ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929

ข้อมติ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
สหประชาชาติที่ 1929
วันที่: 9 มิถุนายน 2010
การประชุมครั้งที่: 6,335
รหัส: S/RES/1929 (เอกสาร)

คะแนนเสียง: รับ: 12 

งดออกเสียง: 1  ไม่รับ: 2 

เรื่อง: การไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์
อิหร่าน
ผล: ตกลงรับ

องคาพยพของคณะมนตรีความมั่นคงใน ค.ศ. 2010:
สมาชิกถาวร:

 จีน  ฝรั่งเศส  รัสเซีย  บริเตนใหญ่  สหรัฐ

สมาชิกไม่ถาวร:
 ออสเตรีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บราซิล  กาบอง  ญี่ปุ่น
 เลบานอน  เม็กซิโก  ไนจีเรีย  ตุรกี  ยูกันดา

ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน

มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553 หลังจากมีการยกเลิกมติที่ 1696 (พ.ศ. 2549), มติที่ 1737 (พ.ศ. 2549), มติที่ 1747 (พ.ศ. 2550), มติที่ 1803 (พ.ศ. 2551), มติที่ 1835 (พ.ศ. 2551) และมติที่ 1887 (พ.ศ. 2552) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นของอิหร่านและการไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ คณะมนตรีความมั่นคงได้บันทึกไว้ว่าอิหร่านประสบความล้มเหลวที่จะยินยอมตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ผ่านมาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์อิหร่านและได้มีมติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านเพิ่มเติม[1]

มติดังกล่าว ถือเป็นการบังคับใช้การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรอบที่สี่ต่ออิหร่าน[2] โดยมีการสนับสนุน 12 ต่อ 2 เสียง บราซิลและตุรกิลงมติคัดค้าน และเลบานอน ไม่ลงคะแนน

มาตรการ แก้

ตามมาตราที่ 41 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตัดสินว่ารัฐบาลอิหร่านไม่บรรลุเงื่อนไขของมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ผ่านมาและเงื่อนไขของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) คณะมนตรีเห็นพ้องว่าอิหร่านควรจะร่วมมือกับ IAEA ในประเด็นที่ยังเหลือค้างอยู่ในทันที คณะมนตรียังได้ตัดสินใจว่าอิหร่านควรจะยินยอมทำตามข้อตกลงเครื่องป้องกันกับ IAEA โดยจะไม่ทำการผลิตใหม่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมวลหนักและการเสริมสมรรถนะ หรือการได้มาซึ่งความสนใจทางธุรกิจจากรัฐอื่นเกี่ยวกับการขุดยูเรเนียม หรือการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีนิวเคลียร์

ข้อกำหนดอื่น ๆ ของมติ รวมไปถึง:[3]

  • อิหร่านไม่สามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขีปนาวุธพิสัยไกล
  • การสั่งห้ามมิให้ชาติใดส่งยานพาหนะทางทหาร เครื่องบิน เรือรบ และขีปนาวุธหรือระบบขีปนาวุธ และวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องให้กับอิหร่าน;
  • การสั่งห้ามมิให้ฝึก การให้เงินกู้ หรือการให้ความช่วยเหลือใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธและวัตถุดิบ และยับยั้งการจำหน่ายอาวุธและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องให้กับอิหร่าน;
  • การสั่งห้ามเดินทางของบุคคลในภาคผนวกของมติ โดยมีข้อยกเว้นตามที่ได้ตัดสินใจโดยคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามมติที่ 1737;
  • การอายัดเงินและทรัพย์สินของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามและสายการเดินเรืออิหร่าน

รัฐทุกรัฐยังได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามมาตรการที่ปรากฏด้านล่าง:[3]

  • ทำการตรวจสอบสินค้าทั้งหมดที่มุ่งหน้าหรือเดินทางออกจากอิหร่าน ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 และข้อตกลงการบินพลเรือน เพื่อตรวจจับสินค้าที่ถูกสั่งห้าม และรายงานภายในห้าวันคำชี้แจง เมื่อตรวจพบสินค้าที่ถูกสั่งห้าม;
  • การยึดและทำลายสินค้าที่ถูกสั่งห้าม;
  • ป้องกันการจัดหาน้ำมัน เสบียง และการบริหารแก่เรือสัญชาติอิหร่านหากเรือดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่ถูกสั่งห้าม;
  • ให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการเกี่ยวกับความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสายการบินอิหร่านหรือสายการเดินเรืออิหร่านไปยังบริษัทอื่น;
  • ป้องกันการจัดหาบริการทางการเงินซึ่งอาจใช้เพื่อกิจกรรมนิวเคลียร์ที่ละเอียดอ่อน;
  • สั่งห้ามการเปิดธนาคารสัญชาติอิหร่านในดินแดนของตนและป้องกันธนาคารสัญชาติอิหร่านจะการเข้าสู่ความสัมพันธ์กับธนาคารซึ่งอยู่ภายในขอบเขตอำนาจ ถ้าหากมีเหตุผลซึ่งสงสัยว่ากิจกรรมนั้นสามารถมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน;
  • ป้องกันสถาบันการเงินมิให้ปฏิบัติงานในดินแดนของตนจากการเปิดออฟฟิศและบัญชีในอิหร่าน หากสถาบันเหล่านั้นอาจมีส่วนเกี่ยวของกับกิจกรรมเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน

ทั้งนี้ ยกเว้นสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อมนุษยธรรมและกิจกรรมกฎหมายเศรษฐกิจ[4]

อ้างอิง แก้

  1. "Citing Iran's failure to clarify nuclear ambitions, UN imposes additional sanctions". United Nations News Centre. 9 June 2010.
  2. Black, Ian (9 June 2010). "UN approves new Iran sanctions". The Guardian.
  3. 3.0 3.1 Mozgovaya, Natasha (June 9, 2010). "Fact Sheet on new UN Security Council Sanctions on Iran". Haaretz.
  4. "Security Council imposes additional sanctions on Iran, voting 12 in favour to 2 against, with 1 abstention". United Nations. June 9, 2010.