คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือเดิมคือ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบใน การจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และจัดบริการวิชาการแก่สังคมในสาขาวิชาบริหารธุกิจ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีคุณภาพที่ดี และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ

คณะบริหารธุกิจเพื่อสังคม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Business Administration for Society,
Srinakharinwirot University
ชื่อเดิมคณะบริหารธุกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สถาปนาพ.ศ. 2516
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติ เติมประเสริฐสกุล
ที่อยู่
ชั้น 16 อาคารนวัตกรรม : ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
เว็บไซต์

เนื่องจากในปัจจุบันสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความเห็นให้ยกระดับ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับคณะ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ ปัจจุบันจึงมีสถานะเป็น คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้รับการจัดตั้งเป็น "คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม" เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

คณะบริหารธุรกิจธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยมีการปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม และจิตสาธารณะรับใช้สังคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจเพื่อสังคม อีกทั้งตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม โดยมีการริเริ่มโครงการต่าง ๆ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการสร้างประโยชน์และความยั่งยืนให้กับสังคม และประเทศชาติเป็นอย่างมาก ภายใต้ปรัชญาและคำนิยมของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม ที่ว่า BAS (บาส) = Business Action (for) Sharing โดย

B  คือ Business เป็นผู้มีความสามารถในการใช้และถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจให้กับผู้อื่น

A  คือ Action เป็นผู้เน้นการลงมือปฏิบัติและมุ่งผลสัมฤทธิ์

S  คือ Sharing เป็นผู้ร่วมแบ่งปันสู่สังคม ชุมชน และประเทศชาติ

ประวัติ แก้

 
สภาพอาคารคณะสังคมศาสตร์ก่อนถูกทุบแยกส่วนจากคณะศึกษาศาสตร์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2549

[1]

