา ... โปรดช่วยเราเร็ว ๆ ช่วยเราด้วย"[27] ทั่วจังหวัดโอกายามะ มีคน 1,850 คนได้รับการช่วยเหลือจากหลังคา รวมทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ 160 คนในโรงพยาบาลมาบิเมโมเรียล ที่ต้องการความช่วยเหลือ[25]
ความช่วยเหลือจากนานาชาติ
แก้จีน: วันที่ 13 กรกฎาคม เฉิง หยงหัว เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศญี่ปุ่น และตัวแทนบริษัทสัญชาติจีนในประเทศญี่ปุ่น มอบความช่วยเหลือ 24.8 ล้านเยน ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร เซอิโกะ โนดะ[28]
เซอร์เบีย: ในวันที่ 12 กรกฎาคม รัฐบาลเซอร์เบียประกาศส่งเงินช่วยเหลือ 65 ล้านเยนไปยังญี่ปุ่น[29]
ไต้หวัน: ไต้หวันประกาศว่าจะบริจาคเงิน 20 ล้านเยนเพื่อการบรรเทาภัยพิบัติ[30]
ไทย: ประเทศไทยส่งเงินบริจาคจำนวน 17 ล้านเยนเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์[31] มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย บริจาคเงินอีก 2 ล้านบาท (7 ล้านเยน) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย[32][33]
ฟิลิปปินส์: รัฐบาลฟิลิปปินส์เสนอส่ง ทหาร, วิศวกร และแพทย์ชาวฟิลิปปินส์พร้อมกับเวชภัณฑ์ เพื่อการฟื้นฟูสภาพ[34]
มาเลเซีย: รัฐบาลมาเลเซียบริจาคเงิน 500,000 ริงกิตมาเลเซีย ให้กับสถานทูตญี่ปุ่นในมาเลเซีย เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและคลื่นความร้อนที่ผ่านมา[35]
สิงคโปร์: องค์กรด้านมนุษยธรรมเมอซีรีลิฟ (Mercy Relief) ซึ่งตั้งอยู่ในสิงคโปร์ประกาศเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมว่า พวกเขากำลังส่งทีมเพื่อช่วยเหลือ ในการจัดหาอาหารให้กับผู้พลัดถิ่นจากเหตุการณ์น้ำท่วม และเปิดตัวกองทุนในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม[36]
อิสราเอล: องค์กรความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อิสราเอด (IsraAID) ได้ส่งทีมช่วยเหลือฉุกเฉินไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม เพื่อแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์เร่งด่วน, ประเมินความต้องการด้านการแพทย์และสังคม-จิตวิทยาภายหลังภัยพิบัติ ทีมงานพร้อมที่จะให้การปฐมพยาบาลทางด้านจิตใจและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตสำหรับผู้อพยพ[37]
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้พ.ศ. 2561
- ↑ "今般の豪雨の名称について" [About the name of the heavy rain] (PDF) (Press release) (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
- ↑ 2.0 2.1 Thousands still live in shelter month after deadly rain disaster hit western Japan เก็บถาวร 2020-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, xinhuanet.com, 6 August 2018
- ↑ "大雨死者51人、不明58人に 避難指示勧告863万人". Asahi Shimbun Digital (ภาษาญี่ปุ่น). Asahi Shimbun. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
- ↑ "西日本豪雨 各地で甚大な被害相次ぐ". Yomiuri Online. 13 July 2018.
- ↑ "Roundup: At least 49 dead, dozens missing as wide swathes of Japan lashed by torrential rain - China.org.cn". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 平成30年7月豪雨について [About the heavy rain in July, Heisei 30] (PDF) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. July 2018. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Kristina Pydynowski (8 July 2018). "Dozens dead as deadly flooding strikes Japan". AccuWeather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "More landslide, flood warnings as heavy rain lashes wide area of Japan". The Mainichi. 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "2 dead, 5 missing as heavy rain hits wide areas of Japan". The Mainichi. 6 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "9 dead, 42 missing as heavy rains, landslides feared to continue across wide areas". The Mainichi. 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Staff and agencies (7 July 2018). "Floods and landslides leave dozens dead and 50 missing in Japan". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ "Japan floods: At least 60 killed in deluges and landslides". BBC. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "More than 80 dead, dozens of others missing as heavy rain continues to pound western, central parts of nation". The Japan Times. Kyodo News, Associated Press, Agence France-Presse, Jiji Press. 8 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-09. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "500億円で堤防整備したが…冠水招いた「内水」とは". Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 12 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
- ↑ 15.0 15.1 CNBC (2018-07-08). "Rescuers race to find survivors after Japan floods kill at least 114". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
- ↑ https://www.japantimes.co.jp/news/2018/12/26/national/japan-saw-record-3451-rain-quake-induced-mudslide-disasters-2018/
- ↑ NEWS, KYODO. "At least 50 dead, scores missing as torrential rains lash Japan". Kyodo News+. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ 18.0 18.1 "Millions ordered to evacuate as floods kill dozens in Japan". ABC News. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ 19.0 19.1 "10 buried alive in Hiroshima as heavy rain hits wide areas of Japan". The Mainichi. 7 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "死者225人と警察庁発表 4千人超が避難続ける". The Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 20 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-26. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
- ↑ Johnston, Eric (7 July 2018). "Tourists visiting western Japan stranded amid flood warnings and canceled trains". The Japan Times Online. ISSN 0447-5763. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ 22.0 22.1 "Amid Japan's Flood Devastation, Survivors Dig Out" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
- ↑ 23.0 23.1 "Rescuers in flood-hit Japan search for the missing as death toll tops 150". สืบค้นเมื่อ 2018-07-11.
- ↑ "西日本豪雨の被害額1兆940億円 水害では過去最大". Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 28 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 "Death toll from heavy rain in western Japan tops 70". The Mainichi. 8 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "12 dead, 54 missing as heavy rains, landslides feared to continue in wide areas of Japan". The Mainichi. 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "'Race against time' to rescue Japan flood victims as death toll hits 76". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "李克強・中華人民共和国国務院総理から安倍内閣総理大臣宛て" (ภาษาญี่ปุ่น). 外務省. 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 2018-07-15.
- ↑ "Vlada: Pomoć Japanu 500.000 evra" (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Danas. 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-17.
- ↑ "Taiwan pledges donation for disaster relief efforts in Japan". Taiwan Today. Ministry of Foreign Affairs, Republic of China. 2018-07-10.
- ↑ "Prime Minister of Thailand Presented Donation for Western Japan Flood Relief". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
- ↑ タイランドハイパーリンクス (2018-07-29). "タイ赤十字、平成30年7月豪雨の被災者へ200万バーツの義援金 | タイランドハイパーリンクス". タイランドハイパーリンクス (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
- ↑ "มูลนิธิฯ มอบเงินช่วยเหลือเหตุอุทกภัยประเทศญี่ปุ่น". มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย. July 26, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2020-07-08.
- ↑ Corrales, Nestor. "Duterte offers aid to disaster-stricken Japan". สืบค้นเมื่อ 2018-07-10.
- ↑ Kamil Maslih (15 August 2018). "Malaysia sumbang RM500,000 untuk mangsa banjir, strok haba di Jepun" (ภาษามาเลย์). Utusan Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-23. สืบค้นเมื่อ 22 August 2018.
- ↑ Ng Keng Gene (11 July 2018). "Mercy Relief to aid in Japan flood relief efforts". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
- ↑ "Israeli emergency response team heads to Japan floods". The Jerusalem Post | JPost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-07-10.