คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลันครพนม (อังกฤษ: Faculty of Science, Nakhon Phanom University) เป็นหนึ่งในหน่วยงานด้านวิชาการ ระดับคณะวิชาในสังกัดมหาวิทยาลัยนครพนม เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ โดยแรกเริ่มอยู่ในฐานะกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนครพนม
Faculty of Science, Nakhonphanom University
สถาปนา1 ตุลาคม 2566
คณบดีรศ.ดร.เชิดชัย โพธิ์ศรี
ที่อยู่
สี  สีเหลือง
มาสคอต
อะตอม
สถานปฏิบัติพื้นที่เขตกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เว็บไซต์www.sci.npu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากการที่มหาวิทยาลัยนครพนมได้จัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยนครพนมระยะยาว (พ.ศ. 2552-2556) ซึ่งกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2555 จากนั้นโครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ และได้เสนอขออนุมัติจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ต่อสภามหาวิทยาลัยนครพนม ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยนครพนม ครั้งที่ 6/2556 วันที่ 13 มิถุนายน 2556   สภามหาวิทยาลัยนครพนมได้อนุมัติการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยนครพนม ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยนครพนม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นมา

ประวัติ แก้

"คณะวิทยาศาสตร์" แยกออกจากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งเป็นสถาบันในระดับอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

สถาบันราชภัฏนครพนม ดำเนินภารกิจภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและสังคม ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ซึ่งกระแสเหล่านี้มีผลกระทบต่อทุกส่วนของสังคมรวมทั้งของสถาบันราชภัฏนครพนม จากสภาวการณ์ของโลกยุคโลกาภิวัตน์ สภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลต้องบริหารประเทศภายใต้ขีดจำกัดด้านงบประมาณ กอรปกับรัฐบาลมีแนวนโยบายในการปฏิรูปการเมือง รูปแบบราชการและการปฏิรูปการศึกษา สถาบันราชภัฏนครพนมจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาสถาบัน ทั้งทางด้านคุณภาพและศักยภาพในการจัดการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาองค์การในภาพรวม ให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อจะได้ผลักดันให้สถาบันพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

การยกฐานะสถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช ๒๕๔๗ ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๒๓ ก ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ จึงมีผลให้สถาบันราชภัฏนครพนมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ หลังจากนั้นในวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๘ ได้มีการหลอมรวมสถาบันการศึกษาที่อยู่ในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม โดยได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ๑๒๒ ตอนที่ ๗๕ ก ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๘ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในจำนวน ๗ คณะ ของมหาวิทยาลัยนครพนม

วัตถุประสงค์ แก้

  1. ผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้คู่คุณธรรม และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสังคม
  2. เพื่อทำการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  3. เพื่อทำบริการวิชาการทางวิทยาศาสตร์แก่สังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  4. เพื่อทำนุบำรุงส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  5. เพื่อเป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่ดีด้วยหลักธรรมาภิบาล

เป้าหมาย แก้

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรมแบบตรงตามความต้องการของสังคม
  2. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรที่มีคุณภาพและคุณธรรม
  3. ปฏิรูปและปรับกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อย่างมีประสิทธิภาพคุณภาพ
  4. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
  5. พัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการ การพัฒนาเทคโนโลยีและเป็นศูนย์ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม เพื่อท้องถิ่นและประเทศเพื่อนบ้าน
  6. ปฏิรูประบบการบริหารจัดการภายในคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การบริหารที่ดีและตรวจสอบได้
  7. พัฒนาระบบประกันคุณภาพของคณะวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ

หลักสูตร แก้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาชีววิทยา

แหล่งข้อมูลอื่น แก้