  • พ.ศ. 2516 จัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร (อธิการบดี) ได้ส่ง อาจารย์นิภา แนวบุญเนียร ไปศึกษาวิชาธุรกิจศึกษา ณ ประเทศแคนาดา เพื่อเตรียมการเปิดหลักสูตรธุรกิจศึกษา
  • พ.ศ. 2518 เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี วิชาเอกธุรกิจศึกษา สาขาการตลาด และการบัญชี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เทียบหลักสูตรนี้เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) เปิดหลักสูตรวิชาโทธุรกิจศึกษาและเปิดหลักสูตรวิชาโทบริหารธุรกิจ โดยในขณะนั้นมีคณาจารย์ในภาควิชา จำนวน 7 คน
  • พ.ศ. 2531 ได้รับอนุมัติหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) โดยได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
  • พ.ศ. 2533 ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี เป็นโครงสร้างหลักสูตรใหม่ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี วิชาเอกบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด และสาขาการบัญชี และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2536 ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยในการเปลี่ยนชื่อปริญญาจาก ศศ.บ. เป็น บธ.บ. สาขาการตลาด และสาขาการบัญชี
  • พ.ศ. 2539 ได้รับอนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) หลักสูตร 4 ปี สาขาการตลาด และ สาขาการบัญชี จากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
  • พ.ศ. 2540 ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) ใหม่โดยได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2541
    • ได้รับอนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาการตลาด จากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
    • หลักสูตร บธ.บ. วิชาเอกการตลาด และวิชาเอกการบัญชี ก.ค. ให้การรับรองและกำหนดคุณวุฒิปริญญาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งข้าราชการครู
  • พ.ศ. 2542 ดำเนินโครงการความร่วมมือระดับบัณฑิตศึกษา สาขาธุรกิจศึกษา กับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • พ.ศ. 2543
    • ได้รับอนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร และสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาการตลาด
  • พ.ศ. 2544
    • เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
    • เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการบัญชี ในโครงการความร่วมมือระดับปริญญาตรี กับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรีบริหารธุรกิจ
    • เปิดหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี สาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชาการตลาด และปรับปรุงหลักสูตร กศ.บ. เป็น บธ.บ.
  • พ.ศ. 2545 ปรับปรุงหลักสูตร บธ.บ. (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด
  • พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2552
    • จัดทำหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) (เพื่อเปิดสอนในปี 2553)
    • ปรับปรุงหลักสูตร บธ.บ. 4 ปี สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม (เพื่อเปิดสอนในปี 2553)
    • งดรับนิสิตหลักสูตร บธ.บ. (ต่อเนื่อง 2 ปี ) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด ทั้งที่ มศว และในโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรีบริหารธุรกิจ
  • พ.ศ. 2553
    • เปิดหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม
    • เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • รัฐบาลมีการจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม พ.ศ. 2553-2557 และมีการจัดตั้งสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) เพื่อส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม ยุติธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
  • พ.ศ. 2554
    • ปรับปรุงหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (TQF) (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
    • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการจัดการโรงแรม(TQF) พ.ศ. 2554 (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
    • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการเงิน วิชาเอกการตลาด และเพิ่มวิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ (TQF) พ.ศ. 2554 (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
    • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด และหลักสูตรสองภาษา (Bilingual) พ.ศ. 2554 (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
  • พ.ศ. 2555 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอนด้านกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความสามารถและจิตวิญญาณในการประกอบกิจการหรือทำงานในองค์กรที่เป็นกิจการเพื่อสังคม
  • พ.ศ. 2557 เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2559 เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
  • พ.ศ. 2561 ยกระดับจากภาควิชาบริหารธุรกิจ ภายใต้คณะสังคมศาสตร์เป็น คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม
  • พ.ศ. 2562 เปิดรับนิสิตบริหารธุรกิจสาขาการบัญชี โครงการพิเศษ และ บริหารธุรกิจบัญฑิต โครงการพิเศษ
  • พ.ศ. 2563 เปิดการเรียนการสอนบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรี กลุ่มเปิดเพื่อบุคคลทั่วไป กลุ่มคนทำงาน ผู้เรียนปริญญาใบที่ 2 กลุ่มนักเรียนที่ต้องการเรียนปริญญาตรีล่วงหน้า โดยดำเนินการในสาขาการตลาดและ สาขาการเงิน เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่มีลักษณะ block course และเรียนแบบ Credit bank ที่ทางกระทรวง อว. ให้แนวทางเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดชีวิต
  • พ.ศ. 2564 เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี (โครงการพิเศษ) เพิ่มเติม ได้แก่
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาด
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจ วิชาเอกการการเงิน
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
  • พ.ศ. 2565
    • ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) โดยเพิ่มสาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม ปัจจุบันหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มีสาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
    • เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี (โครงการพิเศษ) เพิ่มเติมหลักสูตรบริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน
    • เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอก รุ่นที่ 1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจเพื่อสังคมและได้เป็นสมาชิกสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ (AACSB)
    • เปิดตัวสัญลักษณ์ประจำคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม (มาสคอต : ชื่อ บีโก้ (Be go) มาจากคำว่า Business go on
    • เปิดตัวสโลแกนของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม “SWU BAS SMART WORLD”
    • มีเพลงประจำคณะ ชื่อ BAS SWU
    • มีอาจารย์ที่ได้รับรองคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของสหราชอาณาจักร UKPSF มากที่สุดในประเทศไทย ในกลุ่มทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี

หลักสูตร แก้

  • ระดับปริญญาตรี
    • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
      • วิชาเอกการตลาด
      • วิชาเอกการเงิน
      • วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตแบบสะสมหน่วยกิต


  • ระดับปริญญาโท [2]
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
      • วิชาเอกการตลาด (Marketing)
      • วิชาเอกการจัดการ (Management)
      • วิชาเอกธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)
  • ระดับปริญญาเอก
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
      • สาขาวิชาบริหารธุรกิจเพื่อสังคม ((Business Administration for Society)

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติความเป็นมาของภาควิชา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-03. สืบค้นเมื่อ 2016-06-27.
  2. หลักสูตรปริญญาโท

แหล่งข้อมูลอื่น แก้